P104R.jpg (5637 bytes)

P103R.jpg (39808 bytes)

นับจากเครื่องปั่นด้าย Arkwright’s Spinning Jenny ถึง Bill Gates’ web browser Explorer พวกเราต่างทราบดีว่า เทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่คิดขึ้นมาเหล่านี้ ก็เพื่อไล่ตามความก้าวหน้า สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า การทำอะไรหลายอย่างมากขึ้นและด้วยเวลาที่เร็วกว่านั้น มันดีกว่าการทำอะไรได้น้อยอย่างและด้วยเวลาที่นานกว่า. ความจริงแล้ว ความสามารถในการประหยัดเวลา มักจะเป็นเครื่องหมายคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งได้มาเปลี่ยนแปลงแบบแผนของการผลิตและการการบริโภคมาเมื่อ 200 ปีหลังนี้.

P101R.jpg (12378 bytes)

คำถามต้นบท

1. การพัฒนาไปสู่ความเร็ว ที่เร็วมากกว่าอดีตให้อะไรกับเรา ? 2. ความคิดในอดีตที่ว่าความเร็ว จะนำมาซึ่งการมีเวลามากขึ้น ได้ล่าสัตว์ ได้ตกปลา ได้สนใจในศิลปวัฒนธรรมนั้น มาถึงทุกวันนี้ เป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่ ? 3. การพัฒนาความเร็ว เพียงทำให้เราทำอะไรหลายอย่างได้มาก แต่เราต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง ? 4. เราผลิตสินค้าได้มากขึ้น ดีขึ้น และสินค้าเหล่านี้ได้กระจายไปในสังคมอย่างทั่วถึงหรือไม่   ? 5. และจากข้อที่ 4 เป็นเพราะเหตุใด ? 6. ทำไม ปัจจุบันจึงยังไม่มีความอิ่มตัวทางเศรษฐกิจกัน เป็นเพราะเหตุใด ? 7. เรากำลังมาถึงจุดที่มีทางเลือกมากเกินไปหรือไม่ และเราจะตัดสินใจจะเลือกได้อย่างไร ? 8. อะไรเป็นที่มาของการที่ทำให้เรามีความใจกว้างน้อยลง มีความเมตตากรุณาน้อยลง มีการอุทิศตัวน้อยลง และมีอิสรภาพน้อยลง” ? (หาก นศ. สมาชิก สนใจที่จะตอบคำถามข้างต้น ลองตอบตัวเองก่อนอ่านบทความข้างล่างนี้ แล้วทวนดูหลังจากอ่านว่าตรงกันบ้างหรือไม่)

เรื่องเล่า

นักท่องเที่ยวคนหนึ่งกำลังเพ่งมองด้วยความสนใจไปที่ภาพฉากภูมิประเทศชายหาดอันงดงาม: มันเป็นภาพของชายคนหนึ่ง ที่อยู่ในชุดเสื้อผ้าที่แสนจะธรรมดา กำลังโงกไปโงกมาในเรือตกปลาที่ถูกโยกคลอนด้วยกระแสคลื่นที่ม้วนกลิ้งเข้ามายังหาดทราย. เขากดชั๊ดเตอร์กล้องถ่ายรูปของเขาดังคลิก พลันคนตกปลาผู้นั้นก็ตื่นขึ้นมาทันที. นักท่องเที่ยวยื่นบุหรีให้คนตกปลามวนหนึ่ง และเริ่มต้นพูดคุย “วันนี้อากาศดีนะ มีปลาชุมไปหมดเลย ทำไมคุณถึงยังอยู่ตรงนี้ล่ะ แทนที่จะออกไปจับปลาให้มากกว่านี้ ?” คนตกปลาตอบว่า ”ก็เพราะผมจับมาพอแล้วเช้านี้”. “แต่นั่นคุณคิดเอาเอง” นักท่องเที่ยวกล่าว “คุณน่าจะออกไปวันละ 3-4 เที่ยว แล้วก็เอาปลากลับไปที่บ้านถ้ามันมีมากเกินไป! คุณก็รู้ดีว่าถ้าทำเช่นนี้ทุกๆวัน อะไรจะเกิดขึ้น ?” คนตกปลาสั่นหัว. นักท่องเที่ยวพูดต่อไปว่า “หลังจากนั้นเพียงแค่ปีเดียว คุณก็จะสามารถซื้อเรือยนต์ได้ลำหนึ่ง และหลังจากนั้นสองปีคุณก็ซื้อเรือยนต์เป็นลำที่สองได้ และหลังจากนั้นสามปีคุณก็สามารถมีเรือประมงลำหนึ่งหรือสองลำได้. คิดเข้าซิ! สักวันหนึ่งคุณอาจสามารถมีห้องเย็นสำหรับแช่ปลาขึ้นมา หรือโรงแช่แข็งขนาดใหญ่ และท้ายที่สุด คุณอาจมีเฮลิคอปเตอร์ของคุณเองเพื่อติดตามฝูงปลาและนำทางให้กับกองเรือประมงของคุณเองได้ หรือคุณอาจจะมีรถบรรทุกหลายคันขนส่งปลาไปยังเมืองหลวง, และที่อื่นๆอีกมากมายจิปาถะ…”

