PdollarR.jpg (37421 bytes)

หลักเศรษฐศาสตร์ใดก็ตามที่เงินตรามีอำนาจเหนือกว่าความเป็นมนุษย์ หลักเศรษฐศาสตร์ใดก็ตามที่ทำให้มนุษย์ต้องมีสภาพเช่นนี้ หลักเศรษฐศาสตร์นั้น เรายังจะสนับสนุนให้มันดำรงอยู่ต่อไปอีกหรือ ? วิพากษ์และเปลือย WTO จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Post-Corporate World: Life After Capitalism และ When Corporations Rule the World

PdollarR1.jpg (18153 bytes)

อีกทางเลือกหนึ่งที่งอกงามได้ของทุนนิยมโลกาภิวัตน์

บทนำ

คำถามที่ว่า เราควรจะเลือกเงินหรือชีวิต มาเป็นเป้าหมายของการอุทิศตัวของเรา ? เงินหรือชีวิตที่ควรจะเป็นหลักบริหารองค์กรของสถาบันที่เราทำงานอยู่ ? เงินหรือชีวิต ที่ควรเป็นมาตรฐานในการวัดค่าความสำเร็จของเรา ? อันนี้คือประเด็นหลักที่แท้จริง ตอนที่คนเป็นหมื่นจากทั่วโลกได้มารวมตัวกันที่ Seattle เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เพื่อหยุดยั้งองค์การการค้าโลกหรือ WTO (World Trade Organizations) ซึ่งกำลังโจมตีอย่างรุนแรง ต่อประชาธิปไตยมนุษยชาติ และดาวเคราะห์ดวงนี้.

ในทางเศรษฐกิจ, ขณะที่ WTO ได้ให้การสนับสนุนระเบียบโลกใหม่เกี่ยวกับเรื่องทางการเงิน. ทางด้านการเมืองนั้น, การเมืองแบบเก่าทั้งฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวาก็กำหลังหลีกทางให้กับการเมืองในรูปแบบใหม่ซึ่งได้ถูกนิยามโดยทางเลือกอันหนึ่ง ระหว่าง “เงิน” และ “ชีวิต” ในฐานะที่เป็นมาตรวัด เกี่ยวกับความเป็นอยู่และสถาบันต่างๆของพวกเรา.

เราจะวางบทบาทต่างๆของตัวเราเอง เพื่อรับใช้เงิน ในฐานะที่เป็นผู้บริโภค และคนงานในเศรษฐกิจโลกที่ถูกครอบงำโดยบรรษัทโลก และการคาดการณ์ทางการเงินใช่ไหม ? หรือเราจะกระทำการต่างๆเพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ทั้งมวล ในฐานะพลเมืองของดาวเคราะห์ดวงนี้ ด้วยความชอบธรรม และความรู้สึกรับผิดชอบต่อการสร้างสรรค์สังคมโลกที่ถูกปกครองโดยผู้คนเพื่อประโยชน์ของชีวิตทั้งมวล ?

ทุนนิยมโลก (Global Capitalism)

ความไม่เท่าเทียมกันและความไม่ยุติธรรม ไม่ใช่ผลของความบังเอิญของทุนนิยมโลก; แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของมัน. ในระบบทุนนิยม เงินได้ถูกเข้าใจในฐานะที่เป็นมาตรวัดทางคุณค่าต่างๆทั้งหมด. การได้ผลตอบแทนทางการเงินคืนกลับมาสูงสุดกลายเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนของสังคม. การแข่งขัน ลัทธิปัจเจกนิยมและวัตถุนิยม ถูกหล่อเลี้ยงบำรุงในฐานะที่เป็นบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมอันน่าชื่นชม. ดัชนีตลาดหุ้น และ GDP (gross domestic product)หรือรายได้ประชาชาติ ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรวัดของความก้าวหน้าและการเป็นอยู่ที่ดีของสังคม. ภาวะพองตัวของราคาที่ดิน และดัชนีชี้ค่าตลาดหุ้นที่เพิ่มขึ้นได้รับการสนับสนุน, ขณะที่ค่าจ้างเงินเดือนได้ถูกทำให้คงที่หรือลดลงอยู่ตลอดเวลา – ซึ่งอันนี้ได้ก่อให้เกิดการขยายตัวของความไม่เท่าเทียมกันขึ้น โดยการเพิ่มทรัพย์สินทางการเงินแก่พวกชนชั้นสูงจำนวนเล็กน้อย ซึ่งสัมพันธ์ในเชิงผกผันกับรายได้ของพวกคนงาน.

ทุนนิยมได้ฝึกฝนและเลือกสรรผู้นำของตนขึ้นมา โดยที่บุคคลเหล่านั้นได้ถูกทำให้ชุ่มโชกไปด้วยสำนึกทางการเงินที่พัฒนาขึ้นมาสูงมาก ให้เป็นพวกที่“คิดถึงแต่เรื่องเงิน”(think money). สถาบันที่ได้รับการสนับสนุนคือสถาบันทางการค้าสาธารณะต่างๆ, หรือบรรษัทตัวแทนรับผิดชอบ, ซึ่งได้รวมศูนย์อำนาจเอาไว้ในมือของผู้นำซึ่งบริหารบรรษัทตัวแทนฯเหล่านี้ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ(โดยคนๆเดียว). และเจ้าของเหล่านี้ ตัวของพวกเขาเองนั้นได้รับการคุ้มครองและปกโดยคำอธิบายสาธารณะสำหรับการตัดสินใจกระทำการในนาม.

