Midnight's Raw Creation
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเราใช้เหตุผลก็ดี
แต่กลางคืนเราใช้จินตนาการดีกว่า

รสนิยมทางศิลปะแบบที่เป็นทางการของโลกทุกวันนี้ ได้ถูกครอบงำให้มีความรู้สึกกับสุนทรียรสแบบ Eurocentric
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราถูกครอบงำโดยมาตรฐานความงามแบบยุโรปนั่นเอง และที่แคบยิ่งไปกว่านั้นก็คือ
ต้องเป็นรสชาติที่นักทฤษฎี นักวิชาการ และนักวิจารณ์ ที่เป็นคนชั้นหัวกระทิ ตะวันตกเป็นผู้บอกกับเราด้วย

บทความนี้ กำลังจะช่วยให้เราขยายขอบเขตของการสัมผัสรับรู้ให้กว้างขวางออกไป
ในรสชาติของศิลปะที่ดิบเถื่อน หรืออนารยะ ซึ่งสด แรง และเร้าอารมณ์

เมื่อราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมาถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นั้น
ศิลปินและนักวิจารณ์หลายคน
ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ
ที่อยู่นอกเขตดินแดนตะวันตก
หลายคนประทับใจกับศิลปะแอฟริกัน
อีกหลายคนมีความรู้สึกกับศิลปะของหมู่เกาะ
ในมหาสมุทรต่างๆ
นอกจากนี้ ศิลปินบางคน
มองดูผลงานของเด็กๆด้วยความริษยา
และอีกหลายๆคนชื่นชมกับงานศิลปะบำบัด
ซึ่งทำขึ้นมาจากผู้ป่วยทางจิต มันเกิดอะไรขึ้นกับความวุ่นวายเหล่านี้

ในช่วงที่เรายังเป็นเด็กอยู่นั้น พวกเราทั้งหลายในโลกต่างก็เป็นศิลปินด้วยกันทั้งสิ้น. แต่เมื่อเราเติบโตขึ้นมา แรงผลักดันในทางสร้างสรรค์ภายในของเรา มันกลับค่อยๆจางหายไป กระนั้นก็ตาม ศิลปะของคนนอก หรือ outsider art ได้พิสูจน์แล้ว
ถึงการมีอยู่เกี่ยวกับพลังในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ไม่มีวันจบสิ้น.

ความจริงแล้ว ภายในตัวของพวกเราแต่ละคนต่างก็มีสะเก็ดหรือประกายสุกสว่างอันนั้น ซึ่งมันคือประกายแห่งความเป็นสากลที่พวกเราต่างมีร่วมกันในเชิงสร้างสรรค์ของมนุษย์. สิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกขอบคุณ ต่อประกายบางอย่างที่ไม่เคยดับ, ตัวของมันเองไม่เคยถูกบดขยี้ลงไปโดยบรรทัดฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของความเป็นผู้ใหญ่และเงื่อนไขทางวัฒนธรรมต่างๆ. บรรดานักสร้างสรรค์โดยสหัชญาน หรือการหยั่งรู้(intuition)เหล่านี้ คือบุคคลที่บทความเรื่อง"ดิบงามในงานสร้างสรรค์…" เป็นหนี้และรู้สึกขอบคุณในการมีอยู่ของ"ศิลปะของคนนอก".

ในขณะที่การนำเสนองานศิลปะในแบบขนบประเพณี ต้องพานพบกับการดูหมิ่นเหยีดหยามและความไม่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ดังที่พบเห็นกันในปัจจุบัน, ในเวลาเดียวกันนั้นก็มีการค้นพบว่า มันมีบางสิ่งบางอย่างอยู่ข้างนอกนั่น บางสิ่งซึ่งเป็นศิลปะที่แท้ ซึ่งมาปะทะกับเราในฐานะที่เป็นการเปิดเผยตัวที่มีชีวิตชีวา สดและใหม่, แรงและดิบเถื่อน. เมื่อเราได้ล้วงลึกเข้าไป กลับต้องพบว่า, มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ถูกเอาชนะหรือต้องถูกทำให้พ่ายแพ้ต่อพลังอำนาจและความประหลาดใจเกี่ยวกับการแสดงออกอันกล้าหาญของผู้คนเหล่านั้น ซึ่งเป็นของจริงอย่างไม่มีการเสแสร้ง