“และอะไรต่อไปอีกล่ะ?” คนตกปลาถาม

“และต่อจากนั้น” นักท่องเที่ยวตอบอย่างอิ่มอกอิ่มใจ, “คุณก็สามารถจะนั่งเล่นที่ชายหาดด้วยความรู้สึกสบายอกสบายใจ, พักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือไม่ก็ม่อยหลับหรือสัปหงกไปตามเรื่องตามราวภายใต้แสงอาทิตย์อันอบอุ่น และมองไปยังท้องทะเลอันงดงามไงล่ะ!” คนตกปลาจ้องมองไปที่นักท่องเที่ยวคนนั้น “แต่ นั่นมันไม่ใช่สิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ก่อนที่คุณมาถึงที่นี่หรอกหรือ ?”

เรื่องข้างต้น – เล่าโดยนักเขียนคนหนึ่งที่ชื่อว่า Heinrich Boll – ซึ่งบอกถึงความหวังและความกลัว เกี่ยวกับความร่ำรวยของตนเองของนักท่องเที่ยวคนนี้. นักท่องเที่ยว กำลังมองไปที่คนตกปลาที่เขาเห็นว่าขี้เกียจ ซึ่งกำลังสัปหงกอยู่บนเรือลำเล็กๆ ภายใต้แสดงแดดอันอบอุ่นของดวงอาทิตย์, แล้วระลึกขึ้นมาถึงอดีตที่น่ากลัวของตัวเขาเองขึ้นมาได้ ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยกลายไปเป็นคนยากจน เป็นเพราะว่าเขาถูกโกง ซึ่งตอนนั้นเขาเองก็ไม่มีทางเลือก. ในเวลาเดียวกันนั้น เขาก็ได้ฉายให้เห็นสัญชาตญานที่เป็นความหวังเกี่ยวกับความร่ำรวยที่มีเหนือความยากจน.

โดยไม่ต้องคิดขึ้นมาใหม่อีกเป็นคำรบที่สอง เขาได้ลากเส้นแผนที่ซึ่งนำไปสู่การผลิดอกออกผลที่ขยายตัวออกไป. และในตอนจบ, ก็สามารถยืนหยัดรักษาคำมั่นสัญญาอันหนึ่งเอาไว้ได้ ซึ่งได้รับการทึกทักเอาเองว่า มันได้ให้ความหมายต่อความพยายามเหล่านี้ทั้งหมดของเขา: นั่นคือ ได้บรรลุถึงอิสรภาพจากการใช้แรงงานและเป็นนายเหนือเวลานั่นเอง.

