พัฒนาการนโยบายรัฐบาล
เกี่ยวกับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
 
..
   
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
   

 

 

บทที่ 4
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

4.1 สรุปผลการวิจัย
การจัดเวทีชาวบ้าน ตามโครงการวิจัย พัฒนาการ นโยบายรัฐบาล เกี่ยวกับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส 13 เวที ระหว่างวันที่ 22 มกราคม – 24 มีนาคม 2545 มีประชาชน เข้าร่วม 589 คน แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงว่า ยังมีปัญหา ความเดือดร้อน ของประชาชน อยู่มาก รัฐบาล ควรพิจารณา กำหนดนโยบาย แก้ไขปัญหา ให้ได้ผลกว่าเดิม หลายประการ เช่น

ด้านเศรษฐกิจ
- ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ เช่น ยางพารา ลองกอง ทุเรียน เงาะ
- การว่างงาน
- นาร้าง

ด้านสังคม
- การศึกษาศาสนาอิสลามระดับตาดีกาไม่มีหลักสูตรชัดเจน
- การศึกษาและจริยธรรมของเด็กและเยาวชนเสื่อม
- การจัดการศึกษาของรัฐบาล ไม่สอดคล้อง กับสภาพท้องถิ่น และขาดมาตรฐาน

ด้านอื่นๆ
- ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- นโยบายรัฐไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่น

ความเห็นทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าว เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้(2542-2546) ปรากฏว่า ประชาชน มีความเห็นขัดแย้ง กับนโยบาย หลายประการ เช่น
4.1.1 การพัฒนาศักยภาพของคนและสังคม ส่วนที่ขัดแย้งได้แก่
(1) ประชาชน นักศึกษา ว่างงาน การจัดหาตลาดแรงงาน ในประเทศ และต่างประเทศ
(2) หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ไม่สอดคล้องกับท้องถิ่น

4.1.2 การพัฒนา สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนา ศักยภาพ ของคนและสังคม ส่วนที่ขัดแย้ง ได้แก่
(1) แหล่งบันเทิงทำให้เกิดปัญหายาเสพติด
(2) การจัดการสิ่งแวดล้อมผิดพลาด เช่น โครงการขุดบ่อปลา โรงงานยาง การปลูกพืชที่ไม่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่
(3) การศึกษาตาดีกาไม่สอดคล้องกับท้องถิ่น
(4) ให้คณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัด วางนโยบาย สอนหลักสูตรศาสนา ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น
(5) หน่วยงานชลประทาน ไม่สำรวจความต้องการน้ำ ถนน ของประชาชนโดยตรง ใช้นักวิชาการตัดสินใจ
(6) ให้มีโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตผ้าคลุมหัว ส่งต่างประเทศ
(7) ลองกองเป็นโรค
(8) ให้มีตลาดกลางด้านเกษตร ตลาดปลอดภาษี ตลาดฟรีเดย์
(10) นาร้าง
(11) เยาวชนอายุ 18-20 ปี 40% ว่างงาน
(12) ไม่กล้าลงทุน เพราะเจ้าหน้าที่รัฐขูดรีด

4.1.3 การพัฒนาการมีส่วนร่วม ของทุกฝ่าย ในการแก้ไขปัญหา และร่วมพัฒนา ส่วนที่ขัดแย้ง ได้แก่
(1) โรงเรียนในชนบทขาดการดูแล
(2) การกำหนดนโยบาย ไม่ได้มีการสำรวจปัญหา และความต้องการ ของประชาชน
(3) เจ้าหน้าที่เข้าไม่ถึงประชาชน
(4) อนุสาวรีย์ โรงงานยาง สำนักงานสงเคราะห์ การทำสวนยาง (สกย.) สร้างเกษตรไม่ส่งเสริม
(5) ขาดความสามัคคีของผู้นำชุมชน
(6) การแพร่ระบาดขายยาเสพติดเพราะเจ้าหน้าที่ลำเลียง
(7) จับถูกบ้างผิดบ้าง (จับแพะ)
(8) ให้สื่อเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง
(9) รัฐเป็นผู้กำหนดประเมินผลฝ่ายเดียว

4.2 ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาของ รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ , การสำรวจเอกสารการวิจัย เกี่ยวกับปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง พ.ศ. 2521 – 2532 (มปป.) พบว่าในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลได้พยายาม ปรับตัว โดยการสร้างนโยบาย และมาตรการ เพื่อผ่อนคลาย และแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น แต่จากการ ที่เกิดกลุ่ม สร้างความไม่สงบในพื้นที่ ที่นำเงื่อนไขทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม มาสร้างความขัดแย้งระส่ำระสายในพื้นที่ การปรับตัว เพื่อแก้ไขปัญหาของรัฐ ทำให้ปัญหา คลี่คลายลงไปบ้าง ดังเช่น นโยบาย 66/2523 ทำให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่ลดลง จนแทบจะหมดไป การติดต่อ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการปราบปราม โจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) ก็ทำให้กลุ่ม จคม.ยุติการปฏิบัติการในป่า วางอาวุธออกมาร่วมพัฒนาชาติไทย การระดม ให้การศึกษา และประชาสัมพันธ์ ผ่านทางผู้นำศาสนา เช่น โครงการ ประสานสัมพันธ์ ผู้นำศาสนาอิสลาม ทำให้ประชาชน ในพื้นที่ได้รับความรู้ รับทราบข่าวสารที่แท้จริง มีความเข้าใจนโยบาย การพัฒนาพื้นที่ด้านต่างๆ ลดปัญหา ที่เป็นมาช้านาน ได้พอสมควร จากการรวบรวม งานวิจัยต่างๆ ที่จัดทำขึ้น ระหว่างปี พ.ศ.2521 – 2532 จำนวน 97 เรื่อง พบว่า ปัญหาต่างๆ ที่เคยเป็นมาในอดีตลดลง ตามผลการวิจัยบางฉบับ พบว่า เป้าหมายของนโยบาย เกือบทุกเป้าหมาย บรรลุสู่ความสัมฤทธิ์ผล ยกเว้นเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจ และจากการศึกษาของ จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และคณะ , การปกครองท้องที่ต่างวัฒนธรรม : สถานการณ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2530) สรุปว่า การที่สถานการณ์เลวร้าย ในปี พ.ศ. 2518 คลี่คลายขึ้นในปี 2525 – 2526 นั้น เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกัน กำหนดนโยบาย ที่ชัดเจน และสอดคล้องกัน ทั้งด้านการปราบปราม และพัฒนาการ สร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องกับต่างประเทศ การปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ การจัดการ โครงการพัฒนาและเข้าถึงประชาชน การสร้างความเข้าใจอันดี กับผู้นำศาสนา การปราบปรามกลุ่มโจรหลักคือ ขจก. จคม. และ ผกค. อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และที่สำคัญคือข้าราชการได้เปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม มาทำงาน ร่วมกับประชาชน และเสียสละมากขึ้น โดยคาดหวังว่าจะมีแรงผลักดันที่ดีขึ้นไปอีก ปัญหาสำคัญ คือความไม่แน่นอน ในนโยบาย หรือความขัดแย้ง ของผู้นำทางราชการ โดยเหตุผลทางการเมือง

4.2.1 ข้อเสนอเรื่องที่รัฐบาลควรพิจารณาแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงมีข้อเสนอเรื่องที่รัฐบาลควรพิจารณาแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ดังนี้

(1) เรื่องเร่งด่วนเสนอรัฐบาลพิจารณาทบทวนภายในเดือนตุลาคม 2545 ได้แก่
1. ไต่สวนวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะด้านการรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ยังไม่สร้างความเชื่อมั่น แก่ประชาชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ และทหาร

