ภาษาบาลีเบื้องต้น

การอ่านออกเสียงคำบาลีเขียนด้วยอักษรไทย

พยัญชนะทุกตัวถ้าไม่มีสระอื่นประกอบ พึงออกเสียงสระอะ เช่น ก ข ค ฆ ง อ่านออกเสียงเป็น กะ ขะ คะ ฆะ งะ

ถ้า อ อยู่หน้าคำออกเสียงตามเสียงสระ เช่น

อสโม

อ่านว่า

อะสะโม

อาม

อ่านว่า

อามะ

อิงฺฆุ

อ่านว่า

อิงฆะ

อุกาส

อ่านว่า

อุกาสะ

โอทาต

อ่านว่า

โอทาตะ

 

_ เรียกว่า นฤคหิต ถ้าปรากฎอยู่บนพยัญชนะ หรือสระใด พึงออกเสียงเท่ากับ ง สะกด เช่น

มยํ

อ่านว่า

มะยัง

กุหึ

อ่านว่า

กุหิง

กาตํ

อ่านว่า

กาตุง

สํสาโร

อ่านว่า

สังสาโร

พยัญชนะ 33 ตัว แบ่งออกเป็น 6 วรรค

1. ก วรรค มี 5 ตัว คือ ก ข ค ฆ ง

2. จ วรรค มี 5 ตัว คิอ จ ฉ ช ฌ ญ

3. ฏ วรรค มี 5 ตัว คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ฌ

4. ต วรรค มี 5 ตัว คือ ต ถ ท ธ น

5. ป วรรค มี 5 ตัว คือ ป ผ พ ภ ม

6. เสวรรค มี 8 ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ

พยัญชนะที่ 2 และ 4 ใน 5 วรรคข้างต้นนี้ไม่ใช้เป็นตัวสะกด

ตัวสะกดต้องมีจุด . อยู่ใต้พยัญชนะพึงอ่านพยัญชนะนั้นๆ เท่ากับมีเสียงสระ อะ เช่น

สุคฺติ

อ่านว่า

สุคะติ

อุปปชฺชติ

อ่านว่า

อุปะปัดชะติ

พยัญชนะ พ ม ว ร ห ฬ บางทีใช้กล้ำกับพยัญชนะอื่น โดยมีจุด . อยู่ใต้เช่น

พยฺากตํ

อ่านว่า

พยากะตัง

พรหฺมา

อ่านว่า

พรัมมา

วฺยากรณํ

อ่านว่า

วยากะระณัง

พฺยญชนํ

อ่านว่า

พยัญชนัง

อามฺห

อ่านว่า

อำมเห

ตุเมฺห

อ่านว่า

ตุมเห

สมฺปมูเฬหตฺถ

อ่านว่า

สัมปะมูฬเหตถะ

พยัญชนะ ต ท ส ที่มีจุดอยู่เบื้องล่าง และนำหน้า ว ม อ่านกึ่งเสียงและกล้ำด้วยพยัญชนะ อื่นเช่น

ตฺวํ

อ่านว่า

ตวัง

เสฺว

อ่านว่า

สเหว

ตสฺมา

อ่านว่า

ตัดสมา

เทฺว

อ่านว่า

ทเว

สุตฺวา

อ่านว่า

สุตวา

ทิสฺวาเน

อ่านว่า

ทิสวานะ

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม