Breport2.jpg (37576 bytes)

Brepert3.jpg (10239 bytes)

รายงานในรอบสัปดาห์ : midnight's weekly report

ประเทศไทยยังไม่ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ / ตัวเลขปีงบประมาณ 44 มีแต่การใช้หนี้

-รายการกรองสถานการณ์เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 26 มิ.ย.43 โดยนายจิรายุทธ วสุรัตน์ (อดีตวิฒิสมาชิก) และ รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล(เศรษฐศษสตร์ จุฬาฯ)เปิดเผยในรายการ"จับตางบประมาณปี 44"ว่า หนี้ที่กระทรวงการคลังแจ้งว่ามีอยู่ 2.8 ล้านๆบาทเมื่อเช้านี้นั้น อันที่จริงรวมหนี้แผ่นดินทั้งหมด -ทั้งหนี้สาธารณะ หนี้กองทุนฟื้นฟู หนี้ธนาคารชาติ และอื่นๆรวมแล้ว- ตอนนี้เรามีหนี้ของแผ่นดินอยู่ 4.26 ล้านๆบาท / ขณะที่เศรษฐกิจไทยทั้งหมดอยู่ 6 ล้านๆกว่าบาท (เท่ากับเรามีหนี้ถึง เกือบ 80 %)

-ต่อเรื่องการพยายามจะจัดทำงบประมาณปี 44 โดยที่ฝ่ายค้านมีทีท่าจะลาออกนั้น. มีการตั้งคำถามในรายการนี้ว่า เป็นการถูกต้องหรือที่รัฐบาลชุดนี้จะเป็นผู้ที่ทำงบประมาณให้กับรัฐบาลชุดต่อไป เพราะใกล้จะสิ้นสุดเทอมของกาบริหารของทีมรัฐบาลชุดนี้แล้วในเดือน พย. ดังนั้นจะทราบได้อย่างไรว่า ตนเองจะกลับมาเป็นรัฐบาลอีก หรือรัฐบาลชุดต่อไปจะมีนโยบายในการบริหารประเทศอย่างไร จะใช้งบประมาณไปในทิศทางไหน (ที่ถูกต้องคือ ไม่ควรเร่งทำงบประมาณปี 44 เพราะตนเองไม่ได้เป็นรัฐบาลที่อยู่กลางเทอม ดังนั้นจึงควรให้เกียรติรัฐบาลชุดต่อไปเป็นผู้ที่ดำเนินการเรื่องนี้) ส่วนที่อ้างว่าจะทำให้มีการติดขัดในเรื่องบประมาณและค่าใช้จ่ายในปีถัดไป ความจริงเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว และธรรมเนียมปฏิบัติก็คือ ให้ใช้งบประมาณของไตรมาสแรกของปีก่อนทดแทนไปก่อนได้.

-ตัวเลขที่น่าสนใจยิ่งขึ้นก็คือ ปีนี้มีการตั้งงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็น 9 แสนล้านกว่าบาท (ปีที่แล้ว 8 แสนล้านกว่าบาท) เป็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นประมาณ 5.8 % จากตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 5.8% นี้คือค่าเฉลี่ยที่ทุกกระทรวงควรจะได้รับ หรือไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้นเท่าไร แต่เมื่อแกะเอางบประมาณออกมาดู จะเห็นว่า กระทรวงการคลังได้เพิ่มถึง 26 % กว่า ในขณะที่งบประมาณที่ได้น้อยที่สุดและลดลงด้วยในปีถัดไปคือ ทบวงมหาวิทยาลัย -8%. จะเห็นว่าตัวเลขเช่นนี้น่าสงสัยว่าจะให้กระทรวงการคลังไปใช้หนี้ ใช่หรือไม่. เช่นนี้แล้ว การแถลงข่าวเมื่อเช้านี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว มันก็เลยยิ่งน่าสงสัยขึ้นไปอีก

-ความจริงเรื่องการอ้างตัวเลขว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวนั้น อันที่จริงตัวเลขที่อ้างว่ามีการขยายตัวด้านการส่งออก 5.2% นั้น เป็นบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย สินค้าที่ส่งออกกเป็นพวกสินค้าอิเล็คทรอนิค อะไหล่เครื่องจักร และอื่นๆ. การเพิ่มขึ้นของการส่งออกนี้จึงไม่ได้มีผลต่อการไหลลงมาของเม็ดเงินแต่ประการใด เงินจำนวนนี้ไม่ได้ตกลงมาถึงชาวบ้านหรือเกษตรกรแต่อย่างใด

-ความจริงอีกอย่างหนึ่งที่ว่าเศรษฐกิจของประเทศยังไม่ฟื้นตัวก็คือ สถาบันทางการเงินและธนาคารในประเทศยังไม่ปล่อยกู้เหมือนเดิม ธุริกจขนาดกลางและขนาดเล็กยังเงียบเชียบเหมือนดังเดิม เกือบจะไม่มีการขยับตัวแต่อย่างใด

-ที่นี้มาดูถึงเงินคงคลัง ตอนที่รัฐบาลสมัยนี้เข้ามาบริหารประเทศมีเงินคงคลังอยู่ราว แสนกว่าล้านบาท แต่ ณ วันนี้มีเงินคงคลังเหลืออยู่เพียง 3 หมื่นกว่าล้านบาท เงินคงคลังที่เหลือน้อยอย่างนี้บอกอะไรกับเรา / อันนี้ต้องย้อนไปดูที่งบประมาณปี 44 ที่ตั้งเป้าไว้ 9 แสนกว่าล้านบาทมาเป็นตัวบอกความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย นั่นคือ ตามหลักเศรษฐศาสตร์นั้น เงินคงคลังควรอยู่ที่ตัวเลขเท่าได้จึงจะบอกถึงความมั่นคง. วิธีทำความเข้าใจง่ายๆก็คือ ให้เอาเงินงบประมาณปี 44 มาหารด้วย 12 เดือน จะได้ตัวเลขค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนตกราว 7 หมื่นกว่าล้านบาท. แต่เรามีเงินคงคลังเหลืออยู่เพียง 3 หมื่นกว่าล้านบาท นั่นย่อมหมายถึง เรามีเงินใช้จ่ายเพียงแค่ครึ่งเดือนเท่านั้น. ตามมาตรฐานขั้นต่ำในทางเศรษฐศาสตร์ เราจะต้องมีเงินคงคลังขั้นต่ำอย่างน้อยเท่ากับ 3 เดือน หรือ 2.1 แสนล้านบาทถึงจะเรียกว่าพอมีเสถียรภาพ แต่ในสมัยรัฐบาลเปรม มีนโยบายออกมาชัดเลยว่าต้องมีเงินคงคลังเหลืออยู่อย่างน้อย 6 เดือนถึงจะเรียกได้ว่าปลอดภัย ซึ่งอันนี้เป็นหลักสากลในเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาค

ทั้งหมดนี้เก็บความมาจากรายการกรองสถานการณ์ แล้วนำมาเรียบเรียง หากรัฐบาลต้องการแก้ต่างกรณีนี้ ก็ควรมาออกรายการดังกล่าวในวันถัดไปเพื่อมาชี้แจงได้ เพื่อเราประชาชนจะได้รับฟังข้อมูลทั้งสองฝ่าย หรืออาจจะมาพบกันบนเวทีสาธารณะเพื่อถกกันถึงเรื่องของเศรษฐกิจไทยว่าพ้นวิกฤตแล้วหรือยัง ?

 

Back to Home Go to Webboard  Member Page