2. ตรวจสอบวิธี และผลการปฎิบัติ ตามคำสั่ง นายกรัฐมนตรีที่ 56/2539 ลงวันที่ 23 เมษายน 2539 เกี่ยวกับ ศอ.บต. และ พทต.43 ซึ่งมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อ 2 เมษายน 2545 ให้ปรับปรุง โดยการยุบ ศอ.บต. และ พตท.43

3. ตรวจสอบการจัดสรร งบประมาณของกระทรวง ทบวง กรม ในปี 2545 - 2546 และ 2547 ว่าตอบสนอง การพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ มากน้อยเพียงใด

(2) เรื่องเร่งด่วนซึ่งเป็นข้อเสนอจากเวทีชาวบ้าน คือ ปัญหายางพาราราคาตกต่ำ และปัญหา เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่มีประสิทธิภาพ และนโยบายรัฐ ไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่น

1. การแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ กรณียางพารา
1.1 ข้อเสนอจากเวทีชาวบ้านรวม 3 จังหวัด

ปัญหา
สาเหตุ
เงื่อนไข
ผลกระทบ
ปฏิบัติ
นโยบาย
ยางพารา ราคาตกต่ำ - ยางล้นตลาด ตามฤดูกาล ราคาถูก กำหนดโดย ราคาคนกลาง - ภาครัฐ ไม่จริงจัง ในการแก้ ปัญหายาง รับซื้อ เฉพาะเบอร์ อย่างดี - ชาวบ้าน ไม่ได้พัฒนา คุณภาพน้ำยาง - คณะดำเนินงาน คณะกลุ่ม พัฒนาคุณภาพยางแผน เกี่ยวกับ การคัดคุณภาพยาง ลำเอียง เล่นพรรค เล่นพวก - ไม่มีโรงงาน แปรรูปยาง เช่นยางรถยนต์ ถุงมือ ในท้องถิ่น - ชาวสวนยาง ไม่สามารถ กำหนด ราคายาง ของตนเองได้ (สมาคม ชาวสวนยาง) - การแทรกแซง ราคายาง รับเฉพาะยาง ที่มีคุณภาพดี คุณภาพ ยางชั้น 4- 5 องค์การ สงเคราะห์ การทำสวนยาง (สกย.) ไม่รับซื้อ - การแทรกแซง ไม่ต่อเนื่อง และเป็นจริง - ถูกกำหนด ราคายาง จากประเทศ สิงค์โปร์ - ปัญหาหนี้สิน - ขัดแย้ง แตกแยก ในครอบครัว - ย้ายถิ่นฐาน ทำกิน ไปอยู่มาเลเซีย - ทำให้คน ติดหนี้สิน ธกส. และหนี้ชาวบ้าน เยอะ - ทำให้เปลี่ยนอาชีพ จากปลูกยาง เป็นปลูกพืชอย่างอื่น ไปตามกระแสธุรกิจ ขาดความมั่นใจ ในอาชีพสวนยาง - สกย. ไม่เห็นใจ ดูแลชาวสวนยาง - ไม่ได้มีการ ประสานหารือร่วม ระหว่างเกษตรกับ สกย. ภาคประชาชน - ไปตัดยางที่มาเลเซียแทน- เปลี่ยนจาก การตัดยาง ไปทำการเกษตร อย่างอื่น (แรงงานรับจ้าง) - ทางชาวบ้าน ไม่ได้เข้าไปขอ ความช่วยเหลือจาก สกย. เพราะรู้ว่า ต้องขึ้นอยู่นโยบายรัฐ - รัฐจัดตั้งกลไกกลาง ระหว่างประเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย - ตั้งกลุ่ม สมาคม เจ้าของสวนยาง โดยรัฐบาล รับรอง โดยมีภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหา - ให้กลุ่มสวนยาง ทำประชาคม กำหนดนโยบาย ร่วมกับรัฐ - ให้เจ้าของสวนยางพารา ทำวิจัย ยางพาราร่วมกัน รวมทั้งกรณีกลุ่มอื่นๆ เช่นกลุ่มลองกอง , ทุเรียน และกลุ่มนาร้าง ที่มีปัญหา - ให้รัฐส่งเสริม การส่งออก อย่างต่อเนื่อง - ให้รัฐออกนโยบาย จ่ายปุ๋ย

1.2 ข้อเสนอจากทีมวิจัย
1.2.1 การจัดตั้งองค์กรนโยบายยางพาราแห่งประเทศไทย
(Thailand Rubber Organization) มีหน้าที่ แก้ปัญหาทุกเรื่อง (holistic) เช่น กลไกราคา ระหว่างประเทศ กลุ่มชาวสวนยางพารา การส่งออก การผลิต การมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย ฯลฯ ที่เกี่ยวกับยางพารา โดยรวมนโยบาย ยุทธศาสตร์ ของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ไว้เป็นนโยบายชาติ

มติ คณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง
1) คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๕ เรื่อง การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ยางพารา ระหว่างประเทศไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย โดยมีมติ เห็นชอบ ในหลักการ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ยางพารา ระหว่างประเทศไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย และอนุมัติ ให้ดำเนินการต่อไปได้ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการ นโยบายยางธรรมชาติเสนอ โดยการจัดตั้ง เป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างประเทศ ให้มี คณะกรรมการ บริหารร่วม ประกอบด้วย ผู้แทนจาก ๓ ประเทศ โดยเห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงาน ณ ประเทศไทย และให้ผู้แทน จากประเทศไทย ทำหน้าที่ เป็นประธาน กรรมการบริหาร ให้เรียกเก็บ กองทุน จดทะเบียน ที่ร่วมทุน ตามสัดส่วน ปริมาณ การผลิตยางธรรมชาติ ของแต่ละประเทศ คาดว่าจะใช้ทุน จดทะเบียน ประมาณ ๒๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐ และมีหน้าที่ ซื้อขาย และบริหารยาง จากทั้ง ๓ ประเทศ รวมทั้งมอบหมาย ให้ประธานกรรมการ นโยบายยางธรรมชาติ ร่วมกับ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมการ ในรายละเอียดด้านต่างๆ และเร่งรัด ให้ดำเนินการ เป็นรูปธรรม และเนื่องจาก บริษัทนี้ เป็นการร่วมทุนของ ๓ ประเทศ โดยมีสำนักงาน ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น จึงควรมี มาตรการทางภาษี สนับสนุน ในการดำเนินกิจการบริษัทฯ ของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย จึงมอบ ให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน คณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน คณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน รับไปพิจารณารูปแบบ และแนวทาง ในเรื่องนี้ต่อไป

2) คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๕ เรื่อง การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ทางด้านยาง โดยมีมติ เห็นชอบ บันทึกความเข้าใจ ทางด้านยาง ระหว่างไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย และอนุมัติ ให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ลงนาม ในบันทึกความเข้าใจ ดังกล่าว และอนุมัติ ให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กู้เงิน จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในวงเงิน ตามสัดส่วน ของฝ่ายไทย ที่จะต้องลงทุน ในบริษัทร่วมทุน โดยให้กระทรวงการคลัง ค้ำประกัน ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการ นโยบายยางธรรมชาติเสนอ และที่เสนอเพิ่มเติม และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้รับ ข้อสังเกต ของคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการร่วมลงทุน ในบริษัทร่วมทุนฯ ได้กำหนด สัดส่วน การร่วมทุนของไทย : อินโดนีเซีย : มาเลเซีย เป็น ๒ : ๑.๕ : ๑ ตามลำดับ แต่จำนวนผู้แทน ประเทศ ในคณะกรรมการ บริหาร ประเทศละ ๓ คน เหมาะสมหรือไม่ และอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ บริษัทร่วมทุน ตามเอกสารภาษาไทย ไม่ตรงกับ ร่างบันทึก ความเข้าใจ ฉบับภาษาอังกฤษ สมควรแก้ไข ให้ถูกต้อง และชัดเจน ทั้งการพิจารณา คัดเลือกบุคคล เพื่อดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการบริหาร (Chief Executive Director) ของไทย สมควร พิจารณา เลือกสรรบุคคล ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ สำหรับการ พิจารณา ปรับแก้ถ้อยคำ ในร่างบันทึกความเข้าใจ ให้หารือ กระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรี ช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) ไปพิจารณา ประกอบการ ดำเนินการด้วย

