สิทธิบัตรเกี่ยวกับชีวิต
PATENTS ON LIFE : A CORNER HOUSE BRIEFING


ข้อเสนอทางด้านกฎระเบียบของสหภาพยุโรป
ต่อเรื่องสิทธิบัตร ได้วางผลกำไรและผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจเอาไว้ในมือของคนจำนวนน้อย
และผลักให้ภัยอันตรายไปสู่ชีวิต
ความเป็นอยู่ของคนจำนวนมาก

(บทความว่าด้วยเรื่องสิทธิบัตร)
ความยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4

The Corner House ได้รับการสถาปนาขึ้นมา
โดย บรรณาธิการรุ่นก่อนของนิตยสาร
The Ecologist, ซึ่งได้ให้การสนับสนุน
ความเจริญงอกงามของประชาธิปไตย,
ความเที่ยงธรรม และการไม่แบ่งแยกผู้คน
หรือประชาสังคม
ที่ซึ่งชุมชนต่างๆได้ควบคุมทรัพยากร
และตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพวกเขา.
---------------------------------
The Corner House, PO Box 3137, Station Road, Sturminster Newton, Dorset DT10 IYJ, UK. Tel: 01258 473795; fax: 01258 473748.

หมายเหตุ
บทความนี้ เป็นบทความเก่าของ The Corner House
ที่ตีพิมพ์ขึ้นมาก่อนเดือนมีนาคม 1998
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการเสนอร่างเกี่ยวกับ
กฎระเบียบสิทธิบัตรให้รัฐสภาสหภาพยุโรปอนุมัติ.
ข้อมูลนี้จึงเกี่ยวกับข้อถกเถียงบางประการ
ต่อการได้มาซึ่งสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ได้ผ่านมาแล้ว

midnight university
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันใช้เหตุผลก็ดี
กลางคืนใช้จินตนาการก็ดี

เรื่องของสิทธิบัตรต่างๆได้รับการอธิบายอย่างสวยหรูว่า เป็นการติดต่อหรือการเชื่อมโยงกันระหว่างนักประดิษฐ์ทั้งหลายกับสังคม. ความสัมพันธ์ดังกล่าว ออกมาในรูปของการพิมพ์รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นของพวกเขา - ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกใหม่, เป็นการคิดค้นขึ้นมา และเป็นประโยชน์ - และบรรดานักประดิษฐ์ทั้งหลาย จะได้รับสิทธิ์แต่ผู้เดียว(ในลักษณะผูกขาด)ต่อผลกำไรจากการประดิษฐ์ของพวกเขาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง. ส่วนคนอื่นๆสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์นั้นได้ ก็โดยการได้รับอนุญาตจากผู้ถือสิทธิบัตรนั้น ซึ่งสามารถที่จะเรียกเงินหรือผลประโยชน์ได้จากผู้นำเอาไปใช้.

สิทธิบัตรต่างๆ ได้รับการนำเสนอขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่แล้ว อันเนื่องมาจากสิ่งประดิษฐ์ต่างๆทางด้านเครื่องยนต์กลไก; อาทิ หลอดไฟ, โทรศัพท์, และจักรเย็บผ้า, เป็นต้น. แต่ปัจจุบัน การถกเถียงกันอย่างขนานใหญ่ได้รับการกระตุ้นให้มีขึ้นในยุโรป โดยข้อเสนอที่จะตราขึ้นเป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องที่ยังมีการโต้เถียงกันอยู่ นั่นคือ การจะยินยอมให้มีสิทธิบัตรต่างๆเกี่ยวกับจีนส์, เซลล์, อวัยวะของมนุษย์, รวมถึงพืชและสัตว์ทั้งหมดอย่างเปิดเผย, แม้ว่า ชีววัตถุเหล่านั้นจะเป็นสิ่งเดียวกันกับที่มันเกิดขึ้นมาในธรรมชาติก็ตาม

อุตสาหกรรมต่างๆทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ(biotech) และเภสัชกรรมให้เหตุผลว่า หากปราศจากการปกป้องที่ได้รับการทำขึ้นมาโดยสิทธิบัตรต่างๆ ซึ่งมีต่อวัตถุทางชีววิทยาที่มีชีวิตแล้ว, บริษัทต่างๆก็จะไม่มีการคิดค้นงานวิจัยที่ลงทุนกันเป็นร้อยล้านเหรียญ ในการพัฒนาตัวยาต่างๆขึ้นมาเพื่อรักษาโรค, และเพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆที่เกี่ยวกับจีนส์.