การกำหนดให้มีผู้อำนวยการบริษัทและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อการได้คืนกลับมาในรูปตัวเงินสูงสุดในระยะสั้นของผู้ถือหุ้น, โครงสร้างที่ถูกต้องตามกฎหมายของบริษัท ได้ผลักดันไปสู่การจำลองภาพของมะเร็งร้ายที่ไล่ตามความเจริญเติบโตที่ไม่มีขีดจำกัดของมันเอง โดยปราศจากการพิจารณาถึงผลที่ตามมาสำหรับตัวมันเองและเจ้าของหุ้น.

แม้ว่าเงินทุนที่มีอยู่, มนุษย์, สถาบันทางสังคม, หรือธรรมชาติ, คือต้นตอที่มาของความมั่งคั่งที่แท้จริงทั้งหมด, ทุนนิยมก็กำหนดมันว่าไม่มีค่า และไม่ทำบัญชีอธิบายสำหรับการหมดเปลืองไปของสิ่งเหล่านี้ (เช่น ความเป็นมนุษย์ลดลง สถาบันครอบครัวแตกเป็นเสี่ยงๆ วิถีชุมชนล่มสลาย และธรรมชาติถูกทำลาย).

ปัจจุบัน บริษัทที่อาศัยอยู่กับตลาดการเงินโลกได้มีอำนาจสูงสุดที่มีเหนือรัฐบาลต่างๆ และ ได้คาดการณ์ความเสี่ยงด้วยเงินจำนวนเป็นร้อยเป็นพันล้านดอลล่าร์ในเงินที่กู้ยืมมา. ความเป็นเจ้าของบริษัทเกี่ยวกับสื่อและความเป็นเจ้าของตัวนักการเมือง ทำให้ประชาธิปไตยไร้ความหมาย ดังที่สถาบันต่างๆทางการเงินได้เขียนกฎหมายใหม่ๆขึ้นมา เพื่อปลดปล่อยตัวของมันเองให้เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์หรือการควบคุมของสาธารณะ, พรมแดนเศรษฐกิจ, และการยับยั้งในความสามารถของมันที่จะขจัดคู่แข่งขัน โดยผ่านการรวมตัวของหน่วยธุรกิจการค้าให้เป็นหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่เพียงหน่วยเดียว, ด้วยการได้มาซึ่งการเข้าถือสิทธิ์ การครอบครอง และกลยุทธพันธมิตร.

ในช่วงระหว่างเวลานั้น องค์การการค้าโลก หรือ WTO, โดยตัวแทนส่วนใหญ่ขององค์การดังกล่าว ได้สร้างแรงกระตุ้นให้บรรษัทต่างๆที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำการเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ทางการเงินของตนเอง ซึ่งการกระทำเช่นนี้ ได้เพิ่มพลังอำนาจแก่การท้าทายต่อกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายชาติที่ขัดแย้งกับทัศนะของบริษัท เกี่ยวกับลำดับความสำคัญก่อนหลังต่างๆของโลก.

โดยผ่านองค์การการค้าโลก(WTO), ความร่ำรวยและพลังอำนาจของโลก ได้ก้าวไปสู่การเจรจาและการบีบบังคับให้มีการตกลงใจนานาชาติอย่างก้าวร้าว เพื่อวางแนวป้องกันเกี่ยวกับสิทธิต่างๆทางทรัพย์สินให้อยู่เหนือหรือมาก่อนการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน, และได้วางระเบียบให้รัฐบาลต่างๆไม่ให้เข้ามาขัดขวางพวกคนเหล่านี้โดยการออกกฎหรือข้อบังคับบรรษัทโลกต่างๆและเรื่องทางการเงิน รวมไปถึงพยายามโยกย้ายอุปสรรคกีดขวางการแพร่กระจายเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบริโภคที่เหมือนๆกันของบริษัทที่เป็นมิตร, มีการก่อรูปก่อร่างทางความคิดให้บรรดาประเทศต่างๆทั้งหมด รวมตัวกันขึ้นมาเป็นแบบจำลองเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาตรฐานโดยไม่มีการเข้าไปแทรกแซงหรือก้าวก่าย, มีการกดดันให้รัฐบาลต่างๆให้แปรรูปสินค้าสาธารณะและบริการไปเป็นของเอกชน, รวมทั้งพยายามให้มีการรับรองบรรษัทโลกเพื่อสร้างความมั่นใจว่า จะไม่มีการจำกัดหรือขัดขวางการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ, และจัดหาการรับประกันสาธารณะสำหรับนักลงทุนเอกชนและนักเก็งกำไรต่างๆด้วย.

ความถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมายอันโยกคลอนเพิ่มขึ้นของแบบจำลองเศรษฐกิจที่มีมลทินนี้ พำนักอยู่ในมาตรวัดขนาดใหญ่บนความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างสม่ำเสมอสองประการคือ :

ความผิดพลาดประการที่หนึ่ง. ความเที่ยงธรรมและหนทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งนำไปสู่ปลายทางแห่งความยากจนก็คือ การแผ่ขยายความยุ่งเหยิงและสับสนทางเศรษฐกิจโดยผ่านความเจริญงองกงามทางเศรษฐกิจนั่นเอง, ด้วยเหตุแห่งการปรับปรุงมาตรฐานของความเป็นอยู่ของทุกๆคน. ในความเป็นจริง : ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งพวกเราต่างมีประสบการณ์กันโดยทั่วไปนั้น มันกำลังทำลายความมั่งคั่งในความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคม และดาวเคราะห์ดวงนี้, ด้วยการไปบั่นทอนความมั่งคั่งที่แท้ เพื่อที่จะให้กำเนิดผลกำไรทางการเงินที่มุ่งไปสู่ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่แล้วเป็นปฐม.