เส้นทางที่นำไปสู่การยอมรับเกี่ยวกับศิลปะของคนนอกนั้น มันเป็นเส้นทางสายที่ยาวไกลและยากลำบากสายหนึ่ง เกือบๆจะครบรอบแห่งศตวรรษนี้พอดี มันจึงได้รับการยอมรับ. ไม่มีใครล่วงรู้สิ่งที่เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้มาก่อน ทั้งนี้เพราะทุกคนต่างมองไม่เห็นคุณค่า ด้วยเหตุนี้ บางครั้งมันจึงไดสูญไปหรือไม่ก็ถูกทำลายลงอย่างรู้เท่าไม่ถึงกาล. ศิลปะของคนนอกได้ถูกเยาะเย้ยถากถางมานานปี และไม่มีใครให้ความสนใจ แต่กระนั้นก็ตาม ปัจจุบัน, แน่นอน มันเป็นช่วงเวลาที่มาถึงแล้วที่ศิลปะเหล่านี้จะเข้าครองพื้นที่อย่างมั่นคง ในโลกของศิลปะ.

ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ผ่านมา ศิลปะของคนนอก ได้ยุติการเป็นที่สนใจกันอย่างลับๆ หรือเป็นการส่วนตัวสำหรับคนที่ติดตามผลงานดังกล่าวเหล่านี้เพียงไม่กี่คนลง. ศิลปะของคนนอก มันมีพัฒนาการอันน่าตื่นเต้นมากในศิลปกรรมร่วมสมัยซึ่งพวกเราได้พบเห็นกันมาหลายปีแล้ว, ซึ่งพัฒนาการอันน่าเร้าใจนี้ได้มีผลสะท้อนกลับและมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อวงการศิลปะ. และนอกจากนี้ มันได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีคิดของเราทั้งหมด เกี่ยวกับพัฒนาการของศิลปะในยุคสมัยของเรา และแนวความคิดเกี่ยวกับความสมบูรณ์
และความมีเหตุมีผลเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านศิลปะของพวกเราด้วย

ศิลปะนอกกระแส : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรียบเรียงจากต้นฉบับ Raw Creation : Outsider Art and Beyond
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
ความยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4

อัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในยุคสมัยใหม่ - อัตราเร่งอันหนึ่งซึ่งได้ก่อให้เกิดเส้นทางการเดินทางและการท่องเที่ยวอย่างมากมาย การเจริญเติบโตของตลาดข้ามชาติ และเหนือสิ่งอื่นใด การกระตุ้นของสื่อเทคโนโลยี ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงให้ศตวรรษที่ผ่านมาของเรา เป็นยุคแห่งภาพลักษณ์ของ"ความเร่งรีบ"

สำหรับเรา, ท่ามกลางมรดกและบทเรียนอันมากมาย ในท้ายที่สุดของโอกาสดังกล่าว ก็ได้น้อมนำเรามาสู่วันเวลาของการรับรู้เกี่ยวกับศิลปะบางอย่าง และตระหนักถึงมิติต่างๆทีแท้จริงของมัน ในฐานะที่เป็นปรากฎการณ์ของโลกกว้างอันหนึ่ง. มาถึงตอนนี้ เราได้เข้ามาสู่แผนที่ของศิลปะซึ่งมีสีสรรที่เข้มข้นมากขึ้น และเต็มไปด้วยรายละเอียด ซึ่งมันยากที่จะซาบซึ้งแต่เพียงลางๆและลวกๆเท่านั้น กับสิ่งที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ทั้งหมดของการแสดงออกด้วยภาพที่นอนแบอยู่ ซึ่งครั้งหนึ่ง มันเคยหลุดรอดไปจากอาณาเขตดินแดนที่ถูกสำรวจอย่างละเอียด โดยขนบประเพณีแบบตะวันตก