"ไม่มีสิทธิบัตร, ก็ไม่ต้องมีการรักษา" พวกเขาให้เหตุผล. พวกเขาอ้างความต้องการที่จะวางหลักการเรียกร้องสิทธิ์ดังกล่าว ไม่เพียงกระบวนการที่ใช้แยกจีนส์ต่างๆจากพืช สัตว์ และมนุษย์ และการจำแนกบทบาทหน้าที่ภายในสิ่งที่มีชีวิต, รวมไปถึงผลิตผลต่างๆที่สืบทอดมาจากจีนส์เหล่านี้เท่านั้น, แต่ยังเรียกร้องสิทธิ์ลงไปถึงตัวของจีนส์ต่างๆตามธรรมชาติของมันเองด้วย.

บริษัทต่างๆที่ผลิตเคมีภัณฑ์ทางด้านเกษตร กำลังแสวงหาสิทธิ์ในการครอบครองกรรมสิทธิ์เหนือพืชและสัตว์ต่างๆ ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยจีนส์ที่ต่อเข้าด้วยกัน จากสิ่งที่มีชีวิตชนิดหนึ่งเข้ากับสิ่งที่มีชีวิตอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย. ถ้าปราศจากสิทธิบัตรเหล่านี้ เทคโนโลยีชีวภาพก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีการแข่งขัน, อุตสาหกรรมต่างๆยืนยัน และมันจะหลบเลี่ยงไปสู่ประเทศต่างๆเหล่านั้นที่ให้การป้องกัน, อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา, ที่ซึ่ง 90 เปอร์เซนต์ของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของโลกได้ตั้งมั่นอยู่ที่นั่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยการเปรียบเทียบ กฎหมายของสหรัฐอเมริกากับของยุโรป สหรัฐอเมริกาได้ยินยอมให้สิทธิบัตรต่างๆเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและส่วนต่างๆของมัน, ในขณะที่กฎหมายสิทธิบัตรของยุโรป ซึ่งได้รับการปรับปรุงล่าสุดในช่วงทศวรรษที่ 1970s นั้น, ก่อนที่เรื่องของชีวเทคโนโลยีจะมาถึงขั้นตอนในเชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้ สิทธิบัตรต่างๆที่มีต่อจีนส์, เซลล์ หรือการข้ามจีนส์(transgenic - เป็นการข้ามจีนส์ที่ทำขึ้น ที่ไม่ได้เป็นไปโดยธรรมชาติ)ของพืชและสัตว์ จึงได้รับการยินยอมภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ แต่ต้องเป็นกรณีกรณีไป, บนพื้นฐานของการลองผิดลองถูก การทดสอบข้อผิดพลาด. ที่เป็นเช่นนี้เพราะ กฎหมายดังกล่าวได้รับการออกแบบขึ้นมาสำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต, สิทธิบัตรต่างๆเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และต้องรับภาระต่อการตีความทางกฎหมายที่ยืดขยายออกไปและเผชิญกับการคัดค้านต่างๆ.

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอเมริกันที่ชื่อว่า Biocyte ได้รับการตัดสินให้ได้รับสิทธิบัตรของยุโรปในเรื่องเซลล์เม็ดเลือดที่บริเวณสายสะดือของทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด. สิทธิบัตรดังกล่าวทำให้บริษัทแห่งนี้มีสิทธิพิเศษที่จะสกัดและใช้เซลล์ดังกล่าวนี้ โดยไม่ต้องผ่านการยินยอมของผู้บริจาค. สิทธิบัตรนี้ได้รับการคัดค้านท้าทายโดยแพทย์เป็นจำนวนมากอย่างกว้างขวาง รวมถึงผู้คนกลุ่มต่างๆอย่างมากมาย.