ความผิดพลาดประการที่สอง. ชัยชนะของโลกเกี่ยวกับลัทธิทุนนิยม คือชัยชนะอันหนึ่งสำหรับประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการตลาด. ความจริงก็คือ : ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการตลาดที่แท้ ก็คือสิ่งที่พวกเราควรจะกำลังแสวงหา เพราะมันคือรากฐานของความเที่ยงธรรม. มันทำให้สังคมต่างๆสามารถที่จะดูแลจัดการตัวเองได้. แต่ลัทธิทุนนิยม คือศัตรูที่ร้ายกาจอย่างที่สุดของทั้งคู่.

โดยนิยามความหมาย ทั้งทางด้านการออกแบบและการปฏิบัติ, ลัทธิทุนนิยมเป็นระบบหนึ่งที่เพ่งความสนใจลงไปที่ อำนาจทางเศรษฐกิจในมือของคนจำนวนไม่กี่คนที่จะมีการกีดกันคนจำนวนมากออกไป, มันได้สร้างมายาการอันหนึ่งขึ้นมา ในจิตใจของผู้ยึดถือหรือครอบครองอำนาจเหล่านี้ ว่ามันเป็นเครื่องจักรอันหนึ่งของความเจริญรุ่งเรือง มากกว่าเป็นเครื่องจักรของการทำลาย (ซึ่งอันนี้เป็นมายาภาพ)

สังคมโลก (A Planetary Society)

ลองมาพิจารณากันดูถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับสังคมโลกหรือสังคมดาวเคราะห์ดวงนี้ ซึ่งชีวิตได้ถูกยกขึ้นมาเป็นมาตรฐานในการวัดเรื่องคุณค่า และเป้าหมายที่ชัดเจนก็คือการรับประกันถึงเรื่องความสุข, ความเป็นอยู่ที่ดีและการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับคนแต่ละคน. การเป็นอยู่ที่ดีและความก้าวหน้าได้รับการประเมินบนพื้นฐานของดัชนีต่างๆของความสามารถในความเป็นอยู่ ความงอกงามและการพัฒนา, ความหลากหลายและศักยภาพในการผลิตของทั้งหมดของทุนความเป็นอยู่ของสังคม, นั่นคือ มนุษย์, สังคม, สถาบัน และธรรมชาติ. ดัชนีเหล่านี้ได้ถูกตรวจสอบและควบคุมอย่างระมัดระวังเช่นเดียวกับที่เราได้ตรวจสอบ GDP และราคาตลาดหุ้นในปัจจุบัน. เครื่องหมายใดๆก็ตามของความเสื่อมทรามจะปลุกการกระทำให้มีการแก้ไขขึ้นมาในทันที. บรรดาผู้นำต่างๆจะได้รับการฝึกฝนและเลือกสรรเพื่อชุมชนที่มีการพัฒนาขึ้นมาในระดับสูงของพวกเขา และมีความสำนึกต่อดาวเคราะห์ดวงนี้.

สิทธิมนุษยชนและอำนาจอธิปไตยทางการเมือง ธำรงอยู่ในผู้คนจริงๆบนพื้นฐานของหนึ่งคนหนึ่งเสียง. การมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในความสัมพันธ์ของพลเมืองได้สนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับประชาธิปไตยทางตรง. กองทุนสาธารณะเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเข้าถึงสื่อได้อย่างอิสระสำหรับการเป็นตัวเลือกทางการเมือง ได้ลดทอนบทบาทของเงินลงมาในการเลือกตั้งต่างๆ.

เศรษฐศาสตร์ชีวิต(economic life)ที่มีศูนย์กลางอยู่บนการวางระเบียบข้อบังคับที่ดี, ตลาดที่จัดการได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีบทบาทภายในหลักจริยธรรมอันเข้มแข็งของความร่วมมือกัน และความรับผิดชอบต่อกันและกัน. บางคนเรียกมันว่า”เศรษฐกิจการตลาดที่มีความเอาใจใส่”(the mindful market economy) ซึ่งบริษัทธุรกิจต่างๆอันนี้มีสัดส่วนของความเป็นมนุษย์และมีคนที่เป็นเจ้าของที่มีเดิมพันจริงๆ นั่นคือ คนงานของบริษัท, ลูกค้า, ผู้จัดจำหน่าย และสมาชิกชุมชน. มันมีรูปแบบมากมายของบริษัทธุรกิจ รวมถึงผู้เป็นเจ้าของ, ผู้ร่วมงาน, หุ้นส่วนบริษัท, เจ้าของผู้วางเดิมพัน(ลงทุน)ร่วมกัน, (ในเศรษฐกิจชีวิต การร่วมกันทางการค้าสาธารณะ(ฮั๊วกัน), บรรษัทตัวแทนรับผิดชอบ ซึ่งได้แยกความเป็นเจ้าของจากความรับผิดชอบที่มีต่อชุมชน และภาระหน้าที่ที่พึงกระทำจะไม่มีอยู่อีกต่อไป).

สิทธิของแต่ละคนในหนทางหรือวิธีการการดำรงชีวิตได้ถูกพิจารณาให้เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่ของสิทธิมนุษยชน, สิทธิอันหนึ่งที่จะมีความมั่นคงปลอดภัยในบางระดับโดยผ่านการเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วมในทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งการดำรงอยู่ของชีวิตของคนต้องพึ่งพา. ความเอาใจใส่ต่อความเสมอภาคและภาระรับผิดชอบต่อสาธารณะคือเครื่องหมายคุณภาพของเศรษฐศาสตร์ชีวิต.

เงินเป็นผู้ซึ่งทำหน้าที่คนใช้ของสังคม มันไม่ใช่เป็นนาย และถูกนำมาใช้ประโยชน์เพียงประการเดียวเพื่อการลงทุนสร้างผลผลิต ที่สะดวกสบายและประโยชน์ของการแลกเปลี่ยน. การสร้างสรรค์ของมันคือบทบาทสาธารณะอันหนึ่ง. ดังนั้น การเก็งกำไรทางด้านการเงินจะต้องถูกขัดขวางทุกรูปแบบโดยระเบียบข้อบังคับและนโยบายด้านภาษี. เงินตราท้องถิ่นเป็นเรื่องธรรมดาร่วมกัน เช่นดั่งที่มันควรจะมีธนาคารชุมชนที่มีอิสระและมีสถาบันแบบ credit unions. ด้วยเหตุนี้ การเงิน แรกเริ่มเดิมที จึงเป็นเรื่องของท้องถิ่น เช่นดังที่บริษัทธุรกิจส่วนใหญ่และผลผลิตส่วนใหญ่ควรจะเป็นของท้องถิ่น. ประเทศต่างๆซึ่งมีการค้าขายผลผลิตส่วนเกินของประเทศนั้น โดยพื้นฐาน ควรจะตั้งอยู่บนการบริจาคโดยธรรมชาติในเชิงเปรียบเทียบของมัน.

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมควรได้รับการให้คุณค่าเอาไว้สูงกว่าสิ่งใด เช่นเดียวกับความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และการทดลองทางความคิดหรือกิจกรรมอื่นๆ. แต่ละท้องถิ่นและเศรษฐกิจของชาติได้ผันแปรอย่างมีสาระในการผสมผสานของมัน เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของที่เป็นสาธารณะและส่วนตัว และในขอบเขตของการมีส่วนร่วมของมันในระบบการค้าโลก ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมของมันและความชื่นชอบต่างๆ. ประสบการณ์, วัฒนธรรม, ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี ได้ถูกปันส่วนอย่างอิสระท่ามกลางผู้คน, ชุมชน และประชาชาติต่างๆ โดยผ่านการท่องเที่ยงของแต่ละคน และการสื่อสารทางอิเล็คทรอนิค ด้วยเหตุนี้ สังคมที่รวดเร็วมีความสะดวกสบายจึงเรียนรู้ในเรื่องการปรับปรุงอยู่อย่างสม่ำเสมอในมาตรฐานความเป็นอยู่ที่แท้จริงและคุณภาพชีวิตทั้งมวล.

แต่ละชุมชนหรือประชาชาติ จะต้องมีสิทธิที่จะตัดสินใจว่า อะไรที่ควรจะนำมาขาย หรือจะขายมันมากน้อยเพียงใด และกับใคร และภายใต้สถานการณ์แวดล้อมอะไร. ในทำนองเดียวกัน มันมีสิทธิที่จะตัดสินบนเทอมต่างๆ, ถ้ามี, ภายใต้สิ่งซึ่งมันจะเชื้อเชิญคนอื่นๆให้มามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจโดยผ่านการลงทุน. สิทธิอันชอบธรรมเหล่านี้ เช่นเดียวกับมาตรฐานที่เหมาะสมอื่นๆสำหรับระบบผลประโยชน์ทางการค้าของโลก ความเสมอภาค และความเที่ยงธรรม, ได้ถูกทำให้ปลอดภัยโดยความตกลงนานาชาติที่ทำให้เป็นผลสัมฤทธิ์ขึ้นมาภายใต้การดูแลควบคุมของสหประชาชาติ.

ใช่ ต่อ กฎเกณฑ์ทางการค้า, การตลาดและการค้าแบบยุติธรรม

ไม่ ต่อ การค้าเสรี, ลัทธิทุนนิยมโลก และ องค์การการค้าโลก (WTO)

การค้าอย่างยุติธรรมและมีดุลยภาพที่รับใช้ผลประโยชน์กันและกันของหุ้นส่วนทางการค้า จะได้รับการต้อนรับ. แต่อย่างไรก็ตาม สังคมโลกมีความชื่นชอบโดยธรรมชาติเกี่ยวกับผลิตผลท้องถิ่นเพื่อควบคุมและเพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นที่เข้มแข็ง, มีการเพิ่มเสถียรภาพและความยืดหยุ่นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจท่ามกลางประเทศต่างๆ และลดต้นทุนการขนส่งและการใช้พลังงานลง.