สิ่งที่ทำให้เกร็ดเรื่องราวอันนี้เป็นสิ่งที่น่าฉงนก็คือ โครงสร้างที่เป็นรูปวงกลมของเรื่องนั่นเอง(the circular structure of the story); คนรวยพยายามมุ่งมั่นที่จะมาถึงที่ที่คนจนปักหลักอยู่กับที่ของตนอยู่แล้ว. ดูเหมือนว่า มันจะคล้ายๆกับฟังดูแล้วไม่สมเหตุสมผลแต่จริง ซึ่งได้สร้างคำถามยุ่งๆขึ้นมาชุดหนึ่งสำหรับความร่ำรวย. ทำไม ความเจ็บปวดและความพยายามเกี่ยวกับการพัฒนาทั้งหมดซึ่งคนรวยได้รับ จึงเป็นเพียงสิ่งที่คนจนดูเหมือนว่ามีอยู่แล้วตลอดเวลา ? หรือ ที่แย่ไปกว่านั้น คนที่ร่ำรวยทำอย่างนั้นกันทำไม ทั้งๆที่ความเร่งรีบและความกุลีกุจอทั้งหมด ปรากฎว่ามันไม่เคยเลยที่จะนำไปสู่ภาวะแห่งความสนุกสนานหรือสำราญใจสำหรับคนจนเลย ? ถ้าหากว่าเรื่องเล่าอันนี้เกี่ยวกับการพัฒนาเป็นที่มาของความร่ำรวยในทรัพย์สิน เป็นที่มาของความร่ำรวยเวลา ถ้าเป็นอย่างนั้นล่ะก็ สังคมที่ร่ำรวยทั้งหลายในทุกวันนี้ โดยหลักฐานและวัตถุพยานที่เห็นกัน ไม่เคยเลยที่จะไปถึงจุดนั้น การดำเนินการไปดังกล่าวทั้งหมดคงจะพลาดเป้า. ที่เป็นเช่นนี้ มันมีอะไรผิดพลาดอย่างนั้นหรือ ?

ในความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องของเวลา

ดังที่หมายเหตุกันไว้บ่อยๆ การประหยัดเวลา ถือว่าเป็นแกนหลักอันหนึ่งของการกระทำทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน. นับจากเครื่องปั่นด้าย Arkwright’s Spinning Jenny ถึง Bill Gates’ web browser Explorer พวกเราต่างทราบดีว่า เทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในการพัฒนาเหล่านี้ ก็เพื่อไล่ตามความก้าวหน้า สิ่งเหล่านี้ได้คิดขึ้นมาบนความเชื่อที่ว่า การทำอะไรหลายอย่างมากขึ้นและด้วยเวลาที่เร็วกว่านั้น มันดีกว่าการทำอะไรได้น้อยอย่างและด้วยเวลาที่นานกว่า. ความจริงแล้ว ความสามารถในการประหยัดเวลา มักจะเป็นเครื่องหมายคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งได้มาเปลี่ยนแปลงแบบแผนของผลิตผลและการการบริโภคมาเมื่อ 200 ปีหลังนี้.

นับจากจุดเริ่มต้นมาเลยทีเดียว. สายตาที่ยาวไกลของผู้คน(ไม่ว่าทั้งชายและหญิง) ต่างมองเห็นความยิ่งใหญ่และอิทธิพลครอบงำ เกี่ยวกับความคิดเรื่องอิสรภาพ-เสรีภาพ ซึ่งตระหง่านขึ้นจากเส้นขอบฟ้า มันเป็นที่ที่ความเหน็ดเหนื่อยและการตรากตรำทำงานหนักถึงจุดสิ้นสุดลงแล้ว มันเป็นการเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความสามารถของผู้คนที่จะผูกพันกับกิจกรรมต่างๆที่พวกเขาเองชื่นชอบ อย่างเช่น การออกไปล่าสัตว์ในยามเช้า การไปตกปลาในยามบ่าย และการขี่ม้าในยามเย็น การมีเวลาได้วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมหรืองานเขียนต่างๆหลังอาหารเย็นหรือยามค่ำคืน. วันคืนแห่งจินตนาการอันบรรเจิดนี้เป็นอุดมคติอันหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เพียงเป็นของคนหนุ่มอย่าง Karl Marx เท่านั้น. แต่อะไรล่ะที่มันเกิดขึ้นกับแนวคิดแบบยูโธเปียอันนี้ ? ที่ไหนล่ะ ที่เวลาทั้งหมดเคลื่อนไป ?

การใช้ประโยชน์จากรถยนต์สามารถมารับใช้เรื่องเหล่านี้ได้อย่างเหมาะเหม็ง. นับจากเริ่มแรกเลยทีเดียว รถยนต์ได้รับการต้อนในฐานะที่เป็นจุดสุดยอดของการประหยัดเวลา ทำให้เวลาสั้นลงดุจดั่งกับการเปลี่ยนฉากละคร โดยการไปสู่เป้าหมายปลายทางได้ตามที่ใจปรารถนา. แต่ในทางตรงข้ามกับความเชื่อของผู้คน คนขับรถไม่ได้ใช้เวลาน้อยลงยิ่งไปกว่าคนที่ไม่ได้ขับรถเลย ในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง. พวกเขาเพียงแต่เดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางที่ไกลกว่าต่างๆ. อำนาจของความเร็วได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นระยะทางหรือกิโลเมตรที่มากกว่าบนถนน. และเวลาที่ประหยัดได้นั้น กลับได้รับการสร้างขึ้นมาอีกครั้งกลายไปเป็นเรื่องของระยะทางที่ไกลกว่า. ผลที่ตามมาก็คือ พลเมืองเยอรมันถัวเฉลี่ยในทุกวันนี้ เดินทางคนละ 15,000 ก.ม.ต่อปี ซึ่งผิดไปจากปี ค.ศ.1950 ที่พวกเขาเดินทางคนละ 2000 ก.ม.ต่อปีเท่านั้น.

ถ้าหากมองกันอย่างกว้างๆ โดยตัดข้ามส่วนต่างๆสลับกันไป – จากการขนส่งไปสู่การสื่อสาร, จากผลผลิตไปสู่ความบันเทิง – เวลาที่ประหยัดลงไปได้ กลับถูกเปลี่ยนไปสู่ระยะทางที่ยาวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการนัดหมายได้มากขึ้น ทำให้ผลิตผลงานออกมาได้มากขึ้น และผู้คนมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น. ชั่วไมงที่ได้รับการประหยัดได้ถูกกินหรือใช้ไปโดยการเจริญเติบโตใหม่ๆ. และหลังจากนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง การเพิ่มขยายอันนี้ก็ได้ให้กำเนิดแรงกดดันอันใหม่ขึ้นมาโดยสิ่งประดิษฐ์ของการประหยัดเวลานั่นเอง – อันนี้มันเป็นการเริ่มต้นขึ้นของวงจรที่หมุนวนกลับมาอีกครั้ง.

การได้มาซึ่งผลผลิตจำนวนมากมายมหาศาลกองเท่ากับยักษ์ ไม่ได้นำเราไปสู่งานที่ต้องทำน้อยลงและมีเวลามากขึ้นแต่อย่างใด. ในทางตรงข้าม ส่วนใหญ่แล้ว พวกเราได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปสู่เส้นทางใหม่ของการผลิตและสินค้าที่ทำๆกันออกมา. มันมีหลักฐานที่ว่า ทุกๆคนพยายามบากบั่นทำงาน ตามส่วนของชั่วโมงปฏิบัติงานตามปกติทุกวันนั้น ก็เพื่อต้องการที่จะรักษาระดับของผลผลิตที่ออกมาได้อย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลานั่นเอง – แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายและเราอยากจะใช้เวลาให้น้อยลง เพื่อจะได้ไปทำในสิ่งที่ตนปรารถนามากขึ้น แต่เราทั้งหลายก็ทำไม่ได้อยู่ดี. จริงๆแล้ว มันเป็นการเพิ่มขึ้นของความไม่ผ่อนปรนระหว่างเวลาและผลผลิตที่จะต้องทำให้ได้ตามจำนวนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง. ดังนั้นความคิดที่เป็นยูโธเปียในตอนแรก มาถึงตรงนี้มันก็ได้กลายไปเป็นยูโธเปียของความมั่นคงและความร่ำรวย ซึ่งได้ไปตัดรอนยูโธเปียของความเป็นอิสระที่ทุกคนคาดหวังกันไว้ลงจนหมดสิ้น.

ทำไมมันจึงไม่เคยพอ ?

คนตกปลาในเรื่องที่เล่ามาตั้งแต่ต้น เป็นเรื่องที่ทำให้เห็นความน่าประหลาดใจเกี่ยวกับแรงกระตุ้นที่ไม่เคยสิ้นสุดในสังคมแห่งความร่ำรวย. สุดท้ายแล้ว คนรวยก็ไม่ได้มีอะไรต่างไปจากคนที่ยากจนเลย กล่าวคือ เขาก็ได้มาถึงซึ่งความพึงพอใจด้วยการนั่งตกปลาในตอนเช้าและสัปหงกในยามบ่าย นั่นคือผลตอบแทนแห่งความพยายามบากบั่นเพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เหมือนกับที่คนจนๆกำลังทำอยู่.

ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ได้รับการทดสอบกันมาแล้ว: John Maynard Keynes, หนึ่งในนักคิดที่ยิ่งใหญ่ทางด้านเศรษฐศาสตร์ในคริสตศตวรรษที่ 20 รู้สึกประหลาดใจว่า การประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจอย่างมากนั้น มันไม่ได้นำพาไปสู่จุดของความอิ่มตัวแต่ประการใด. ในบทความเรื่อง“Essays in Persuasion”ของเขานั้น ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า - สิ่งจำเป็นซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เกี่ยวกับการผลิต อาจสูญเสียนัยะสำคัญไปภายใต้เงื่อนไขของความร่ำรวย, นั่นคือ ความอุดมสมบูรณ์หรือภาวะที่มีอย่างล้นเหลือนั้น แทนที่โอกาสเช่นนี้จะทำให้เกิดการแบ่งปันและกระจายผลผลิตไปอย่างทั่วถึง กลับกลายเป็นว่า เรื่องนี้มีความสำคัญน้อยลงไปทุกที และไม่ได้มีการแบ่งสรรทรัพย์สินจำนวนมากกันอย่างเหมาะสม. สังคมที่ร่ำรวย ยังคงล้มเหลวที่จะดำเนินรอยตามความสอดคล้องกับความคาดหวังอันนั้น. พวกเขากลับเอาเบ็ดไปเกี่ยวเอาหลักการแห่งความไม่รู้จักพอขึ้นมา ทำให้พวกเขาไม่รู้จักอิ่ม. อันนี้ทำให้เราต้องมาตั้งคำถามกันว่า ทำไมพวกเขาจึงเมินเฉยต่อแนวคิดเกี่ยวกับความพอเพียงกันเล่า ?

ให้เรามาลองพิจารณาเรื่องต่อไปนี้กัน... สิ่งที่เป็นแก่นสารในสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบันโดยทั่วไปคือ”อำนาจเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับสินค้าและการบริการ” แต่อันนี้มันก็ยังมีสาระน้อยกว่าการที่มันทำหน้าที่เป็นพาหะของการแสดงออก. นั่นคือสิ่งที่สินค้าพูด ไม่ใช่สิ่งที่สินค้าทำ. ในสังคมสมัยใหม่ สินค้าคือเครื่องมือการสื่อสาร. มันสถาปนาระบบของ”เครื่องหมาย”โดยผ่านผู้ซื้อที่สร้างถ้อยแถลงเกี่ยวกับตัวเขาเองหรือตัวเธอเองออกมา. ในขณะที่วันเวลาเก่าๆ สินค้าได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะทางสังคม, แต่ในทุกวันนี้มันบอกถึงความจงรักภักดีต่อวิถีชีวิตหรือสไตล์การใช้ชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะสไตล์หนึ่ง.

จนถึงบัดนี้ ผลผลิตเป็นจำนวนมากถูกทำให้สมบูรณ์และไม่สามารถที่จะพัฒนาไปยิ่งกว่านั้นได้อีกแล้ว; ผู้ซื้อใหม่ๆอาจพบว่า สินค้าเหล่านี้มันเป็นต้นทุนหรือมีความสำคัญทางสัญลักษณ์มากขึ้น. รถยนต์นั้นไม่อาจที่จะเร็วกว่านี้ได้อีกแล้ว หรือสะดวกสบายไปยิ่งกว่านี้ ดังนั้นมันจึงถูกออกแบบขึ้นมาให้เป็นเรื่องของการสร้างความฉงนฉงายและความน่าประหลาดใจทางด้านเทคโนโลยี. นาฬิกาข้อมือก็ไม่อาจที่จะแสดงเวลาได้เที่ยงตรงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว ดังนั้นบทบาทใหม่ของมันจึงถูกทำขึ้นเพื่อมารับหน้าที่ในด้านความสามารถทางด้านการกีฬา เมื่อมันกลายเป็นนาฬิกาจับเวลา หรือกลายมาเป็นเป็นนาฬิกาดำน้ำ. ส่วนโทรทัศน์ ภาพของมันไม่อาจที่จะคมชัดไปกว่านี้ได้อีกแล้ว ดังนั้นมันจึงถูกเปลี่ยนไปทำหน้าที่จำลองโรงภาพยนตร์มาไว้ในบ้าน มีการผลิตโทรทัศน์แบบจอกว้าง มีการปรับปรุงทางด้านเสียง เพื่อให้ผลดุจเดียวกับที่เราได้ชมกันในโรงภาพยนตร์แทน. บรรดานักออกแบบและนักโฆษณาทั้งหลายต่างนำเสนอความตื่นเต้นเร้าใจและเอกลักษณ์ใหม่ๆของประดิษฐกรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ประโยชน์ของสินค้าได้รับการเติมแต่งกันขึ้นมาใหม่ๆอยู่เสมอ.