การเสนอกฎหมายของสหภาพยุโรป (- ข้อเสนอกฎระเบียบในการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ต่างๆทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (the Directive on the Legal Protection of Biotechnological Inventions) -) ตั้งใจและเจตนาที่จะทำให้ความไม่แน่นอนบางอย่างอันนี้หมดไป. ด้วยข้อยกเว้นและเงื่อนไขต่างๆเพียงไม่กี่ข้อ, นอกนั้นถือว่า สิทธิบัตรต่างๆสามารถที่จะได้รับการถอนหรือยกเลิกได้ ในเรื่องของชีววัตถุที่มีชีวิต. ด้วยเหตุนี้ กฎหมายดังกล่าวจึงไม่เพียงประสานปรองดองกฎระเบียบในท่ามกลางประเทศสมาชิก 15 ประเทศของสหภาพยุโรป, ดังที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรอ้างเท่านั้น, แต่ยังขยายออกไปสู่พรมแดนขอบเขตเกี่ยวกับความสามารถของสิทธิบัตรด้วย.

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนหลายๆกลุ่มในสหราชอาณาจักรและที่เหลือของยุโรป, นับจากองค์กรสตรีต่างๆจนไปถึงนักวิจัยทางการแพทย์, กลุ่มนักพัฒนาประเทศโลกที่สามจนไปถึงนักสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย, บรรดานักวิทยาศาสตร์จนกระทั่งถึงผู้บริโภค, ต่างเรียกร้องร่างข้อเสนอกฎระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตรเทคโนโลยีชีวภาพให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือปฏิเสธมันเสีย เมื่อมันเข้ามาสู่รัฐสภายุโรปในปลายเดือนมีนาคม 1998.

ความเป็นห่วงต่อสิ่งที่พวกเขาเห็น ในฐานะการแผ่ขยายออกอย่างแจ่มชัดอันหนึ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิเหนือชีวิต, พวกเขาจึงตั้งคำถามกับทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดในธรรมชาติ ซึ่งตอนนี้ สามารถที่จะได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นสิ่งประดิษฐ์อันหนึ่ง ซึ่งมาแทนที่นิยามความหมายเดิมตามสามัญสำนึกเกี่ยวกับ"การค้นพบ". ถ้าเป็นเช่นนั้น, ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เป็นแก่นแท้ต่างๆของตัวธรรมชาติเอง มาถึงตอนนี้ สามารถที่จะถูกจดสิทธิบัตรกันได้แล้ว.

บรรดาทนายความหรือนักกฎหมายชี้แจงว่า สิ่งต่างๆซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตร ที่ถูกเรียกร้องในฐานะที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ในประเทศซึ่งสิทธิบัตรได้ถูกนำไปใช้ เขาสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้เพราะเหตุว่า สิ่งๆนั้นเกี่ยวพันกับขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนา ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เป็นที่ชัดเจนหรือยังไม่เข้าใจอย่างแจ่มชัด มันเป็น"ทักษะในทางศิลปะ". ด้วยเหตุนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะจดทะเบียนภายใต้กฎหมายสหรัฐ ในส่วนประกอบที่เคลื่อนไหวได้ซึ่งนำมาจากผลผลิตพืช, แม้ว่าคนรุ่นต่างๆของหมู่บ้านอินเดียนจะมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆที่มีลักษณะเฉพาะของพืชนั้น และได้ใช้ประโยชน์จากพวกมันมาหลายชั่วอายุคนแล้วก็ตาม.

