ผู้เปรียบด้วยการไม่ถูก "แมลงวันตอม"

       ภิกษุ  ท.! เมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม, ถ้าเธอ เกิดครุ่นคิดอยู่ ด้วยความครุ่นคิดในทางกาม   ก็ดี  เกิดความครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น  ก็ดี  เกิด ความครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทางทำให้ผู้อื่นให้ลำบากก็ดีขึ้น, ภิกษุนั้น ไม่รับเอาความครุ่นคิดเช่นนั้น ๆ ไว้ ละทิ้งเสีย ถ่ายถอนออกเสีย ทำให้สิ้นสุดเสีย ถึงความไม่มีอะไรเหลืออยู่; ภิกษุผู้เป็นเช่นนี้ แม้ เดินอยู่ตามตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม เรากเรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว ต่อความเป็นทาศของกิเลส เป็นผู้ปรารภความเพียร ติดต่อสม่ำเสมอ และเป็นผู้มีตนส่งไปแล้วในการ กระทำเช่นนั้น.

(อีกสูตรหนึ่ง)

       ภิกษุ ท.! ภิกษุ ผู้ละองค์ห้าได้แล้ว และผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ห้า เราเรียกว่า "ผู้ประกอบด้วย คุณธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น, ผู้อยู่จบพรหมจรรย์, เป็นยอดบุรุษ" ในธรรมวินัยนี้

       ภิกษุ  ท.!  ภิกษุเป็นผู้ละองค์ห้าได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! กามฉันทะเป็นสิ่งที่ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ละได้แล้ว,  พยาบาท  ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว,  ถีนมิทธะ ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว, อุทธัจจกุกกุจจะ ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว, วิจิกิจฉา ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว, ภิกษุ ท.! ภิกษุ อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ห้าได้แล้ว.

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ห้า เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีลอันเป็นอเสขะ,  เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยกองสมาธิอันเป็นอเสขะ, เป็นผู้ ประกอบพร้อมด้วยกองปัญญาอันเป็นอเสขะ,  เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยกองวิมุตติอันเป็นอเสขะ,  เป็นผู้ ประกอบพร้อมด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นอเสขะ, ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบพร้อม ด้วยองค์ห้า.

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุผู้ละองค์ห้าได้แล้ว และผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ห้า เราเรียกว่า "ผู้ประกอบด้วย คุณธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น.๒ ผู้อยู่พรหมจรรย์, เป็นยอดบุรุษ" ในธรรมวินัยนี้ ฉะนี้แล.

 

๑. บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗/๑๑.
๒. บาลี พระพุทธภาษิต ทสก. อํ. ๒๔/๑๗/๑๒.
๓.  ผู้มีคุณธรรมข้อนี้  เข้าใจว่า  เรียกกันโดยศัพท์เดิม  คือ เกวลี, หรือเกพลี, โดยไม่ต้อง แปลออกมา, ทำนองเดียวกับคำพิเศษอื่น ๆ เช่นคำว่า ภควา, อรหันต์ ฯลฯ.