จอแสดงผลแบบผลึกเหลว(LCD : LIQUID CRYSTAL DISPLAY)


      ในอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มากมายในปัจจุบันได้มีการติดตั้งจอแสดงผลแบบผลึกเหลวหรือ LCD (LIQUID CRYSTAL DISPLAY) สำหรับใช้ในการแสดงผลการทำงานเพียงอย่างเดียวหรือแสดงผลในลักษณะของเมนูโต้ตอบเพื่อสั่งงานเครื่องกับผู้ใช้งาน โมดูลจอแสดงผลแบบ LCD จึงถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลประเภทหนึ่งที่มีจุดเด่นในหลายประการเช่น สามารถแสดงเป็นตัวอักขระแบบต่างๆหรือสัญลักษณ์รูปภาพทำให้สื่อสารเข้าใจง่าย มีน้ำหนักเบา และสามารถออกแบบเป็นรูปแบบต่างๆได้ ราคาถูก และกินกำลังไฟในขณะทำงานน้อย ด้วยข้อดีเหล่านี้จึงทำให้จอแสดงผลแบบ LCD ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ซึ่งมีพื้นที่จำกัดและบ่อยครั้งที่ต้องใช้กำลังไฟจากแบตเตอรี่ จอแสดงผล LCD จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดจากจอแสดงผลในทุกประเภท

ในโมดูล LCD จะมีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วนดังนี้
      - ตัวแสดงผล(DISPLAY)ภายในเป็นผลึกเหลวที่สามารถแสดงผลให้เห็นโดยอาศัยแสงจากภายนอก ดังนั้นจึงต้องมีมุมในการมองข้อมูลที่แสดงผลบนจอ LCD
      - ตัวควบคุม(CONTROLLER) เป็นตัวรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกมาควบคุมการทำงานของโมดูล LCD เช่น จอลบภาพ แสดงตัวอักษร หรือเลื่อนเคอร์เซอร์ เป็นต้น ตัวควบคุมนี้ใช้ชิปควบคุมโดยเฉพาะ ชิปที่นิยมใช้ก็คือ เบอร์ HD44780 และ HD61830 โดย HD44780 จะใช้ควบคุม LCD แบบอักขระ ส่วน HD61830 ใช้ควบคุม LCD แบบกราฟิก
      - ตัวขับ(DRIVER) เป็นตัวรับสัญญาณจากตัวควบคุมมาขับให้ตัวแสดงผลแสดงข้อมูลตามที่กำหนด ชิปที่ใช้ทำหน้าที่เป็นตัวขับนี้ได้แก่ เบอร์ HD4410H และ MSM5259 เป็นต้น

1. โครงสร้างภายในของตัวควบคุมโมดูล LCD
ในการใช้งานโมดูล LCD จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมให้ดีเสียก่อน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างโมดูล LCD แบบอักขระ เพราะสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยรูปที่ 20 เป็นบล็อกไดอะแกรมภายในของชิปควบคุม LCD เบอร์ HD44780 ซึ่งใช้ในโมดูล LCD แบบอักขระ ประกอบด้วย
      - บัฟเฟอร์อินพุตเอาต์พุต เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เพื่อที่จะถ่ายทอดข้อมูลเข้าออกภายในตัวควบคุม
      - รีจิสเตอร์คำสั่ง (INSTRUCTION REGISTER:IR) เป็นรีจิสเตอร์ใช้รับข้อมูลคำสั่งจากอุปกรณ์ภายนออกเพื่อถ่ายทอดไปยังหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแสดงผล หรือนำข้อมูลไปสร้างตัวอักษรเพิ่มเติมในแรมเก็บตัวอักษร
      - แรมเก็บข้อมูลแสดงผล(DISPLAY DATA RAM:DDRAM) เป็นหน่วยความจำแรมทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากรีจิสเตอร์ DR ตัวควบคุมจะนำข้อมูลใน DDRAM นี้ไปเปิดตาราง(LOOK UP- LABLE ) ของตัวอักษรที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอมและแรมเก็บตัวอักษร เพื่อนำไปแสดงที่ตัวแสดงผล
      - รอมเก็บตัวอักษร(CHARACTER GENERATOR ROM:CGROM) เป็นหน่วยความจำรอมที่ใช้เก็บข้อมูลตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่สามารถอ่านออกไปแสดงที่ตัวแสดงผลได้ มีขนาด 7200 บิต โดยจะถูกอ่านด้วยค่าของข้อมูลใน DDRAM
      - แรมเก็บตัวอักษร( CHARACTER GENERATOR RAM:CGRAM) เป็นหน่วยความจำแรมที่ใช้เก็บอักษรที่มีการสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ในกรณีที่ตัวอักษรใน CGROMไม่เพียงพอ มีขนาด 512 บิต การเขียนและการอ่านค่าไปใช้นั้นทำได้เช่นเดียวกับ CGROM คือเขียนข้อมูลลงใน DDRAM แล้วตัวควบคุมจะมาอ่านค่าจาก CGRAM เอง
      - แฟลก BUSY เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แจ้งสถานะการทำงานของตัวควบคุมให้อุปกรณ์ภายนอกทราบว่า ตัวควบคุมพร้อมที่จะรับข้อมูลหรือคำสั่งหรือไม่ ดังนั้นก่อนการส่งข้อมูลหรือคำสั่งมายังตัวควบคุมต้องตรวจสอบสถานะของแฟลก BUSY นี้เสียก่อน