Pdollar4.jpg (23107 bytes)

ประเด็นความแตกต่างอีกประเด็นหนึ่งระหว่าง สังคมโลก กับ เศรษฐกิจโลก ก็คือ สังคมโลกนั้นได้ให้ความใส่ใจอย่างจริงจังต่อหลักการที่เป็นรากฐานเรื่องการตลาดและทฤษฎีทางการค้า, รวมไปถึงหลักการที่ว่า การตลาดจะต้องได้รับการวางกรอบกฎระเบียบเพื่อธำรงรักษาเงื่อนไขเกี่ยวกับบทบาทการตลาดที่มีประสิทธิภาพ. ดังนั้น มันจึงใช้มาตรการเกี่ยวกับกฎระเบียบและงบประมาณเพื่อบำรุงรักษาดุลยภาพอันมีเหตุผลในเรื่องการค้าระหว่างประเทศต่างๆ, ซึ่งจะเป็นการรับรองหรือยืนยันว่า ต้นทุนที่สมบูรณ์ได้ถูกทำให้ดำรงอยู่ภายในโดยบรรดาผู้ผลิต และสะท้อนออกมาในราคาขาย (ไม่มีการแอบสงเคราะห์หรือให้การช่วยเหลือโดยตรง และไม่มีการปฏิบัติการในลักษณะที่จะทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม อย่างเช่น การทุ่มสินค้าเข้ามาในตลาด) และป้องกันเรื่องการเงินและความเป็นเจ้าของไม่ให้มามีอิทธิพลเหนือประชาชาติ (จำกัดการไหลของกระแสเงินตรานานาชาติ และความเป็นเจ้าของของชาวต่างชาติและการไม่มีตัวตน).

กล่าวอย่างสั้นๆ แนวคิดสังคมโลกให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อการเจรจา และวิธีการเกี่ยวกับกฎระเบียบทางการค้าและการลงทุนซึ่งวางพื้นฐานอยู่บนหลักการด้านการตลาด.

อันนี้มิใช่สิ่งที่องค์การการค้าโลก(WTO) เกี่ยวข้องอยู่หรือ ? อะไรที่การค้าเสรีให้การสนับสนุน ใครเป็นคนที่บอกกับเราเสมอๆว่า เราต้องการ WTO ให้สร้างกฎเกณฑ์ทางการค้าขึ้นมา เพื่อขัดขวางสงครามทางการค้าและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศที่ยากจน ? ส่วนใหญ่ของคนเหล่านั้นซึ่งเรียกร้องเรื่องนี้คือควันไฟที่ลอยไปลอยมาเท่านั้น. กฎเกณฑ์ทางการค้าได้มีการประณามอย่างรุนแรงต่อนักการค้าเสรี, และ WTO, ซึ่งได้รับการสร้างขึ้นมาโดยนักการค้าเสรี, ซึ่งไม่มีอำนาจที่จะวางกฎระเบียบทางการค้านานาชาติ หรือวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับบรรษัทโลกและตลาดการเงินโลก. อำนาจหรือคำสั่งของมัน เป็นเรื่องตรงข้ามเลยทีเดียวที่จะทำการขัดขวางรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลชาติจากการทำให้กฎเกณฑต่างๆมีผลบังคับใช้ขึ้นมา ซึ่งได้ไปจำกัดควบคุมการเลื่อนไหลอย่างอิสระของการค้านานาชาติและการลงทุน.

อำนาจที่ได้รับมอบหมายที่แท้จริงคือหลักฐานในสิ่งที่ WTO ทำ และในข้อเสนอต่างๆบนโต๊ะเจรจาทุกวันนี้. ยกตัวอย่างเช่น มันได้มีการบอกกับญี่ปุ่นว่า ภาษีเกี่ยวกับวิสกี้ bourbon ซึ่งผลิตในสหรัฐอเมริกามันสูงเกินไป. อย่างชัดเจน, WTO เชื่อว่า คนญี่ปุ่นควรจะดื่ม bourbon ของอเมริกันมากขึ้นถึงจะดี. ส่วนแคนาดาได้รับการบอกว่า แคนาดาไม่สามารถป้องกันวัฒนธรรมของตนเองได้โดยใช้มาตรการภาษีกับนิตยสารอเมริกัน. และอินเดียก็ได้รับการบอกเช่นกันว่า อินเดียไม่สามารถจัดหายาทั่วๆไปซึ่งมีราคาถูกให้กับผู้คนอินเดียได้ เพราะมันไม่ยุติธรรมต่อบริษัทยาต่างประเทศ ซึ่งได้กำไรอย่างงามจากผลิตภัณฑ์ที่มีป้ายฉลาก. สหรัฐอเมริกาก็ได้รับการบอกว่า สหรัฐไม่สามารถไม่เลือกที่จะนำเข้าปลาทูน่า ซึ่งถูกจับขึ้นมาโดยวิธีการที่มีอันตรายต่อปลาโลมา.

บรรดาผู้คนในประเทศในแถบยุโรปก็ได้รับการบอกว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะนำเข้ากล้วยหอมอันเป็นที่ชื่นชอบซึ่งได้รับการผลิตโดยความร่วมมือกัน ของบริษัทเล็กๆเกี่ยวกับการค้ากล้วยหอมซึ่งตั้งอยู่ในแคริเบียนได้. และพวกเขายังได้รับการบอกอีกว่า ไม่สามารถที่จะจำกัดการนำเข้าเนื้อวัว ที่ถูกเลี้ยงให้โตขึ้นมาโดยฮอร์โมนหรือกรรมวิธีการผลิตทางด้านอาหารดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งได้สร้างศักยภาพของความเสี่ยงขึ้นมา ต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จนกว่าพวกเขาจะจัดหาข้อพิสูจน์ที่สรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นอันตราย.

