หลักการประเมินเค้าโครงวิจัย

โดย. ดิเรก พรสีมา


            เค้าโครงเพื่อการวิจัยเป็นเครื่องพยากรณ์คุณภาพของรายงานการวิจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง  การมีเค้าโครงการวิจัยที่ชัดเจน  มีการศึกษาวรรณคดีในสาขาที่จะทำการวิจัยอย่างถี่ถ้วนและเป็นปัจจุบัน  และเขียนขึ้นอย่างระมัดระวัง ย่อมจะใช้เป็นเครื่องชี้ทางดำเนินการวิจัยได้เป็นอย่างดี
            ดี เอ แมคเคย์ (1981) ได้เสนอเกณฑ์สำหรับประเมินองค์ประกอบต่างๆ ของเค้าโครงการวิจัย ดังนี้

นี้เป็นแบบ From ที่ใช้ในการตรวจสอบงานวิจัย

เกณฑ์ 

 คำถามที่ใช้ในการประเมิน 

เช็ค /
เมื่อเค้าโครงมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ 

ก. หัวข้องานวิจัย

ก. หัวข้องานวิจัยบอกให้ผู้อ่านทราบว่า
เนื้อหาในรายงานการวิจัยจะเป็นอย่างไร?

*

1. ความชัดเจนของหัวข้อ

1. หัวข้อสะท้อนให้เห็นเนื้อหาสาระที่จะ
ค้นคว้าวิจัยหรือไม่

1..................

2. ความชัดเจนของจุดประสงค์

2. หัวข้อสะท้อนให้เห็นจุดประสงค์ของ
การวิจัยหรือไม่

2..................

3. ความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย

3. หัวข้อและจุดประสงค์สอดคล้องกับปัญหา
และสมมติฐานหรือไม่

3..................

4. ความกระทัดรัด

4. หัวข้อกระทัดรัดและฟังรื่นหูหรือไม่

4..................

5. ความน่าสนใจ

5. หัวข้อกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจงานวิจัยเรื่องนั้น
หรือไม่

5..................

6. ดึงดูดความสนใจ

6. หัวข้อดึงดูดความสนใจผู้อ่านหรือไม่

6..................

7. การชี้ทาง

7. วลียืดยาวทั้งหลายที่อาจทำให้ไขว้เขว
ถูกตัดออกจากหัวข้อหรือไม่

7..................

8. ความง่าย

8. รายละเอียดที่จะปรากฎในบทอื่นๆ
ถูกตัดออกไปจากหัวข้อหรือไม่

8..................

*

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (ก)

รวม...............ข้อ

ข. ความสำคัญของงานวิจัย

ข. ผู้วิจัยมีเหตุผลเพียงพอที่จะใช้
ผลการวิจัยขยายความคิดรวบยอดใน
สาขาที่วิจัย ของผู้อ่านหรือไม่?

*

1. ความชัดเจนของความคิดรวบยอด

1. ผู้วิจัยมีความคิดรวบยอดที่ชัดเจนเกี่ยวกับ
ปัญหาที่จะวิจัยหรือไม่

1..................

2. สิ่งชี้บอกความจำเป็น

2. มีหลักฐานสนับสนุนจากหลายแหล่งว่ามี
ความจำเป็นที่จะต้องวิจัยในเรื่องนี้หรือไม่

2..................

3. ความเป็นตัวของตัวเอง

3. เค้าโครงวิจัยชี้ให้เก็นว่าผู้วิจัยจะแปลผล
โดยปราศจากความลำเอียงหรือไม่

3..................

4. ต้นตอของปัญหาวิจัย

4. ปัญหาการวิจัยหรือบางส่วนของปัญหา
เคยผ่านการวิจัยค้นคว้ามาก่อนหรือไม่

4..................

5. ผลต่อการพัฒนาความรู้ในสาขานั้นๆ

5. ผู้วิจัยตั้งใจที่จะขยายความคิดรวบยอด
ในสาขาที่จะทำการวิจัยหรือไม่

5..................

6. ความสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้

6. มีอะไรชี้ให้เห็นว่าจะสามารถนำผล
การวิจัยไปใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ทฤษฎี
หรือปฏิบัติได้หรือไม่

6..................

