ผู้ไม่ถูกตรึง

       ภิกษุ  ท.!  ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว เป็นสิ่งที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ภิกษุรูปนั้น จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้. ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

       ภิกษุ  ท.!  ตะปูตรึงใจ  ๕  ตัว เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมิได้สงสัย  เคลือบแคลง,  ย่อมปลงใจเชื่อ  ย่อมเลื่อมใส ในพระศาสดา. ภิกษุใดเป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส เพื่อความเพียรทำให้เนือง ๆ เพื่อความ เพียรอันติดต่อเนื่องกัน และเพื่อความเพียรอันเป็นหลักมั่นคง. จิตของผู้ใด ย่อมน้อมไปในความเพียร ดังกล่าวนี้, นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวแรกที่เธอนั้นละได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล.

       ภิกษุ  ท.!  อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ ย่อมมิได้สงสัย เคลือบแคลง, ย่อมปลงใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใส ใน ธรรม. ...ฯลฯ...นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สอง ที่เธอนั้นละได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

       ภิกษุ  ท.!  อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ ย่อมมิได้สงสัย เคลือบแคลง, ย่อมปลงใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใส ใน พระสงฆ์. ...ฯลฯ...นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สาม ที่เธอนั้นละได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

       ภิกษุ  ท.!  อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ ย่อมมิได้สงสัย เคลือบแคลง, ย่อมปลงใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใส ใน ไตรสิกขา. ...ฯลฯ...นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สี่ ที่เธอนั้นละได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

       ภิกษุ  ท.! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ ไม่ครุ่นโกรธ ในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลาย ไม่ทำ ความไม่ชอบใจ  มิได้มีจิตถูกโทสะกระทบกระทั่ง  มิได้เกิดเป็นตะปูตรึงใจ. ภิกษุใดเป็นดังกล่าวนี้ จิต ของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส เพื่อความเพียรทำให้เนือง ๆ เพื่อความ เพียรอันติดต่อเนื่องกัน และเพื่อความเพียรอันเป็นหลักมั่นคง. จิตของผู้ใด ย่อมน้อมไปในคยามเพียรดัง กล่าวนี้, นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่ห้า ที่เธอนั้นละได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

       ภิกษุ  ท.!  ตะปูตรึงใจ  ๕ ตัวเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละได้แล้ว; ภิกษุรูปนั้น จักถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ แล.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต เจโตขีลสูตร มู.ม. ๑๒/๒๐๘/๒๓๐, ๒๓๑.