เทคนิคการฝึกอบรม

(นงลักษณ์   สินสืบผล 2532 : 58-59)

                การฝึกอบรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้การจัดฝึกอบรมบรรลุผลก็คือ การเลือกเทคนิคการฝึกอบรม

อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้เพราะเทคนิคการฝึกอบรมจะมีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ต้องการ

                เทคนิคการฝึกอบรม (Training Technique)   หมายถึง   วิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร หรือถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ประสบการณ์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างผู้ให้การอบรมและผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ (น้อย ศิริโชติ 2524 : 70)

ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม (สมพงษ์  เกษมสิน  2526 : 193-194)

1.   พิจารณาถึงความเหมาะสมของเทคนิคที่จะนำมาใช้ คือ ต้องเหมาะสมกับลักษณะของหัวข้อวิชาและสอดคล้องกับความต้องการ ของการพัฒนานั้น ๆ

2.    พิจารณาถึงขนาดของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม ว่ามีมากน้อยเพียงใด ลักษณะของการฝึกอบรมนั้นเป็นประการใด ควรจะแบ่งกลุ่มย่อยหรือไม่ กลุ่มละเท่าใด แล้วเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมให้เหมาะสม

3.    พิจารณษถึงลักษณะของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า มีพื้นฐานความรู้มากน้อยเพียงใด

4.    พิจารณาถึงความสามารถ ความคุ้นเคย ต่อเทคนิคการฝึกอบรมที่จะนำไปใช้ว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคุ้นเคยต่อวิธีการนั้น ๆ หรือไม่

5.    พิจารณาถึงเวลาและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ว่ามีเพียงพอหรือไม่

6.    พิจารณาถึงงบประมาณที่มีอยู่

7.    พิจารณาและประเมินค่าเกี่ยวกับทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่าเป้นอย่างไร

            เทคนิคการฝึกอบรม   จำแนกได้เป็น    4   ประเภท คือ

1.    ประเภทการบรรยายและอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ   เทคนิคการฝึกอบรมประเภทนี้ได้แก่ การบรรยายหรือปาฐกถา (Lecture or Speech) การบรรยายเป็นชุด (Symposium) การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) เป็นต้น

2.    ประเถทให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีบทบาทร่วม เช่น การสัมมนา (Seminar) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) การประชุม (Syndicate Method) การระดมความคิด (Brainstorming) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) การประชุมถกเถียง (Buzz Session) การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) การให้เวลาซักถาม (Question Period) การสัมภาษณ์ (Interview) การสาธิต (Demonstration) การประชุมเชิงปฎิบัติการ (Workshop) การทัศนศึกษา (Field Trip) เป็นต้น

3.    ประเภทพัฒนาฌฉพาะตัวบุคคล ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปรับให้เข้ากับระดับความสมารถในการเรียนรู้และความสะดวกของตนได้ เช่น การสอนแบบสำเร็จรูป (Programmed Instruction) การสอนแนะ (Coaching)

4.    ประเภทใช้สื่อในการฝึกอบรม เช่น การใช้สไลด์ประกอบเสียง   (Slide/Tape Presentation) การใช้ภาพยนตร์ประกอบ (Instructional Film)

***** หากต้องการดูรายละเอียดคลิ๊กได้ที่นี่ *****