 

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (ข)

รวม...............ข้อ

ค. ปัญหาสำหรับการวิจัย

ค. ปัญหาสำหรับการวิจัยเป็นเครื่อง
ควบคุมหรือกำหนดขั้นตอนการดำเนิน
การวิจัยหรือไม่?

*

1. กรอบความคิด

1. ปัญหาทำให้ผู้อ่านทราบเจนาในการวิจัย
หรือไม่

1..................

2. จุดสนใจ

2. ปัญหาจำกัดขอบเขตของการวิจัยหรือไม่

2..................

3. การควบคุมรูปแบบการวิจัย

3. ปัญหาสะท้อนให้เป็นขั้นตอนและเทคนิค
ต่างๆ ที่จะใช้ในการวิจัยหรือไม่

3..................

4. การควบคุมข้อมูล

4. ปัญหาสัมพันธ์กับข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัย
หรือไม่

4..................

5. ความสอดคล้องกับหัวข้อการวิจัย

5. ปัญหาสอดคล้องกับหัวข้อการวิจัยหรือไม่

5..................

6. ในการควบคุมการรายงานผลการวิจัย

6. ปัญหาเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตของผล
การวิจัยหรือไม่

7..................

7. ความพร้องที่จะให้มีการตรวจสอบ

7. ปัญหาเป็นตัวกำหนดสมมติฐานที่พร้อม
ที่จะให้มีการตรวจสอบได้หรือไม่

7..................

8. ความสัมพันธ์กับทฤษี

8. ปัญหาและสมมติฐานตั้งอยู่บนรากฐาน
ของทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรือไม่

8..................

9. ความชัดเจน

9. ปัญหาและสมมติฐานประกอบด้วยถ้อยคำ
ที่เป็นภาษาวิชาการยิ่งกว่าคำพูดทั่วๆไป
หรือไม่

9..................

10. ปัญหาย่อยสำหรับการวิจัย

10. ปัญหาและสมมติฐานหลัก เป็นเครื่อง
กำหนดปัญหาและสมมติฐานย่อยหรือไม่

10................

*

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (ค)

รวม...............ข้อ

ง. รูปแบบของการวิจัย

ง. รูปแบบของการวิจัยมุ่งทดสอบ
สมมติฐานและปัญหาสำหรับการวิจัย
หรือไม่?

*

1. ความชัดเจนของข้อมูล

1. ชนิดและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
ถูกกำหนดไว้แน่นอนหรือไม่

1..................

2. ความพร้อมของข้อมูล

2. สามารถบอกแหล่งที่แน่นอนของข้อมูลที่
สัมพันธ์กับปัญหา และสมมติฐานของการ
วิจัยได้หรือไม่

2..................

3. ความเหมาะสม่ของข้อมูล

3. แหล่งข้อมูลที่ระบบ สามารถจะทำให้ผู้วิจัย
ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับวิจัยหรือไม่

3..................

4. ความเชื่อถือได้และความเที่ยงตรง
ของข้อมูล

4. เครื่องมือและวิธีเก็บข้อมูลประกันความ
เชื่อถือได้ และมีความถูกต้องของข้อมูล
หรือไม่

4..................

5. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

5. กำหนดกลุ่มประชากรที่จะใช้สุ่มตัวอย่าง
ไว้แน่นอนหรือไม่

5..................

6. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

6. กำหนดวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างไว้หรือไม่

6..................

7. การเลือกข้อมูลที่พึงปรารถนา

7. มีเหตุสนับสนุนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ที่เลือกไว้หรือไม่

7..................

8. ความพอดีของข้อมูล

8. เมื่อมีการเลือกวิธีสุ่มตัวอย่างขนาดของ
กลุ่มตัวอย่างมากพอที่จะขจัดข้อผิดพลาด
จากการใช้สถิติอินเฟอเรนเซี่ยลหรือไม่

8..................

9. ความชัดเจนของวิธีการ

9ก.  กลุ่มทดลองและควบคุมถูกกำหนดและ
อธิบายไว้ชัดเจนหรือไม่
9ข.  กำหนดทรีทเมนท์สำหรับแต่ละกลุ่ม
ตัวอย่างไว้หรือไม่
9ค.  ชี้แจงการเลือกทรีทเมนท์สำหรับแต่ละ
กลุ่มตัวอย่างไว้หรือไม่

9ก..................

9ข..................

9ค..................