1.2.2 เร่งรัด การดำเนินงาน ตามแผน เปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชาย แดนภาคใต้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเขตที่รัฐบาล ให้การสนับสนุน เป็นพิเศษ ด้านการส่งเสริมการลงทุน แหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ การจัดตั้ง เขตอุตสาหกรรม เน้นหนักอุตสาหกรรมเกษตร การส่งเสริม การท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ การส่งเสริม การค้า และการส่งออก
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
1) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2532 ยุทธศาสตร์ที่ 6 พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : เปิดเขต เศรษฐกิจพิเศษ เป็นพื้นที่ เขตเศรษฐกิจ เปิดเสรี ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 อนุมัติ ให้ใช้แผนพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นแผน เฉพาะพื้นที่ และอยู่ในกรอบ ของแผนพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 เพื่อใช้เศรษฐกิจ เป็นตัวเร่ง ให้การแก้ไขปัญหา ภาคใต้ บรรลุผล
3) มติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2535 เห็นชอบ แผนเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติ ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ที่จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 29 – 31 มีนาคม 2545 เพื่อปรับโครงสร้าง ภาคเศรษฐกิจ ให้มีความเข้มแข็ง ประชาชน ในพื้นที่ มีรายได้ที่เหมาะสม โดยเน้น ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว ที่ยังรับการพัฒนาไม่เต็มที่

2. การแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีประสิทธิภาพและนโยบายรัฐไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่น
2.1 ข้อเสนอจากเวทีชาวบ้านรวม 3 จังหวัด
2.1.1 ปัญหา : การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีประสิทธิภาพ

ปัญหา
สาเหตุ
เงื่อนไข
ผลกระทบ
ปฏิบัติ
นโยบาย
การปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่มีประสิทธิภาพ – เจ้าหน้าที่ ต้องการผลประโยชน์ - การถูกเอาเปรียบ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ค่าบริการ สินบน เก็บสะตอ จากชาวบ้าน - การคัดเลือก เป็นเจ้าหน้าที่ ไม่โปร่งใส่ ได้มา โดยวิธีเส้นสาย เครือญาติ อำนาจเงิน - เจ้าหน้าที่รัฐ ขาดความตั้งใจ ในการปฏิบัติงาน ไม่มีความเสียสละ ต่องานในหน้าที่ - เจ้าหน้าที่ ดูถูกชาวบ้าน - เจ้าหน้าที่ ขาดจิตสำนึก ในการปฏิบัติ หน้าที่ เช่น การบริการ การช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาส - เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่คนในพื้นที่ - คนในพื้นที่ ขาดโอกาส ถูกส่ง ไปทำงานที่อื่น - คนนอกพื้นที่ มาบริหาร ในพื้นที่ แบบไม่จริงจัง ไม่เต็มใจ (มาสายกลับเร็ว) –ชาวบ้าน ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ชาวบ้าน ยึดความสะดวก พึ่งพา เจ้าหน้าที่ มากกว่ากฎหมาย - เจ้าหน้าที่ ใช้ความไม่รู้ ของชาวบ้าน หาผลประโยชน์ เข้าตนเอง - การบริหาร การคัดเลือก เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่สอดคล้อง กับความต้องการ ของประชาชน ทางตรง - ชาวบ้าน ได้รับความเดือดร้อน - เสียเวลา เสียเงิน ค่ารถ อาหาร ค่าโง่ เสียความรู้สึก– ไม่อยากใช้บริการต่อ ทางอ้อม - มีทัศนคติ ไม่ดี ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ - ความราดระแวง ไม่เชื่อกัน ไม่ไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน - ความไม่เข้าใจ ระหว่างกัน เจ้าหน้าที่ - ไม่จริงจัง ไม่จริงใจ ในการแก้ปัญหา - ทำตัวเป็นนักเลง กับประชาชน รังแกประชาชน (เอาสะตอชาวบ้าน ที่นำไปขาย เอาทุกอย่าง ที่ขวางหน้า)– ประชาชน เกิดการต่อต้าน ไม่ไว้วางใจ ไม่ให้ความร่วมมือ จากเจ้าหน้าที่ - ประชาชน ตรวจสอบได้ - ใช้อำนาจ ประชาชน คัดเลือกเจ้าหน้าที่รัฐ - สร้างความเสมอภาค ระหว่างรัฐ กับประชาชน ให้เท่าเทียมกัน - สร้างจิตสำนึก ในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ - มวลชนสัมพันธ์ ระหว่างเจ้าหน้าที่ กับประชาชน - ให้อำนาจ ประชาชน ที่จะรับเจ้าหน้าที่ เข้ามาทำงาน ในพื้นที่ และสามารถ ที่จะเสนอ โยกย้ายได้ โดยประชาชน - สร้างจิตสำนึก ในการปฏิบัติงาน


2.1.2 ปัญหา : นโยบายรัฐไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่น

ปัญหา
สาเหตุของปัญหา
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
การปฏิบัติ
ข้อเสนอแนะ ในการแก้ปัญหา
นโยบายรัฐ ไม่ตรงกับ สภาพท้องถิ่น - ผู้ออกนโยบาย ไม่รู้ปัญหา ที่แท้จริง - รัฐแก้ปัญหา ไม่ตรงจุด - ข้าราชการ รับนโยบายแล้ว ไปปฏิบัติไม่ถูก - ข้าราชการ ยึดติด กรอบการทำงาน แบบข้าราชการ - ข้าราชการ สนองนโยบายรัฐ ไม่ยึดหยุ่น ตามสภาพท้องถิ่น - การเมืองท้องถิ่น เปิดโอกาส ให้ข้าราชการ มีพฤติกรรม มิชอบ - ตัวแทน ทางการเมือง ขาดความรู้ และวิสัยทัศน์ - ผู้ปฏิบัติ ขาดจรรยาบรรณ ผลกระทบ ทางตรง - แก้ปัญหา ไม่ตรงกับ ความต้องการ ของประชาชน - ข้าราชการ ไม่ให้ความสำคัญ ต่อประชาชน - สร้างปัญหา สร้างความวาดระแวง ในหมู่ประชาชน - ประชาชน เดือดร้อน ผลกระทบทางอ้อม - ข้าราชการ เห็นช่องทาง การคอรัปชั่น - ประชาชน ถูกยัดเยียด ไม่มีปากไม่เสียง - เจ้าหน้าที่ ได้รับประโยชน์ มากกว่าชาวบ้าน - ประชาชนตกงาน - เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ ตามกรอบการทำงาน - ความเห็น อย่างหนึ่ง ไปทำอีกอย่างหนึ่ง - ชาวบ้าน ไม่แสดงออก ถึงความต้องการ ที่แท้จริง - รัฐยึดแนวคิด ของตนเองเป็นหลัก ในการแก้ปัญหา - ข้าราชการ ปฏิบัติหน้าที่ แบ่งพรรคแบ่งพวก - เปิดโอกาส ให้ประชาชน มีทางเลือก การใช้หน่วยงาน บริการของรัฐ - ประชาชน จะต้องให้ความสนใจ ข่าวสารของรัฐ - สร้างจิตสำนึก กับข้าราชการ เกี่ยวความรับผิดชอบ ต่อประชาชน - การพิจารณา ความดี ความชอบ ของข้าราชการ ควรเปิดโอกาส ให้ท้องถิ่น มีสวนร่วม - ใช้มาตรการเด็ดขาด กับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีพฤติกรรม ไม่เหมาะสม - ข้าราชการ คือประชาชนคนหนึ่ง ส่งเสริม ให้ประชาชน มีความรู้ กล้าแสดงออก - ขจัดอำนาจมืด - ประชาชน ต้องเลือก ผู้มี่ความรู้ ในการบริหารประเทศ - ประชาชน ต้องเข้าใจ ในสิทธิของตนเอง - สร้างความเข้าใจ ระหว่างรัฐ กับประชาชน ให้ประชาชน ใช้ทัศนะที่มีอยู่ ได้เต็มที่ - ให้อำนาจ ฝ่ายตรวจสอบของรัฐ เทียบเท่า เจ้าหน้าที่ประจำ - อบรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ปฏิบัติ ต่อประชาชน อย่างอ่อนน้อม

2.2 ข้อเสนอจากทีมวิจัย
ซึ่งประมวล จากการนำเสนอ ปัญหา สาเหตุ และข้อเสนอ ในการแก้ไขจากเวทีชาวบ้าน ระดับอำเภอ ในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
2.2.1 การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้า โรงพยาบาล อำเภอ ที่ดิน และสถานีตำรวจภูธร อำเภอ ตำรวจทางหลวง

สาเหตุเกิดจาก
- การคอรัปชั่น การเรียกสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
- ขาดจิตสำนึกของหน่วยงานภาครัฐ ในการบริการประชาชน ไม่ทั่วถึง และไม่เอาใจใส่
- เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น
- การสื่อสารผิดความหมาย
- ระบบการตรวจสอบไม่ทั่วถึง
- ระบบพรรคพวกกลุ่มสีเดียวกันรวมหัวกันตั้งแต่ระดับส่วนกลางถึงท้องถิ่น
- ระบบข้าราชการเป็นระบบชี้นำมากกว่าแนะนำ
- ชาวบ้านขาดความรู้ในเรื่องสิทธิและหน้าที่
- กฎหมายมีช่องว่าง ทำให้เจ้าหน้าที่มีช่องว่างในการ ทุจริต
- โรงพยาบาลระดับอำเภอบริการไม่ดี ไม่มีคุณภาพ ใช้วาจาไม่สุภาพ ส่วนมาก วินิจฉัยโรค ไม่ตรงตามโรค

แนวทางแก้ไข
- ให้เจ้าหน้าที่สำนึกในหน้าที่ในการให้บริการประชาชน วางตัวเป็นกลาง
- ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ

2.2.2 นโยบายรัฐไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่น
สาเหตุเกิดจาก
- นโยบายไม่ต่อเนื่องเปลี่ยนแปลงตลอด
- รัฐไม่นำความคิดชุมชนไปปรับนโยบาย
- การวิเคราะห์ปัญหาชาวบ้านของภาครัฐไม่ตรงกับความเป็นจริง
- ภาครัฐกลัวกระจกของชาวบ้าน
-ไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็น ไม่เคยได้เสนอปัญหา
-มีการแทรกแซงทางการเมือง

แนวทางแก้ไข
- จัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังปัญหาของชาวบ้านให้มากขึ้น

4.2.2 เรื่องที่สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ควรประกาศจัดหา โครงการวิจัย ต่อเนื่องภายใน 2 ปีนี้ (2546-2548) ได้แก่
(1) ปัญหาลูกโซ่ จากปัญหาผลผลิต ทางการเกษตร ราคาตกต่ำ

(2) สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาการว่างงานในกลุ่มเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้

(3) การพัฒนาจากรัฐในส่วนที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากศักยภาพชายแดนไทย – มาเลเซีย

(4) ผลประโยชน์ ที่ประชาชน ได้รับจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ในท้องที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น
1. โครงการชลประทานปัตตานี เช่น
- การชลประทานไม่เอื้อต่ออาชีพเกษตร ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา บางพื้นที่น้ำท่วม บางพื้นที่ น้ำแห้ง (ขาดน้ำ)
- พื้นที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ในส่วนที่เป็นที่ลุ่มที่มีระบบชลประทาน คลองชลประทาน จะขวางกั้น เส้นทางไหลของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมเกือบทุกปี
- ระบบชลประทาน ใช้ได้บางพื้นที่ บางพื้นที่ขาดน้ำ บางพื้นที่เกิดน้ำท่วม เพราะโครงการ ชลประทาน ไม่ได้ศึกษาข้อมูลพื้นที่ ที่จะขุดคลองชลประทาน หรือการถมพื้นที่
2. โครงการเดินสำรวจออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิที่ดิน โฉนด หรือ สน.3 ในท้องที่ 3 จังหวัด

(5) ตรวจสอบวิธีและการปฎิบัติของเจ้าหน้าที่ในโครงการและกฎหมายสำคัญ เช่น
1. การแก้ปัญหาราคาผลยางพาราตกต่ำ
2. กฎหมายและระเบียบปฎิบัติคนเข้า-ออกเมือง (immigration) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองชายแดน
3. การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี ทับที่ทินราษฎร ในเขตพื้นที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
4. อนุสาวรีย์โรงงานยาง ที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เพราะสร้างขึ้นโดยไม่ตรงกับความต้องการ ของชาวบ้านในแง่สถานที่ คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ทำ
5. การส่งเสริมอาชีพ ด้านแปรรูปอาหาร, การทำผ้าบาติก, ปักจักร, ลองกอง ไม่มีการส่งเสริมการตลาดรองรับ

4.2.3 เรื่องที่โครงการวิจัยเสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขอวิจัยต่อเนื่อง (1) วิเคราะห์วิจัยเหตุการณ์ร้าย ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะ 10 ปี จำนวนมากกว่า 400 ครั้ง ปีงบประมาณ 2536 –2545 สมัยนายชวนฯ นายบรรหารฯ พลเอกชวลิตฯ นายชวนฯ (2) และ พตท.ทักษิณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีว่าแต่ละครั้งเกิดขึ้น

- ใครเป็นคนร้าย
- ใช้อาวุธประเภทใด
- ผู้เสียหาย
- สถานที่ หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด พิกัด
- พยานหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุ
เพื่อประมวล และวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางแก้ไขต่อทุกฝ่าย ให้เข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริง ไม่ตื่นตระหนก หรือเชื่อตามกระแส กลุ่มบุคคล ไม่หวังดี สร้างสถานการณ์

(2) จัดเวทีชาวบ้าน เพื่อตรวจสอบ การรับรู้และตอบสนอง (Feed back) ของชาวบ้าน ต่อนโยบาย รัฐบาลทั่วไป และนโยบาย ความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2542-2546) รวมทั้ง การปฎิบัติตามนโยบาย ของส่วนราชการต่างๆ การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการจัดเวทีชาวบ้าน ตามรูปแบบของโครงการฯ ใน 3 จังหวัด 12 อำเภอ เพิ่มจากอำเภอ ที่ได้เคยจัดเวทีแล้ว 9 อำเภอ ระหว่างเดือน มิถุนายน – สิงหาคม 2545

การจัดเวทีชาวบ้านรอบที่ 2 นี้จะนำประเด็นเดิมส่วนหนึ่ง มาวิพากษ์ต่อ รวมกับประเด็นใหม่ ที่ชาวบ้าน จะนำเสนอเพิ่ม ได้แก่
- ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
- การว่างงานของเยาชน
- การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- การปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- ประเด็นใหม่อื่น ๆ