มันเป็นประสบการณ์อันน่าสะดุ้งตกใจและเร้าอารมณ์อันหนึ่ง ในการมองย้อนกลับไปถึงการปฏิวัติเรื่องรสนิยม ซึ่งเกิดขึ้นมาในยุโรปในช่วงระหว่างทศวรรษสุดท้ายของคริสตศตวรรษที่ 19 และทศวรรษแรกของคริสตศตวรรษที่ 20. ในช่วงปีเหล่านี้นี่เอง เราจะเห็นว่า บรรดาศิลปินตะวันตกทั้งหลาย ต่างละทิ้งแบบแผนหรือรูปจำลองทางสุนทรียภาพแบบดั้งเดิมลง และเริ่มค้นหาแรงบันดาลใจจากศิลปะชายขอบ(marginal arts) ทั้งหลาย

ความเป็นมาเกี่ยวกับศิลปะของคนนอก(outsider art)

 

Klee เองรู้สึกพศวงและแฝง
ความอิจฉา เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ
ภาพเขียน ของพวกเด็กๆ หรือผลงานของบรรดาคนไข้โรคจิต

ผลกระทบของงานศิลปะดิบเถื่อน
ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในระดับราก ของสุนทรียภาพ
แบบยุโรป

สำหรับคำว่า"ศิลปะชายขอบ" ในที่นี้หมายความถึง รูปแบบต่างๆที่มีอยู่อย่างมากมาย ของการแสดงออกมาให้เห็นได้ด้วยตา ซึ่งคุณค่าและสไตล์ของมันต่างเป็นที่แปลกหูแปลกตา ต่อรูปงานศิลปะกระแสหลักแบบตะวันตก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ตัวอย่างเช่น :

ความหลงไหลของ Gauguin (โกแกง) ซึ่งตัวเขาเองนั้น ได้ให้ความสนใจต่อ งานประติมากรรมพื้นบ้านของ Britanny (หมายถึงศิลปะพื้นบ้านของอังกฤษ) และศิลปะพื้นเมืองของ Polynesia ;
ส่วน Picasso มีความรู้สึกดูดดื่มในช่วงสั้นๆกับงานแกะสลักของแอฟริกันตะวันตกและ Iberian;
และศิลปิน Kandinsky รู้สึกชื่นชอบรสนิยมของงานภาพพิมพ์พื้นบ้านของรัสเซีย และภาพเขียนทางศาสนาอันเป็นที่นิยมกันของ Bavarian, เช่นเดียวกับใจที่เปิดกว้างของเขา ต่อศิลปะพื้นเมืองของชาวยุโรปและศิลปะของชนเผ่าที่ไม่ใช่ยุโรป;
Klee เองก็รู้สึกพิศวงและแฝงความอิจฉา เมื่อเผชิญหน้ากับภาพที่ได้ถูกวาดขึ้นมาโดยบรรดาพวกเด็กๆหรือบรรดาคนไข้โรคจิต;
ส่วน Brancusi กระตือรือร้นและมีใจจดจ่อกับศิลปะพื้นบ้านของชาวโรมาเนี่ยน และงานแกะไม้ของแอฟริกัน. นอกจากความหลงใหล ดูดดื่มและชื่นชอบ ปนความพิศวงของปัจเจกศิลปินที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ ซึ่งมีให้กับรสชาติของสุนทรียภาพที่ผิดแผกแปลกใหม่เหล่านี้แล้ว, ยังมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มศิลปิน French Surrealism (ลัทธิเหนือจริงฝรั่งเศส) และ German Expresionism ซึ่งมีลักษณะสุดขั้วในระดับฐานรากของศิลปะเลยทีเดียว. เราจะเห็นว่า บรรดาศิลปินเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญ และความโดดเด่นต่อการสร้างสรรค์ของชนเผ่าจากแอฟริกา, โอชีอเนีย(Oceania อยู่บริเวณนิวซีแลนด์) หรืออเมริกาเหนือด้วย

ความไม่เหมือนกันต่างๆเหล่านั้นทั้งหมดของลัทธิดึกดำบรรพ์(primitiveism)โดยแก่นแท้ คือตัวอย่างในขอบเขตที่บรรดาศิลปินต่างยอมให้มันโดดเด่น และมีความสำคัญต่อความแปลกใหม่, ในลักษณะปลุกเร้า, ประหลาดชวนหลงใหล, กระทั่งเถื่อนหรืออนารยะ. ผลกระทบโดยรวมของสิ่งเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานของสุนทรียภาพแบบยุโรป มันเป็นความเปลี่ยนแปลงซึ่งยังคงท้าทายเราอยู่อย่างต่อเนื่อง ในการคิดถึงขอบเขตของการแสดงออกอันเป็นที่ยอมรับ และลำดับการที่ยอมรับได้ของการโต้ตอบหรือขานรับทางสุนทรียภาพของเรา.