10. ความเชื่อถือและเที่ยงตรง
ของเครื่องมือ

10. เลือกเครื่องมือที่จะใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูลไว้แน่นอนหรือไม่ และได้
ตระหนักถึงความเที่ยงตรงและความ
เชื่อถือได้ของเครื่องมือ หรือไม่

10.................

11. โอกาสในการเลือกเทคนิค
ทางสถิติ

11. เทคนิคทางสถิติที่เลือก เหมาะสมที่จะ
ทดสอบสมมติฐาน หรือตอบปัญหาการวิจัย
ได้ครบหรือไม่

11.................

12. เครื่องควบคุม

12. มีเครื่องควบคุมตัวแปรอื่นที่ไม่รวมอยู่
ในกลุ่มควบคุมหรือไม่

12.................

*

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (ง)

รวม...............ข้อ

จ. วรรณคดีที่เกี่ยวข้อง

จ. วรรณคดีที่เกี่ยวข้องที่ศึกษาและ
รวบรวมมาสัมพันธ์กับงานวิจัย 
ชี้แนวทางการวิจัยและบอกให้ทราบถึง
สภาพของวิทยาการสาขานั้นๆ หรือไม่

*

1. ความเหมะาสมของบทนำ

1. หัวข้อนี้รวมบทนำที่กล่าวถึงจุดประสงค์
ของการศึกษา  รวบรวมวรรณดีที่เกี่ยวข้อง
และการจัดลำดับหัวข้อที่รวมไว้ในบทนี้
หรือไม่

1.................

2. เกณฑ์การเลือกวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง

2. กำหนดเกณฑ์ที่จะใช้ในการเลือก
วรรณคดีที่เกี่ยวข้องไว้หรือไม่

2.................

3. ภาพรวมเชิงประวัติศาสตร์

3. หัวข้อนี้สะท้อนให้เห็นพัฒนาการเชิง
ประวัติศาสตร์ของปัญหาที่จะวิจัยหรือไม่

3.................

4. ความสอดคล้องกับทฤษฎีปัจจุบัน

4. หัวข้อนี้ชี้ให้เห็นว่างานวิจัยนี้จะสร้างเสริม
ทฤษฎีหรือความรู้ในสาขาที่จะวิจัยอย่างไร
หรือไม่

4.................

5. คุณภาพของวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง

5. หัวข้อนี้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์
ระหว่างวรรณคดีกับเค้าโครงงานวิจัย
ของเราหรือไม่

5.................

6. ความสอดคล้องของวรรณคดี
ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการวิจัย

6. ให้ตรวจความเหมาะสมของวรรณคดีที่
เกี่ยวข้อง และข้อสรุปที่จะอ้างถึงได้ของสิ่งที่
ศึกษาและรวบรวมมากับรูปแบบการวิจัย
หรือไม่

6.................

7. ความสามารถที่จะประยุกต์ใช้
ของวิธีการ

7. ผู้วิจัยได้แสดงความตั้งใจที่จะเลียนแบบ
ปรับปรุงวิธีการวิจัย หรือชี้ให้เห็นถึงความ
แตกต่างของวิธีการของเขา กับวิธีการอื่น
ที่เคยใช้มาอย่างไร

7.................

8. ความสอดคล้องกับงานวิจัย
ที่เสนอขึ้นใหม่

8. ได้เลือกศึกษาและรวบรวมงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องหรือไม่ นั้นคือวรรณคดีที่รวบรวมมา
มีสาระ และวิธีการวิจัยที่เสนอขึ้นหรือไม่

8.................

9. ความอ่านง่าย

9. บทนี้ทำให้ผู้อ่านสามารจำแนกระหว่าง
งานวิจัยที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะวิจัยโดยตรง
และงานวิจัยที่สัมพันธ์โดยอ้อมได้หรือไม่

9.................

10. สามารถจับเนื้อหาสาะได้

10. บทนี้มีเนื้อหาสาระคู่ควรต่อการติดตาม
ศึกษาหรือไม่

10...............

11. การจัดลำดับหัวข้อการวิจัย

11. ได้รวบรวมวรรณคดีที่เกี่ยวข้องไว้เป็น
หมวดหมู่ตามลำดับหัวข้อใหญ่ไปยังหัวข้อย่อย
เพื่อให้สะดวกแก่การอภิประายแต่ละประเด็น
หรือไม่

11...............