บรรดานักวิจารณ์เกี่ยวกับข้อเสนอเกี่ยวกับกฎระเบียบ ยังถามไถ่ถึงเรื่องที่ บรรดานักประดิษฐ์ทั้งหลายสามารถที่จะอ้างว่าจีนส์ชนิดนี้หรือจีนส์ชนิดนั้นเป็นจีนส์ใหม่ได้อย่างไร ? : ในแง่ของ "การค้นพบ" บางทีอาจทำเช่นนั้นได้, แต่การประดิษฐ์นั้นมันเป็นไปได้อย่างไร ? อย่างไรก็ตาม ความหมายในทางกฎหมายเกี่ยวกับความแปลกใหม่ในกฎหมายสิทธิบัตร หมายความถึง "บางสิ่งบางอย่างที่ทำให้สาธารณชนใช้ประโยชน์กับมันได้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก". ดูเหมือนว่า ถ้ากฎระเบียบอันนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องมาหลายทศวรรษแล้ว ถ่านหิน ในตัวของมันเองก็สามารถที่จะได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรโดยคนเหล่านั้น ซึ่งได้พัฒนาเครื่องจักรที่ไปขุดมันขึ้นมาจากใต้ดินได้ (และใครก็ตามที่นำถ่านหินไปใช้ จะต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับผู้จดทะเบียนมันเป็นคนแรก).

แม้แต่กลุ่มคนต่างๆที่มีประสบการณ์มายาวนาน เกี่ยวกับการทำงานในความสับสนไร้ระเบียบที่รับทอดสืบช่วงมาทางด้านจีนส์ (- คนเหล่านั้นที่ดูเหมือนว่า จะได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางการแพทย์ ซึ่งไปเกี่ยวพันกับเทคโนโลยีชีวภาพ อันมีศักยภาพที่จะทำเช่นนั้นได้ -) ก็ยังคัดค้านต่อร่างกฎระเบียบข้อเสนอดังกล่าวนี้. ทั้งนี้พวกเขาได้ให้เหตุผลว่า, อันที่จริงแล้ว จีนส์ที่มีสิทธิบัตรนั้น จะเป็นตัวกีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์, มันส่งเสริมการปิดบังความลับ และเป็นตัวการขุดเซาะหรือทำลายความก้าวหน้าทางการแพทย์.

สำนักงานเขตบริการทางด้านจีนส์ของศูนย์ดูแลสุขภาพแมนเชสเตอร์ (The Regional Genetic Service of Central Manchester Healthcare NHS Trust) ก็ยังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับเรื่องนี้ในทำนองว่า : "ถ้าหากมันเป็นไปได้ที่จะจดสิทธิบัตรจีนส์…บริษัทชีววิทยาทางการแพทย์(biomedical)แห่งหนึ่ง ก็จะสามารถควบคุมงานวิจัยในอนาคตได้ทั้งหมด และพัฒนาการทางการแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์, ด้วยเนื่องมาจากการแยกตัวอันนั้นของจีนส์ๆหนึ่งโดยเฉพาะ. นี่จะไม่เพียงไม่สนับสนุนต่องานวิจัยเท่านั้น แต่มันจะเป็นการอัตวินิจบาตกรรมการวิจัยเลยทีเดียว".

แม้กระทั่ง บุคคลในวงการอุตสาหกรรมบางคนก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้. ตัวอย่างเช่น Tony Rollins แห่ง Amersham Pharmacica Biotech ยอมรับสารภาพว่า การให้สิทธิบัตรเกี่ยวกับจีนส์ เป็นไปได้ที่จะมีบทบาททำให้เกิดอุปสรรคกีดขวางต่อคนอื่นๆ; อันนี้หมายถึง คนเหล่านั้นซึ่งกำลังทำการวิจัยในเรื่องจีนส์ดังกล่าว และถ้าหากว่าไม่ได้มีการจัดการให้ได้มาซึ่งสิทธิบัตรเป็นอันดับแรก ก็เป็นไปได้ที่พวกเขาจะต้องละทิ้งงานของพวกเขาไป(เพราะคนอื่นอาจมาชิงตัดหน้าจดสิทธิบัตรไปก่อน).

ถ้าเผื่อว่าข้อเสนอเกี่ยวกับกฎระเบียบได้กลายเป็นกฎหมายขึ้นมา, มากไปกว่านั้น องค์กรสงเคราะห์ต่างๆของสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนหลายล้านปอนด์ไปกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะที่มีมากผิดปกติ และมะเร็งเต้านม ก็จะเผชิญหน้ากับโอกาสที่จะต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับกลุ่มนักวิจัยต่างๆของอเมริกัน และคานาเดี่ยน - แม้ว่าความสำเร็จเกี่ยวกับการค้นพบต่างๆทางด้านจีนส์ของงานวิจัยช่วงหลังๆ ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากผลงานของชุมชนนักวิจัยทั้งหมด และในความร่วมมือของสาธารณชนก็ตาม.