2. โมดูล LCD ขนาด 16 ตัวอักษร 1 บรรทัด( LCD 16x1)
โมดูล LCD แบบ 16 ตัวอักษร 1บรรทัดเป็นโมดูลที่มีราคาถูก หาได้ง่าย และเป็นโมดูล LCD ที่มีโครงสร้างเป็นมาตรฐาน มีผู้ผลิตหลายรายและมีการระบุเบอร์แตกต่างกันออกไปตามผู้ผลิต เช่น LM020L ของฮิตาชิ, DMC-16117A ของคอปเทร็กซ์(COPTREX) เป็นต้น อย่างไรก็ตามคอนโทรลเลอร์ที่ใช้คือเบอร์เดียวกันนั่นคือ เบอร์ HD44750 ของฮิตาชิ
โมดูล LCD ขนาด 16x1 มีขาต่อใช้งานทั้งสิ้น 14 ขา มีการจัดขาดังรูปที่ 21 สำหรับรายละเอียดการทำงานของแต่ละขามีดังนี้

VSS(ขา 1): ต่อกราวด์
VDD(ขา2): ต่อไฟเลี้ยง + 5โวลต์
VO (ขา 3):เป็นขาอินพุตรับแรงดันเพื่อปรับความเข้มของการแสดงผล
RS(ขา4):เป็นขาอินพุตใช้ในการแยกชนิดของข้อมูลที่ทำการประมวลผลในขณะนั้นว่าเป็นคำสั่งสำหรับรีจิสเตอร์ IR หรือเป็นข้อมูลสำหรับรีจิสเตอร์ DR โดยถ้าขานี้เป็น 0 ข้อมูลที่ส่งมาจะเป็นคำสั่ง แต่ถ้าขานี้เป็น 1 ข้อมูลที่ส่งมาจะเป็นข้อมูลสำหรับแสดงผล R/W(ขา5):เป็นขาที่ใช้เลือกการอ่านหรือเขียนข้อมูลกับ LCD ถ้าเป็น 0 เป็นการกำหนดให้เขียนข้อมูล แต่ถ้าเป็น 1 จะเป็นการอ่านข้อมูล E(ขา6):เป็นขาอีนาเบิล LCD ให้ทำงาน
D0-D7(-k7-14):เป็นขาที่ใช้เป็นทางผ่านของข้อมูลระหว่าง LCD กับอุปกรณ์ภายนอกขนาด 8 บิต


รูปที่ 20 แสดงไดอะแกรมการทำงานของโมดูล LCD แบบอักขระ


รูปที่ 21 แสดงรูปร่างและการจัดขาโมดูล LCD แบบอักขระ








หากใครสนใจจะแลกลิ้งค์เมล์มาได้เลยครับ.