12. ความเหมาะสมของตอนสรุป

12. บทนี้ได้สรุปใจความสำคัญของแต่ละ
หัวข้อในตอนนี้หรือไม่

12...............

*

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (จ)

รวม...............ข้อ

ฉ. นิยามและขอบเขตการวิจัย

ฉ. ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตเนื้อหาของ
การวิจัย รวมทั้งอธิบายศัพท์บัญญัติ
ที่ใช้ในการวิจัยหรือไม่

*

1. ความหมายศัพท์บัญญัติ

1. ความหมายของคำ วลี  ข้อความ กระจ่าง
ชัด ทำให้ผู้อ่านที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน และ
ต่างวง เข้าใจได้โดยง่ายหรือไม่

1...............

2. จำนวนศัพท์บัญญัติ

2. ศัพท์บัญญัติที่กำหนดพอเพียงแก่การ
สร้างความชัดเจนให้แก่ผู้อ่านหรือไม่

2...............

3. การสร้างความชัดเจนให้กับหัวข้อ
การวิจัย

3. นิยามและขอบเขตงานวิจัย ช่วยให้ความ
กระจ่างแก่ผู้อ่านหรือไม่

3...............

4. คำชี้แจงเกี่ยวกับข้อจำกัดในการ
กำหนดกลุ่มตัวอย่าง

4. ได้กำหนดขนาด ลักษณะปรากฏการณ์
เกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการวิจัยไว้
หรือไม่

4...............

5. คำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการเลือกกลุ่ม
ตัวอย่าง

5. ข้อจำกัดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่าง 
และปรากฎการณ์เกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง จะมี
ผลต่อการรายงานหรือไม่

5...............

6. คำชี้แจงเกี่ยวกับข้อจำกัดเรื่องเวลา

6. ข้อจำกัดเรื่องเวลามีผลต่อความถูกต้อง
ของข้อมูลหรือไม่

6...............

7. คำชี้แจงเกี่ยวกับรูปแบบของ
การวิจัย

7. ได้ตระหนักถึงอิทธิพลของรูปแบบการ
วิจัยต่อการแปลผลการวิจัยหรือไม่

7...............

*

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (ฉ)

รวม...............ข้อ

ช. ช่วงเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ช. เค้าโครงกล่าวถึงเวลาที่จะใช้ใน
การวิจัย และการนำเสนอรายงานผล
การวิจัยหรือไม่?

*

1. ลำดับเหตุการณ์

1. ได้ให้ความสนใจในการเรียงลำดับ
เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นขณะทำการวิจัยและ
รายงานผลหรือไม่

1...............

2. ความเหมาะสมในการแบ่งเวลา
สำหรับแต่ละกิจกรรม

2. เวลาที่กำหนดไว้สำหรับแต่ละกิจกรรม
เหมาะที่จะทำกิจกรรมตามที่ระบุสำเร็จ
หรือไม่

2...............

3. ความเหมาะสมในการกำหนดเวลา
สำหรับการรายงานผล

3. ได้แบ่งเวลาสำหรับการเตรียมต้นฉบับ
เป็นต้นว่า การเขียน  การอ่านทบทวน การ
แก้ไข  และการพิมพ์ไว้หรือไม่

3...............

4. ความเหมาะสมเกี่ยวกับการ
แบ่งเวลาของผู้วิจัย

4. เวลาที่กำหนดขึ้นเป็นเวลาที่กำหนดโดย
คำนึงถึงนิสัยการทำงานของผู้วิจัยด้วย
หรือไม่

4...............

5. ความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง
แก้ไขเรื่องเวลา

5. กำหนดการเรื่องเวลา สอดคล้องกับความ
ต้องการของผู้ให้การสนับสนุนการวิจัย หรือ
ทันต่อการเสนอผลการวิจัยต่อที่ประชุม
หรือไม่

5...............

*

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (ช)

รวม...............ข้อ

ฌ. สภาพทั่วไปของเค้าโครงวิจัย

ฌ. ฟอร์มของเค้าโครงการวิจัยถูกต้อง
หรือไม่?

*

1. ความถูกต้องของแบบฟอร์ม

1. ผู้เขียนเค้าโครงยึดฟอร์มใดฟอร์มหนึ่ง
ในการเขียนเค้าโครงหรือไม่

1...............