Wendy Watson ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกรรมพันธุ์มะเร็งเต้านม เธอนั้นได้ป้องกันตัวของเธอเองโดยการผ่าตัดเอาเต้านมของตนเองออก, เธอเชื่อมั่นว่า "ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับข้อมูลชนิดนี้ได้, ซึ่งได้มีการค้นพบขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือจากครอบครัวต่างๆเป็นจำนวนมาก ผู้ซึ่งต้องประสบกับความทุกข์ทรมานมาจากกรณีของกรรมพันธุ์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง. มันเป็นการผิดศีลธรรมที่บริษัทใดๆก็ตาม ที่จะตักตวงผลประโยชน์จากข้อมูลอันนี้".

นักเคมีชีวภาพ Arthur Kornberg แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพต่างๆอย่างหลากหลายมาประมาณ 25 ปี ได้ชี้แจงว่า: ในสหรัฐอเมริกานั้น, งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ ได้ถูกทำขึ้นในมหาวิทยาลัยและสถาบันทางวิชาการที่จัดตั้งขึ้นอื่นๆ. งานวิจัยต่างๆเหล่านี้ต้องการการสนับสนุนด้วยเงินก้อนใหญ่เป็นจำนวนนับพันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้มาจากผู้เสียภาษีโดยผ่านรัฐบาลกลาง. แต่กฎหมายใหม่ของสหภาพยุโรป จะไปช่วยทำให้ผลพวงต่างๆของการวิจัยสาธารณะ เข้าไปตกอยู่ในมือของเอกชนจำนวนน้อยเพียงไม่กี่คน และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์เท่านั้น. ตามความคิดของ Daare, กลุ่มตัวแทนประชาชนเกี่ยวกับการเผชิญกับโรคที่มีอาการเรื้อรังและรักษาไม่หาย ซึ่งอาจมีการเชื่อมโยงทางจีนส์ อย่างเช่น โรคเซลล์มอเตอร์ประสาท และโรคพาร์กินสัน, ผลลัพธ์ของกฎหมายดังกล่าว อาจกลายเป็นการเพิ่มขึ้นมาในต้นทุนทางด้านการรักษาที่ไม่จำเป็นได้.

บริษัทอเมริกัน, Myriad Genetics เป็นตัวอย่าง ได้ประยุกต์ใช้สิทธิบัตรของยุโรปในเรื่องของจีนส์มะเร็งเต้านม, BRCA-1, เช่นเดียวกับการบำบัดรักษาอื่นๆทั้งหมด และการใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค อันเป็นผลเนื่องมาจากความรู้เกี่ยวกับจีนส์. ถ้าหากว่าสิทธิบัตรดังกล่าวได้รับการอนุญาต, บริษัท Myriad Genetics ก็จะสามารถเรียกเก็บเงินได้ทุกเวลา ในการทำการทดสอบด้วยการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีที่เรียกว่า diagnostic screening test ซึ่งดำเนินการในยุโรป - แม้ว่า Myriad จะไม่ได้ประดิษฐ์หรือทำการทดสอบเรื่องดังกล่าวนี้ก็ตาม.

ปัจจุบันมันมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับ the NHS ประมาณ 600 ปอนด์ต่อครั้ง ในการสกรีนผู้ป่วยเกี่ยวกับจีนส์มะเร็งเต้านม ซึ่งถ้าได้มีการค้นพบ, BRCA-1 และ 2, และจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 30-35 ปอนด์สำหรับการทดสอบที่ตามมาแต่ละครั้ง: ส่วนในสหรัฐอเมริกา, บริษัท Myriad Genetics จะเรียกเงินจำนวน 2,400 เหรียญ (ราว 1,500 ปอนด์) สำหรับการสกรีนครั้งแรก และประมาณ 500 เหรียญ (ราว 300 ปอนด์)สำหรับการทดสอบครั้งต่อมาในแต่ละครั้ง.