ครั้นมองย้อนมายังผู้ชม เราจะเห็นว่า เมื่อรูปแบบของงานศิลปะที่มีความแตกต่างอย่างสุดขั้วได้ถูกนำเสนอต่อบรรดาผู้ชมที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวเตรียมใจมาก่อน ผลลัพธ์ก็คือ ปฏิกริยาโต้ตอบต่อความซาบซึ้งในแบบเดิมๆถึงกับสะดุดหยุดลงทันที และกลายเป็นไม่ทำงานไปเลย. ศิลปะนั้นปฏิเสธปัญญาความฉลาดที่ยอมรับกัน และได้บอกกับผู้ชมในใจว่า "เรา(หมายถึงผู้ชมชาวตะวันตกทั้งหลาย)ได้เปิดตัวของเราเองสู่สิ่งกระตุ้นทางสายตาใหม่ๆ. วิธีการของเราเกี่ยวกับการมองและตีความสิ่งที่เราเห็น จะต้องได้รับการปรับปรุงกันขึ้นมาใหม่.

ลัทธิดึกดำบรรพ์(primitivism) [-ในด้านของความพยายามอย่างมีสำนึกในส่วนของศิลปินชาวยุโรปที่อ้าแขนรับ พร้อมโอบกอดสไตล์และทัศนคติอันหนึ่งอย่างเต็มที่ ซึ่งแปลกไปจากการที่พวกเขาฝึกฝนกันมา-] ได้สอนเราว่า ศิลปะนั้น ในความหมายอันบริบูรณ์ที่สุด ไม่ต้องการมีลักษณะที่เป็น Eurocentric (ศูนย์กลางยุโรป), และลักษณะของ Eurocentric ไม่ใช่ปริมณฑลอันโดดเดี่ยวของผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองหรือเชื่อถือเท่านั้น.

ถ้าหากว่ามันเป็นการแสดงออกอันหนึ่งของความปรารถนาและจินตนาการของมนุษย์, ศิลปะสามารถที่จะแสดงตัวของมันเองออกมาได้อย่างมีพลัง แม้ว่ามันจะมาจากดินแดนที่อยู่ห่างไกลและไร้ชื่อเสียงของโลกก็ตาม ดังที่มันสามารถทำได้ และพิสูจน์มาแล้วในท่ามกลางความสุภาพอ่อนโยนของศูนย์กลางชุมชนเมืองของพวกเรา; และมันสามารถสร้างแรงดึงดูดใจได้ ต่อผู้ชมได้อย่างกว้างไกลและกว้างขวาง มากยิ่งกว่าในบริบทของวัฒนธรรมที่เป็นทางการของนักวิจารณ์และคณะกรรมการเลือกสรรทางศิลปะ.

แม้ว่าบ่อยครั้ง กระบวนการดังกล่าวจะต้องใช้ความพยายามและแรงงานมากก็ตาม, แต่ศตวรรษของเรานี้ กำลังดำเนินการเพื่อที่จะนำพาการปฏิวัติดังกล่าวก้าวไปข้างหน้า เพื่อทำให้แกลอรี่ทางศิลปะและพิพิธภัณฑ์ต่างๆได้รับรู้ถึงสิ่งเหล่านี้, (ซึ่งปัจจุบัน สถาบันศิลปะดังกล่าว ต่างกำลังแสวงหาช่องทาง เพื่อจะพูดถึงความหลากหลายมากมายเกี่ยวกับสไตล์และความหมาย ที่ซึ่งแรงดลใจในทางสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมา).

ตามข้อเท็จจริงแล้ว มันมีงานศิลปะอยู่มากชนิด ณ ขอบรอบนอกของความรู้เรา มากกว่าที่เราจะจินตนาการได้. คำสอนเกี่ยวกับการระงับยับยั้งในเรื่องบุริมสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษทางด้านภูมิศาสตร์, สังคมและวัฒนธรรม ได้ก่อให้เกิดการยอมรับ(ซึ่งอาจจะสุ่มเสี่ยง)ในการแสดงออกของศิลปิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นซึ่งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางหรือศิลปะที่เป็นทางการ. แต่อย่างๆไรก็ตาม จนบัดนี้ยังมีคนบางคนที่ยังคงเมินเฉยหรือไม่ให้ความเอาใจใส่ศิลปะดังกล่าว ในฐานะที่เป็นศิลปะชายขอบหรืออยู่รอบนอก ถ้าไม่มากจนเกินไปก็ตาม.

มันเป็นการสอนให้พิจารณาถึงการยักย้ายปรับเปลี่ยนและมีใจกว้างทางสุนทรียภาพ จากทศวรรษที่ 1880 เป็นต้นมา. แต่การรับรู้ภายในวัฒนธรรมฝรั่งเศสเอง ที่ซึ่งรสนิยมในทางศิลปะกลับได้ถูกทำให้เคยชินไปแล้วกับกฎเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับการแบ่งแยก (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการศึกษาและชนชั้น).

เมื่อครั้งที่ George Couteline ได้เริ่มบุกเบิกสะสมงานศิลปะที่ไม่ใช่งานของผู้ผ่านการศึกษามาทางด้านนี้(non-academic work), งานเป็นจำนวนมากเป็นงานที่ไร้เดียงสา(na?ve)และก็ไม่มีการบันทึกชื่อผู้สร้างผลงาน เขาได้ขนานนามห้องที่เขาเก็บสะสมงานดังกล่าวว่า"ห้องที่น่าหวาดหวั่น"(Cabinet of Horrors'), ราวกับว่าเป็นการตอบคำถามต่อข้อข้องใจหรือความกังขา ซึ่งอาจจะกล่าวหาหรือการโจมตีต่อตัวเขา ในเรื่องเกี่ยวกับรสนิยมที่เลว ด้วยการปลุกหรืออุธรณ์มันด้วยตัวของเขาเอง โดยลิ้นของตนและแก้มที่ขยับตามของเขา.

ส่วน Alfred Jarry ได้ให้ความเคารพต่องานภาพพิมพ์แกะไม้ซึ่งเป็นที่นิยมแต่ไม่มีชื่อเสียง, และได้แสดงท่าทีในเชิงส่งเสริมสนับสนุนต่อจิตรกรซึ่งไม่ได้ร่ำเรียนมา อย่าง Henri Rousseau, แต่เขายังคงกระทำเช่นนั้น ในสำนวนของความคดเคี้ยวเยาะเย้ยถากถาง.

ในลำดับต่อมา Guillaume Apollinaire ได้เคลื่อนคล้อยจากความอยากรู้อยากเห็นในเชิงขบขันไปสู่การพัวพันมั่นหมายอย่างตั้งอกตั้งใจจริงต่อ Rousseau, เขาไม่อาจที่จะระงับหรือยุติข้อสังเกตุอันหนึ่งเกี่ยวกับการยอมรับหรือการก้มหัวให้กับการยกย่องสรรเสริญศิลปินผู้นี้ได้ ทั้งนี้เขาได้กระทำลงไปโดยปราศจากข้อสงสัยถึงความผิดแปลกและความไม่คุ้นเคย, เขาถึงกับบันทึกว่า มันเป็นความกล้าและความมีเสน่ห์มากที่สุดของบรรดาจิตรกรที่มีลักษณะแปลกถิ่น(exotic).

(ต่อหน้าถัดไป กรุณาคลิกตัวอักษรข้างล่าง)

 

ภาพผลงานของ Henri Rousseau ชื่อภาพ The Dream. 1910 ภาพสีน้ำมันบนผ้าใบ ปัจจุบันเก็บรักษาเอาไว้ในพิพิธิภัณฑ์ The Museum of Modern Art, New York

คลิกไปหน้าถัดไป
กลับไปหน้าเริ่มต้น