ในบริบทอันนั้น ความสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริโภคและตัวสินค้าได้รับการก่อรูปขึ้นมา ส่วนใหญ่แล้วโดยจินตนาการ, ซึ่งเป็นสิ่งที่ดัดแปลงได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด. ความรู้สึกและความหมายเป็นได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ไม่คงที่; ลักษณะรูปธรรมที่ดัดแปลงได้ง่ายอันนี้ ทำให้มันล้าสมัยได้รวดเร็วเช่นกัน - ซึ่งความจริง เป็นความจงใจให้มันล้าสมัย เพื่อผลให้เกิดการบริโภคอยู่ตลอดเวลา - และสิ่งเหล่านี้สามารถที่จะถูกนำมาตักตวงผลประโยชน์โดยบรรดานักออกแบบทั้งหลายด้วยวิธีการอันหลากหลายไม่มีสิ้นสุด. ตามความเป็นจริงแล้ว จินตนาการเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีวันหมดสำหรับการธำรงรักษาการเจริญเติบโตของสินค้าและบริการ. และด้วยเหตุผลอันนั้น ความคาดหวังที่ว่า สังคมที่ร่ำรวย วันหนึ่งน่าจะมาถึงระดับหนึ่งของความอิ่มตัว ก็จะไม่มีวันมาถึงได้: เมื่อสินค้าได้กลายเป็นสัญลักษณ์ต่างๆทางวัฒนธรรมไปแล้ว ดังนั้น มันจึงไม่มีจุดจบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ.

ความกระเหม็ดกระแหม่ และการอยู่ดีกินดี

พ้นไปจากธรณีประตูหรือ ณ จุดเริ่มต้นนี้ สิ่งต่างๆได้เริ่มกลายเป็นหัวขโมยทางด้านเวลาไป. สินค้าต่างๆจะต้องได้รับการเลือก ซื้อ จัดการ ถูกใช้ ผ่านประสบการณ์ บำรุงรักษา ทำความสะอาดเสมอ ปัดฝุ่น ซ่อมแซม เก็บเอาไว้ และทำลาย. นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการนัดพบที่ผู้คนทั้งหลายต่างปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มีการนัดหมายล่วงหน้ากัน ตกลงกัน จดใส่ลงไปในบันทึกประจำวัน รักษาเอาไว้ กำหนด และทำตาม. แม้กระทั่งวัตถุที่มีความงามส่วนใหญ่และสิ่งที่มีคุณค่าเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ต่างๆก็ยังมาแทะเล็มหรือมากัดกินเวลาของเราไปด้วย

ความเป็นไปได้มากๆ - นั่นคือ, สินค้า การบริการ เหตุการณ์ต่างๆ – มันเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนในสังคมที่มีความร่ำรวย, แต่วันและเวลาในวิถีปกติอย่างเดิมๆ วันหนึ่งๆก็ยังคงมี 24 ชั่วโมงเหมือนก่อน. ความขาดแคลนของเวลายังคงเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจเอาชนะได้อย่างต่อเนื่อง มันเป็นเหมือนเทพธิดาแห่งความพยาบาทจองเวรต่อความมั่งคั่งร่ำรวย. คนรวยๆอาจจะมีสิ่งต่างๆเป็นจำนวนมาก แต่คนเหล่านี้ก็ยากจนเวลา. ในข้อเท็จจริง ในสังคมซึ่งมีทางเลือกอย่างหลากหลาย ผู้คนมิได้เป็นทุกข์จากการขาดแคลน แต่ต้องเป็นทุกข์ทรมานจากการที่มีโอกาสมากเกินไป. ขณะที่ความอยู่ดีกินดีได้ถูกคุกคามโดยความขาดแคลนเรื่องของเวลาเป็นประการแรก, ประการที่สอง มันได้ถูกคุกคามโดยความสับสนเกี่ยวกับเป้าหมาย. การแพร่พันธุ์ของทางเลือกซึ่งขยายตัวมากขึ้น มันได้ทำให้เกิดความยุ่งยากเพิ่มขึ้นเช่นกัน ที่จะรู้ว่าเราต้องการอะไร และต้องตัดสินว่าเราไม่ต้องการอะไร ? และจะต้องทะนุถนอมสิ่งที่เรามีอยู่.

ความอยู่ดีกินดีของมนุษย์มีอยู่สองมิติ: นั่นคือ เรื่องของวัตถุและเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุ. ทุกๆคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ซื้อวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารและนำมาเตรียมสำหรับอาหารมื้อเย็น เขาจะมีความพึงพอใจทางวัตถุ นั่นคืออาหารที่จะใส่เข้าไปในท้องของเขา และความพึงพอใจที่ไม่ใช่เรื่องของวัตถุสำหรับอาหารมื้อเย็น ซึ่งก็คือการได้ปรุงอาหารอย่างสนุกสนานด้วยการทำอาหารตามเมนูที่ตนต้องการโดยเฉพาะ.

ความพึงพอใจที่ไม่ใช่วัตถุอันนี้ต้องการความเอาใจใส่ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสัมพันธ์กับเรื่องของเวลา. คุณค่าที่สมบูรณ์ของสินค้าและบริการ อาจประสบได้เมื่อพวกมันได้ถูกให้ความเอาใจใส่: นั่นคือ พวกมันจะต้องถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม, ให้ความสนุกเพลิดเพลินเพียงพอ และต้องฝึกฝนอย่างระมัดระวัง. การที่เรามีสิ่งต่างๆมากมายจนเกินไปทำให้เวลาสำหรับความพึงพอใจกับสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องของวัตถุหดหายไป; การมีทางเลือกมากจนเกินไป ได้ไปทำลายความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ให้ลดน้อยถอยลง.

อันที่จริง บ่อยทีเดียว มันเป็นเรื่องของการขาดความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของเวลา เรื่องของเวลาจึงถือได้ว่าเป็นแก่นแกนของปัญหา. ศิลปะของการดำรงชีวิตต้องการความรู้อันหนึ่งเกี่ยวกับมาตรการที่ถูกต้อง. มีคนอยู่จำนวนน้อยที่สามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ได้. สังคมบริโภคยุคใหม่ ยังคงใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายในความมั่งคั่งของเวลา(ที่มีเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยี). ในยุคของทางเลือกที่มีอย่างพรั่งพรูนี้ ความสามารถในการโฟกัส ซึ่งแสดงนัยะถึงอำนาจที่จะกล่าวคำว่า”ไม่” กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างสรรค์ชีวิตที่ร่ำรวยมากขึ้น.

โดยไม่มีความสามารถดังกล่าวเกี่ยวกับการจัดสรรเรื่องของเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำพูดของนักเขียนบทละคร don von Horvarth อาจกลายเป็นการขออภัยที่เป็นสากล: นั่นคือ “ข้าพเจ้าได้กลายไปเป็นอีกคนหนึ่งอย่างสิ้นเชิงแล้ว; มันเป็นเพียงสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่เคยหลบเลี่ยงที่จะแสดงมันออกมา... มันดำเนินไปโดยไม่จำต้องพูดว่า การขาดเสียซึ่งความร่ำรวยของเวลา หรือการไม่มีเวลาให้กับตัวเองและผู้อื่นอันนี้ เป็นที่มาของการที่ทำให้เรามีความใจกว้างน้อยลง มีความเมตตากรุณาน้อยลง มีการอุทิศตัวน้อยลง และมีอิสรภาพน้อยลง” – นี่คือความยากจนของคนสมัยใหม่ ซึ่งคนตกปลาเข้าใจมาตั้งแต่ต้น และนักท่องเที่ยวคนนั้นรับรู้เกี่ยวกับมันด้วยความไม่เต็มใจ.

Wolfgang Sachs is presently with the Wupertal Institute for Climate, Environment and Energy, in Germany. His most recent book is Planet Dialectics: Explorations in Environment and Development, to be published by Zed Books, London, in November 1999. (Wolfgang will teach at Schumacher College and give a Schumacher Lecture in Bristol, in October 2000).

P102.jpg (18353 bytes)

คำถามท้ายบท

วันนี้ พรุ่งนี้ และวันต่อไป เราจะใช้ความเร็วเท่าไหร่, จะทำอะไรบ้าง, และจะทำให้ดีที่สุดได้อย่างไร ?

  Back to Midnight's Home   email / midnightuniv@yahoo.com