ศูนย์บริการทางด้านจีนส์แมนเชสเตอร์(The Central Manschester Genetic Service) สรุปว่า จีนส์ที่มีการจดสิทธิบัตรอาจทำให้เกิด "ความเป็นไปได้เกี่ยวกับการทดสอบที่สับสน อย่างเช่น โรคหัวใจ หรือมะเร็งเต้านม ซึ่งมันมีราคาแพงมากเกินไป อันนี้จะทำให้พ้นไปจากขอบเขตของ NHS. ขณะที่เทคนิคใหม่ๆ ในไม่ช้า จะได้รับการยอมให้ใช้ได้ในเร็วๆนี้ และการวิเคราะห์เกี่ยวกับจีนส์ที่ราคาไม่แพงนัก. ถ้าค่าธรรมเนียมจะต้องถูกจ่ายให้กับจีนส์ทุกตัวที่ถูกนำมาวิเคราะห์, ผลทดสอบสำหรับมะเร็งเต้านมในการตรวจหา(ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับจีนส์ที่มีความแตกต่างกันประมาณ 10-15 ตัวอย่าง) มันก็จะมีราคาที่แพงมากจนเกินไป.

นอกจากนี้ การแสวงหาผลผลิตต่างๆที่สามารถขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรได้นั้น เป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการเบี่ยงเบนเงินทุนไปจากมาตรการป้องกันสุขภาพต่างๆ; อย่างเช่น ของเสียทางด้านอุตสาหกรรมและอื่นๆที่เป็นสาเหตุแห่งความป่วยไข้. ได้มีการประเมินกันว่า ตัวอย่างเช่น อย่างน้อยที่สุด คนที่เป็นมะเร็งเต้านม 90 เปอร์เซนต์นั้น ไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวพันกับจีนส์มะเร็งเต้านมเลย, อันที่จริงมันเกิดขึ้นโดยความสกปรกของสิ่งแวดล้อม, อาหาร และปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับแบบแผนการใช้ชีวิต (ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวที่ตั้งขึ้นมาใช้สำหรับมาตรการป้องกันสุขภาพ น่าจะนำมาใช้ในเรื่องของสิ่งเหล่านี้มากกว่า)

PATENTS ON LIFE
The European Union's proposed law on patenting
will put economic benefits in the hands of the few
and endanger the lives of many
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของสิทธิบัตรต่างๆเกี่ยวกับชีวิต

ในข้อเท็จจริง, เรื่องของสิทธิบัตรอาจมิใช่เพื่อปกป้องงานวิจัยแต่อย่างใด, แต่ต้องการที่จะสนับสนุนการผูกขาดตลาดแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น. Gordon Wright แห่งสถาบันดูแลสุขภาพและความงามฝรั่งเศส(the French Healthcare and Beauty Group, Sanofi) เน้นว่า, วัตถุประสงค์ของสิทธิบัตรต่างๆทางด้านเภสัชกรรมนั้นก็คือ ต้องการที่จะหยุดยั้งคู่แข่งขันที่ขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันหรืออย่างเดียวกันนั่นเอง: "การกักบริษัทต่างๆ ที่มีไอเดียใหม่ๆเอาไว้ให้จนตรอก เป็นส่วนที่ยากที่สุดของงานเลยทีเดียว", เขากล่าว.

เขาเปรียบเทียบเรื่องสิทธิบัตรกับเรื่องนักปีนเขาว่า: ถ้าหากเป้าหมายของคุณคือต้องการเป็นคนแรกที่ปีนเขาสูง 1 หมื่นฟุต, มันจะเป็นประโยชน์หรือความได้เปรียบของคุณ ที่จะมีมาตรการที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่า จะไม่มีคนอื่นอีกเลยที่กำลังปีนป่ายขึ้นสู่ยอดเขาในที่อื่นๆ. ด้วยเหตุดังนั้น ขณะที่กลุ่มนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งมั่นอยู่ในบรรยากาศที่เบาบางของแคมป์สามบนยอดเขาเอเวอร์เลส, ระบบกฎหมายควรพยายามที่จะหยุดยั้งคนอื่นๆเอาไว้ แม้แต่การจะได้มาถึง ณ ตีนเขาแห่งนี้. สิทธิบัตรต่างๆเป็นเครื่องมือในเชิงหลักการอันหนึ่งของบริษัทต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จนกระทั่งถึงตอนนี้ มันจะไม่มีใครมาแข่งขันได้.