WTO เข้าใจเอาเองว่า ความรับผิดชอบสำหรับการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นชาวยุโรปหรือใครก็ตาม, อันนี้ขึ้นอยู่กับป้ายฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นที่ปิดให้ทราบแล้วถึงส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิต และด้วยเหตุนี้ จึงปล่อยให้ผู้บริโภคทั้งหลายตัดสินใจกันเอาเอง.

ข้อเสนอต่างๆที่นำขึ้นมาเพื่อการพิจารณาในการประชุมที่ Seattle โดยสาระแล้ว ข้อเสนอดังกล่าว จะมีการขัดขวางรัฐบาลในหลายๆประเทศ ไม่ให้มีการกระทำใดๆอันเป็นการสงเคราะห์หรือสนับสนุนต่อนักลงทุนท้องถิ่นมากกว่าต่างประเทศ (รวมไปถึงเรื่องการธนาคาร, สื่อ และ sector การให้บริการต่างๆ), และไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลต่างๆจะส่งเสริมบริษัทท้องถิ่นในการต่อสู้เพื่อให้ได้ออกมาสู่สาธารณะ, ห้ามให้มีการปกปักษ์รักษาความมั่นคงของผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นโดยการปกป้องชาวนาท้องถิ่นจากการแข่งขันของต่างชาติ, ห้ามป้องกันทรัพยากรป่าไม้และน้ำจากการใช้ประโยชน์โดยบรรษัทต่างประเทศ, หรือห้ามวางกฎระเบียบการเคลื่อนไหว เพื่อการเก็งกำไรค่าเงินนานาชาติ. พวกเขายังได้เปิดทางให้มีการแปรรูปการบริการสาธารณะต่างๆไปเป็นของเอกชนด้วย อย่างเช่น แปรรูปโรงเรียนและการดูแลทางด้านสาธารณสุข. ขณะเดียวกัน ก็มีการหน่วงเหนี่ยว ถ่วงเวลาเรื่องต่างๆเหล่านี้, ข้อเสนอข้างต้นมันไปไกลเกินกว่าจะยุติลงได้ และแน่นอน มันจะได้รับการนำเสนอขึ้นมาใหม่อีกในการประชุมคราวต่อๆไปให้มีการควบคุมน้อยลง และให้สาธารณชนตรวจสอบอย่างละเอียด และทำการคัดค้านน้อยลง.

องค์การการค้าโลกหรือ WTO ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยคำสั่งของบรรษัทนานาชาติและบรรดานักการเงินทั้งหลาย เพื่อขัดขวางหรือเพื่อตีกลับกฎระเบียบต่างๆทางการค้า, บริษัทต่างๆและเรื่องการเงินโดยรัฐบาล.

สำหรับข้ออ้างที่ว่า องค์การการค้าโลก(WTO)กำลังคุ้มครองเราให้ปลอดภัยจากสงครามทางการค้า และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศเล็กๆในเศรษฐกิจโลกนั้น, กรณีกล้วยหอมที่กล่าวไปแล้วข้างต้นเป็นตัวอย่างว่ามันไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด.

สหรัฐอเมริกาตัดสินใจว่า การนำเข้าของยุโรปซึ่งชื่นชอบในกล้วยหอมที่ผลิตขึ้นมาโดยชาวสวนเล็กๆในแคริเบียน เป็นการไม่ยุติธรรมต่อบริษัทพืชผลการเกษตรยักษ์ใหญ่ 2 บริษัทของสหรัฐ, นั่นคือ บริษัท Chiquita และ Dole, ซึ่งได้ปลูกกล้วยหอมในอเมริกากลาง ซึ่งควบคุมการค้ากล้วยถึงครึ่งหนึ่งของโลก และบราททั้งสองนี้ยังได้ให้การสนับสนุนทางการเมืองเป็นจำนวนมากต่อพรรค Democrat และ Republican. สหรัฐได้นำเอากรณีนี้เข้าสู่องค์การการค้าโลก(WTO) ซึ่งได้วางกฎเกณฑ์ในการช่วยเหลือต่อบริษัททั้งสอง และด้วยเหตุดังนั้น จึงทำให้ชาวสวนกล้วยประมาณ 2 แสนคนตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงของการดำรงชีวิต. ชาวยุโรปปฏิเสธที่จะยอมแพ้ในเรื่องนี้.

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจขององค์การการค้าโลก, และได้เริ่มแก้เผ็ดด้วยสงครามทางการค้า โดยการเรียกเก็บภาษีศุลกากรขนานใหญ่กับสิ่งต่างๆ อย่างเช่น เสื้อกันหนาวซึ่งเป็นสิ่งทอที่ผลิตขึ้นจากขนแกะแคชเมียร์ที่ทำในยุโรป และเนยแข็ง Roquefort. ในความเคลื่อนไหว องค์การการค้าโลกได้วางกฎเกณฑ์ขึ้นมาสวนทางกันกับความชื่นชอบ สำหรับคนจนและมีการยินยอมให้มีการแก้เผ็ดด้วยสงครามทางการค้า, ดังนั้น จึงได้เป็นการเผยให้เห็นว่า มืออาชีพของ WTO มองว่าผลประโยชน์ต่างๆของคนจนเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย เพราะเป็นเพียงควันไฟและภาพบนกระจกเงาเท่านั้น.