2. ความน่าอ่าน

2. เค้าโครงน่าอ่าน เรื่องลำดับก่อนหลังและ
มีความชัดเจนหรือไม่ บอกให้ผู้อ่านทราบถึง
สิ่งที่ผู้วิจัยจะทำหรือไม่

2...............

3. คุณภาพการใช้ภาษา

3. ผู้เขียนใช้ภาษาของนักวิจัยหรือไม่

3...............

4. ลำดับหัวข้อ

4. ผู้เขียนแบ่งเค้าโครงออกเป็นหัวข้อใหญ่
โดยให้ความสำคัญทุกหัวข้อที่เป็นองค์
ประกอบของเค้าโครงการวิจัยหรือไม่

4...............

5. ความต่อเนื่องของความเห็น

5. ลำดับเนื้อหาในเค้าโครงสอดคล้องกับ
หัวข้อใหญ่ของเค้าโครงหรือไม่

5...............

6. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ของเนื้อหาแต่ละตอน

6. เนื้อหาแต่ละตอนสอดคล้องกับหัวข้อ
ที่ปรากฏหรือไม่

6...............

7. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ของหัวข้อ

7. มีการเชื่อมโยงความคิดในแต่ละหัว
ข้อใหญ่เข้าด้วยกันหรือไม่

7...............

8. ฟอร์มของเชิงอรรถ

8. ฟอร์มของเชิงอรรถ ตาราง ชื่อ ถูกต้อง
ตามคู่มือการเขียนรายงานหรือไม่

8...............

9. ภาพประกอบ

9. รูปภาพหรือไดอะแกรม ช่วยเพิ่มความ
ชัดเจนของเค้าโครงหรือไม่

9...............

10. การใช้ภาพประกอบ

10. ใช้ตาราง รูปภาพ หรือไดอะแกรม ณ
ตำแหน่งที่เหมาะสม และสอดคล้องกับ
เนื้อหาหรือไม่

10.............

11. ลำดับขั้นของภาพประกอบ

11. ตาราง รูปภาพ ไดอะแกรมเรียงลำดับ
ถูกต้องหรือไม่

11.............

12. ตำแหน่งของภาพประกอบ

12. ตาราง รูปภาพ ไดอะแกรม ปรากฏอยู่
ณ ตำแหน่งที่ตามจากคำอธิบายวันที่หรือไม่

12.............

13. ความชัดเจนของหัวเรื่อง

13. ชื่อตาราง ชื่อรูปภาพ ชื่อไดอะแกรม 
กระทัดรัดและสื่อความหมายหรือไม่

 13.............

14. ฟอร์มและสไตล์ของภาพประกอบ

14. ฟอร์มของหัวเรื่อง ตาราง รูปภาพ และ
ไดอะแกรมถูกต้องหรือไม่

14............

15. ภาคเพิ่มเติม

15. ภาคเพิ่มเติมมีไว้เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม
แต่เป็นส่วนที่ควรแยกจากเค้าโครงหรือไม่

15...........

16. การอ้างถึงภาคเพิ่มเติม

16. ได้อ้างถึงภาคเพิ่มเติม ณ ตำแหน่งที่
เหมาะสมหรือไม่

16...........

17. ความชัดเจนของบรรณานุกรม

17. ได้รวบรวมบรรณานุกรมของส่วนที่
อ้างถึงในบทก่อนๆ ไว้ครบหรือไม่

17...........

18. ความถูกต้องของบรรณานุกรม

18. บรรณานุกรมถูกต้องและสมบูรณ์หรือไม่

18...........

19. ฟอร์มของบรรณานุกรม

19. การจัดลำดับและฟอร์มของบรรณานุกรม
ถูกต้องหรือไม่

19............

*

จำนวนข้อที่เช็ค / ในตอน (ฌ)

รวม...............ข้อ

*

จำนวนข้อที่เช็คถูกทั้งหมด.........ข้อ

เช็คผิดทั้งหมด.........ข้อ

 

สรุป


        เพื่อให้ได้งานวิจัยที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม  นักวิจัยสมัครเล่นหรือผู้เริ่มทำการวิจัยทั้งหลายควรจะใช้เกณฑ์ที่เสนอมานี้ประเมินเค้าโครงการวิจัยของตนก่อนที่จะลงมือทำการวิจัย เพราะอย่างน้อยก็จะช่วยขจัดข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้


mail to : kenkap@chaiyomail.com

แหล่งข้อมูลจาก http://www.srithai.com