อย่างไรก็ตาม, ในท้ายที่สุด บริษัทหลายแห่งต่างก็ทราบกันดีว่า การได้มาซึ่งและการธำรงสิทธิบัตรต่างๆเอาไว้ บางทีอาจจะมีต้นทุนที่สูงมาก กับวิธีการอันหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าได้ควบคุมตลาดและผลกำไรตลาดเอาไว้. หนึ่งในบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพคือ Genentech, ได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีถึง 4 ครั้งเพื่อปกป้องสิทธิบัตรเกี่ยวกับสินค้าของตนที่ผลิตขึ้น. อย่างน้อยที่สุด มีบริษัทหนึ่งของอเมริกาที่ได้รับการสร้างขึ้น เพื่อซื้อสิทธิบัตรเอาไว้อย่างกว้างขวาง และหลังจากนั้นก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับบริษัทอื่นๆสำหรับการฝ่าฝืนหรือละเมิดตามข้อกล่าวหา.

จากการสำรวจในปี 1997 พบว่า เป็นเพราะการฟ้องร้องดำเนินคดีในเรื่องของสิทธิบัตรมันมีราคาแพงจนเกินไป, บริษัทคานาเดี่ยนเป็นจำนวนมาก จึงให้ความไว้วางใจกับเรื่องความลับทางการค้า มากกว่าจะนำเอาความมั่นใจของตนไปไว้กับเรื่องของสิทธิบัตร เพื่อธำรงการเป็นบริษัทที่ล้ำหน้ากว่าคู่แข่ง และพยายามที่จะนำสินค้าของตนออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อว่าจะได้รับผลกำไรจากงานวิจัยของพวกเขาก่อนใครทั้งหมด.

ด้วยเหตุนี้ โดยไม่คำนึงถึงข้อเสนอกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่กลายมาเป็นกฎหมาย, บรรดาบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชกรรม จึงเลือกใช้แนวทางอื่น ยิ่งกว่าการไปจดสิทธิบัตร เพื่อกีดขวางและป้องกันคู่แข่งขันทั้งหลายของตน อย่างเช่น การปกป้องข้อมูล. ภายใต้กฎระเบียบการป้องกันข้อมูล, ข้อมูลในตัวของมันเองอาจไม่ต้องเปิดเผย (ในทางตรงข้ามกับการอยู่ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร ซึ่งรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการประดิษฐ์จะต้องถูกพิมพ์ออกมา), ขณะเดียวกันนั้น ช่วงเวลาสำหรับการป้องกันข้อมูลไม่ได้ถูกจำกัด. ซึ่งไม่เหมือนกับสิทธิบัตรต่างๆ ที่ตามปกติแล้ว จะเก็บเป็นความลับเพียง 20 ปีเท่านั้น.

มากกว่าความไว้วางใจในเรื่องของสิทธิบัตร เพื่อจะหยุดยั้งการแข่งขันของบริษัทคู่แข่ง, บางบริษัทอาจต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตที่มากกว่า ด้วยการขจัดคู่แข่งให้หมดไป โดยการไปกว้านซื้อบรรดาคู่แข่งของบริษัทเอาไว้ทั้งหมด. ยักษ์ใหญ๋ในวงการเคมีเกษตร, Monsanto, หนึ่งในบรรดาผู้นำในด้านพืชพันธุ์ตัดแต่งพันธุกรรม หรือเรียกกันเป็นทางการว่า genetically engineered crops, ได้ใช้วิธีนี้เพื่อลดคู่แข่งของตนให้น้อยลง รวมทั้งบริษัทเมล็ดพันธุ์ต่างๆ. ด้วยการผูกขาดตลาดเอาไว้แต่เพียงผู้เดียวด้วยวิธีการข้างตน.