ระเบียบวาระการประชุมสำหรับศตวรรษที่ 21 (Agenda for the 21 th Century)

พวกเรามีความต้องการกฎเกณฑ์ระบบหนึ่งอย่างมากสำหรับเศรษฐกิจโลกที่จะถอยกลับหรือตีกลับแนวทางในการทำลายของมัน และนำเราไปสู่หนทางของความเป็น”สังคมโลก” ที่ซึ่งเรื่องของชีวิตเป็นเรื่องของดำรงสถานภาพความเป็นนาย ในขณะที่เรื่องเงินดำรงฐานะที่เป็นบ่าวคอยทำหน้าที่รับใช้เท่านั้น.

การประท้วงที่ Seattle เรียกร้องให้มีการยุติการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้าใหม่ใดๆก็ตาม, เพื่อทบทวนเกี่ยวกับ ผลที่จะตามมาของข้อตกลงที่เห็นพ้องต้องกันที่มีอยู่, และเพื่อซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นมาแล้ว. หลังการประชุมที่ Seattle เราจะต้องสลักเสลาระเบียบวาระการประชุมอันหนึ่งขึ้นมา ที่ซึ่งเป็นเรื่องของการคาดการณ์เกี่ยวกับปัญหาความต้องการในอนาคต และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง, ซึ่งวางเป้าอยู่ที่การสร้างสรรค์สังคมโลกขึ้นมา ซึ่งทำงานเพื่อคนทั้งมวล. ยกตัวอย่างเช่น, เราต้องการข้อตกลงนานาชาติที่เข้มแข็งเกี่ยวกับ:

  1. การวางระเบียบไม่ให้บรรดาบรรษัทและการเงินข้ามชาติ เพื่อควบคุมการเก็งกำไรทางด้านการเงินอย่างเด็ดขาด, กิจกรรมทางการฟอกเงินที่กระทำโดยธนาคารที่อยู่เหนือรัฐ, การค้าอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆและยาที่ผิดกฎหมาย, การหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทที่มีการพักเงินเอาไว้ในต่างประเทศที่ไม่มีการควบคุมด้วยกฎหมายทางด้านภาษี, การค้าขายเคมีภัณฑ์และยาในต่างประเทศ ซึ่งในประเทศของบริษัทที่ผลิตสิ่งเหล่านี้ได้มีการสั่งห้าม และต่อต้านเรื่องการแข่งขัน อย่างเช่น การผูกขาดในเรื่องราคา.

  2. สถาปนาระบบระเบียบไม่ให้มีการผูกขาดทางธุรกิจข้ามชาติที่เข้มแข็งขึ้นมา เพื่อตีกลับแนวโน้มเกี่ยวกับอำนาจของบริษัทโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว อย่างเช่น การธนาคาร, สื่อ และธุรกิจทางด้านเกษตรกรรม, และการทำนุบำรุงการแข่งขันในตลาดนานาชาติ.

  3. เรียกร้องบรรษัทโลกให้ยึดมั่นต่อมาตรฐานสูงสุดของการคำนึงถึงสิทธิมนุษย์ชนทั้งในระดับนานาชาติ และท้องถิ่น หรือในประเทศของตน, รวมไปถึงเรื่องของการใช้แรงงาน เรื่องของสภาพแวดล้อม เรื่องของสุขภาพ และความปลอดภัยในทุกๆที่ที่บรรษัทเหล่านี้ปฏิบัติการอยู่

  4. ควบคุมตรวจสอบให้เกิดดุลยภาพทางการค้าและการเงินของชาติ และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเจรจา เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกต้อง ที่ซึ่งผลที่ตามมาและการขาดดุลยภาพอย่างถาวรจะถูกค้นพบ

  5. ลดทอนการใช้ทรัพยากรต่อหัวจำนวนมากและความแตกต่างของการบริโภคสิ่งเหล่านี้อย่างสุดๆลงมา และการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เข้าไปในบรรยากาศของประเทศต่างๆ

  6. ขจัดการบิดเบือนตลาดการส่งออก และการให้ความช่วยเหลือหรือการสงเคราะห์การขนส่งนานาชาติลง

  7. สร้างหรือจัดระบบให้มีการลงโทษในกรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่งที่เกี่ยวพันกับการโจมตีทางด้านเศรษฐกิจต่ออีกประเทศหนึ่ง โดยการทุ่มราคาให้ต่ำกว่าต้นทุนที่เป็นจริงมากในการผลิตสินค้า, ใช้ยุทธวิธีในการคุกคามเพื่อกดดันประเทศหนึ่งให้เปิดตลาดเพื่อสินค้าต่างๆ ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นอันตรายหรือไม่จำเป็น หรือทำให้เศรษฐกิจของอีกประเทศหนึ่งเกิดความยุ่งเหยิงขึ้นมาอย่างตั้งใจ โดยการกำหนดห้ามทำการค้าขายฝ่ายเดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกลงโทษโดยสมัชชาทั่วไปของสหประชาชาติ.

  8. ให้สร้างกลไกสำหรับข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น ในฐานะที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการรุกรานของต่างด้าว เช่นเดียวกับ สิ่งที่เรียกว่า Asian longhorn beetle, การคุกคามต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยความเจริญงองกงามขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ของประเทศต่างๆ ที่ซึ่งเกษตรกรรมในบ้านได้ถูกขุดเซาะโดยการนำเข้าที่ได้รับการสงเคราะห์หรือช่วยเหลือ, การคุกคามต่อมนุษย์, เศรษฐกิจ และสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่ถูกกำหนดขึ้นมา โดยการนำเสนออย่างสะเพร่าหรือปราศจากการยั้งคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งจะมีผลต่อการบริโภคและสภาพแวดล้อม, การใช้แรงงานเด็กและแรงงานทาสในการผลิตสินค้าส่งออก, และการข่มขืนกระทำชำเราต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยการปรับราคายาและเทคโนโลยีให้สูงเพื่อหวังผลกำไร และให้จำกัดการนำสิ่งเหล่านี้มาใช้กับคนจนและประเทศยากจนต่างๆ.

อันที่จริงแล้ว ความต้องการในเรื่องกฎระเบียบที่แท้จริงนั้น ต้องการเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งกฎอันนั้น ดังในตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการเมินเฉยหรือถูกปฏิเสธจากองค์การการค้าโลก(WTO).

ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้คือความต้องการที่แท้จริง, อะไรล่ะคือกลไกดังกล่าว ? ในที่นี้ เราจะต้องกล่าวถึงคำถามหรือข้อสงสัยใหญ่ที่ว่า สถาบันอะไรที่ควรจะได้รับการมอบหมายความรับผิดชอบเพื่อควบคุมดูแลเศรษฐกิจโลก. บางคนแนะนำอย่างกว้างๆว่าให้อยู่ในอำนาจหรืออาณัติของ WTO, เพราะมันมีเครื่องมือและอำนาจหน้าที่ที่จะบังคับให้มีการปฏิบัติไปตามกฎ.

อันนี้ดูเหมือนว่าจะมีความเสี่ยงสูง ในการนำเอาเรื่องเหล่านี้ไปให้กับ WTO, เพราะ WTO ไม่มีความเชี่ยวชาญในขอบเขตดังกล่าว เช่น เรื่องของแรงงาน และสิ่งแวดล้อม, อันนี้จะเป็นการมอบหมายหน้าที่อย่างแข็งขันแก่ผู้ที่มีสายตาสั้นและระเบียบวาระการประชุมในทางทำลายล้าง ซึ่งได้เคลื่อนย้ายพวกเราไปไกลจากสังคมโลกมาแล้ว, และบางทีจะไม่มีความเป็นประชาธิปไตยของสถาบันหลักๆของนานาชาติ.

สหประชาชาต ด้วยอำนาจที่กว้างขวางขององค์การและความเชี่ยวชาญ และลักษณะที่เปิดกว้างและโครงสร้างที่เป็นประชาธิปไตยของมันมากกว่า, น่าจะเป็นตัวเลือกที่มีความหวังหรืออนาคตมากกว่าสำหรับเรื่องนี้. พวกเราควรจะชัดเจนด้วยว่า มันไม่ก่อให้เกิดความหมายใดๆหรือพูดง่ายๆว่าไร้สาระ ที่จะต้องมีสถาบันควบคุมโลกที่เป็นอิสระถึงสององค์การ, นั่นคือ UN และ WTO, ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินที่ทับซ้อนกัน.

โลกเราไม่ได้มีความต้องการองค์การหนึ่งใดซึ่งมาคัดค้านหรือประท้วงบรรษัทโลกจากกฎระเบียบต่างๆที่ถูกส่งเสริมสนับสนุนโดยรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลชาติที่ได้รับการเลือกขึ้นมาอย่างเป็นประชาธิปไตย เพื่อปกป้องความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมืองของประเทศนั้นๆ. ด้วยเหตุดังนั้น มันจึงถึงเวลาแล้วที่จะยอมรับถึงการเผชิญหน้า ซึ่งได้สร้างองค์การการค้าโลกขึ้นมา ในฐานะนะที่เป็นความผิดพลาดอันหนึ่ง และมันควรจะถูกรื้อถอนทิ้งไปจึงจะเป็นการดีที่สุด.

ความรับผิดชอบสำหรับการจัดความสัมพันธ์เศรษฐกิจโลกอย่างเหมาะสม ควรอาศัยอยู่กับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งองค์การสหประชาชาติ(ECOSOC – the Economic and Social Council). คณะกรรมการชุดนี้(ECOSOC)มีภาระหน้าที่รับผิดชอบเรียบร้อยอยู่แล้วภายใต้สมัชชาทั่วไปในการทำหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา สุขภาพ และสาระที่เกี่ยวพันกับเรื่องเหล่านี้ให้บรรลุผลสำเร็จ.

สำหรับความไม่สมบูรณ์หรือไร้ประสิทธิภาพที่มีหลักฐานทั้งหมดขององค์การสหประชาชาติ, มันง่ายมากที่จะสร้างอำนาจที่มีความจำเป็นและกระบวนการประชาธิปไตยขึ้นมา ภายในโครงสร้างที่มีอยู่ของ ECOSOC ยิ่งกว่าที่จะสร้างมันขึ้นมาภายใน WTO.

เส้นทางที่มุ่งหน้าสู่สังคมโลกมันยาวไกลและยากลำบาก แต่การประท้วงและขัดขวางที่ Seattle ก็เป็นการเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยความหวังไม่ใช่หรือ ?

--------------------------------------------------

David Koten เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Post-Corporate World: Life After Capitalism และหนังสือเรื่อง When Corporations Rule the World.

Back to Midnight's Home    E-mail : midnightuniv@yahoo.com