ทัศนะต่างๆของ"ผู้ให้การสนับสนุน" และ "คู่ปรปักษ์" เกี่ยวกับข้อเสนอกฎระเบียบสิทธิบัตรสหภาพยุโรป, ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ลงรอยกันอย่างชัดเจนมากในประเด็นเกี่ยวกับ การรับรู้ข้อมูลของสาธารณชนและข้อถกเถียง. คนหลายๆกลุ่มได้ทำการเรียกร้องซ้ำๆต่อรัฐบาลอังกฤษ ไม่ให้เซ็นสัญญาในกฎหมายฉบับนี้ และได้มีการเผยแพร่เรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวาง, มีการให้ข้อมูลการโต้แย้งต่อสาธารณชน และมีการตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, รวมถึงการจดทะเบียนสิทธิบัตร และความเกี่ยวพันต่างๆเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้.

โดยในเรื่องนี้ ผู้อำนวยการคนหนึ่งของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในอังกฤษได้ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่า การให้เหตุผลในเชิงสนับสนุนของสาธารณชน ไม่ใช่หนทางสำหรับบริษัทต่างๆที่จะได้มาซึ่ง การสนับสนุนในกิจกรรมของบริษัท และการได้มาซึ่งชัยชนะต่อความไม่ไว้วางใจของสาธารณชนในเรื่องของเทคโนโลยีชีวภาพ. "คุณไม่จำเป็นที่จะต้องได้มาในสิ่งที่คุณต้องการ", เขากล่าว, และอธิบายให้เห็นด้วยผลการสำรวจ อันนำไปสู่การบ่งชี้เมื่อปลายฤดูร้อนว่า, ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในยุโรป ไม่ต้องการอาหารที่ได้มาจากวิธีการทางวิศวพันธุกรรม.

แทนที่ จะเปิดให้มีการโต้เถียงหรืออภิปรายกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหมู่สาธารณชน, ยุทธวิธีหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมและชื่นชอบกันมากสำหรับบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆก็คือ การโฟกัสลงไปยังผู้มีอำนาจต่างๆ โดยการชักชวนบรรดาผู้ออกกฎหมาย, รัฐมนตรี และรัฐบาลให้เห็นด้วยกับเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งทึกทักกันเอาเองว่า มันจะได้มาโดยเรื่องของสิทธิบัตร.

ด้วยเหตุนี้, ในอนาคตอันใกล้ การท้าทายอันหนึ่งสำหรับในทุกส่วนหรือทุกภาคของสังคม ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเสนอในเชิงชี้นำเกี่ยวกับสิทธิบัตรทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของสหภาพยุโรป, ทั้งนี้โดยการเปิดให้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ และความเกี่ยวพันของมันกับประเด็นอื่นๆ, รวมไปถึงการให้ความรู้แก่บรรดาสมาชิกทั้งหลายของรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาสหภาพยุโรป ก่อนบุคคลเหล่านี้จะออกเสียงในเรื่องกฎหมายฉบับดังกล่าวในเดือนมีนาคม. และในระยะยาว, การใคร่ครวญด้วยความระมัดระวังและกว้างขวาง ควรจะพิจารณาไม่เพียงแต่เฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีชีวภาพเท่านั้น แต่ประเด็นต่างๆเกี่ยวกับใครเป็นผู้ควบคุมอาหารและสุขภาพในความเป็นอยู่ของเรา และสังคมโลก ก็เป็นประเด็นที่ต้องเข้ามาเกี่ยวพันอย่างสำคัญด้วย

The Corner House ได้รับการสถาปนาขึ้นมาโดย บรรณาธิการรุ่นก่อนของนิตยสาร The Ecologist, ซึ่งได้ให้การสนับสนุนความเจริญงอกงามของประชาธิปไตย, ความเที่ยงธรรม และการไม่แบ่งแยกผู้คนหรือประชาสังคม ที่ซึ่งชุมชนต่างๆได้ควบคุมทรัพยากรและตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพวกเขา.

The Corner House, PO Box 3137, Station Road, Sturminster Newton, Dorset DT10 IYJ, UK.
Tel: 01258 473795; fax: 01258 473748.
Resurgence No. 187 มีนาคม/เมษายน 1998

e-mail : midnightuniv@yahoo.com midnight's home

 

สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง