ผู้ชนะภัย ๕ อย่าง

       ภิกษุ  ท.! ภัยในอนาคนเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ ประมาท มีเพียรเผากิลเส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป, เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว. ภายในอนาคน ๕ ประการนั้น คืออะไร บ้างเล่า? ห้าประการคือ :-

       (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า "บัดนี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย ยังรุ่นคะนอง มี ผมยังดำสนิท ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือ ปฐมวัย ; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ความแก่ จะม่าถึงร่างกายนี้, ก็คนแก่ถูกความชราครอบงำแล้ว  จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น  ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย. ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่า ใคร่  ไม่น่าชอบ  (คือความแก่)  นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะ แก่เฒ่ก็จักอยู่เป็นผาสุก"  ดังนี้. ภิกษุ ท.! นี้เป็นอนาคตภัยข้อแรก อันภิกษุผู้มองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ ไม่ประมาท  มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป, เพือ่พึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

       (๒)  อีกข้อหนึ่ง,  ภิกษุพิจารณาเห้นชัดแจ้งว่า "บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุให้ ความอบอุ่นสม่ำเสมอ  ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การทำความเพียร; แต่จะมีสักคราว หนึ่งที่ ความเจ็บไข้ จะมาถึงร่างกายนี้, ก็คนที่เจ็บไข้ ถูกพยาธิครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ ง่าย ๆ เลย. ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความเจ็บไข้) นั้นจะมาถึงเรา เรา จะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย โดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะแก่เฒ่ก็จักอยู่เป็นผาสุก" ดังนี้. ภิกษุ ท.! นี้เป็นอนาคตภัยข้อที่ แรก  อันภิกษุผู้มองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป,  เพือ่พึงสิ่งที่ยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย โดยเร็ว.

       (๓)  อีกข้อหนึ่ง, ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า "บัดนี้ ข้าวกล้างามดี บิณฑะ (ก้อนข้าว) ได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความพยายาม    แสวงหาบิณฑบาต;   แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑะได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความพยายาม แสวงหาบิณฑบาติ, เมื่อภิกษาหายาก ที่ใดภิกษาหาง่าย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมุ่คนก็จะมีขึ้น   เมื่อมีการคลุกคลีปะปนกันในหมู่คน  จะมีมนสิการถึงคำสอน ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ ง่าย  ๆ  เลย.  ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือภิกษาหายาก) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร  เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้ แจ้งเสียโดยเร็ว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว  จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย" ดังนี้ ภิกษุ ท.!  นี้เป็นอนาคนภัยข้อที่สาม  อันภิกษุผู้มองเห็น  ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท  มีเพียรเผากิเลส มี ตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป,  เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

       (๔)  อีกข้อหนึ่ง,  ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า "บัดนี้ คนทั้งหลาย สมัครสานชื่นบานต่อกัน ไม่ วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดังนมผสมกับน้ำ มองแลกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ภัยคือโจร ป่ากำเริบ ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ใน อาณาจักรแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป, เมื่อมีภัยเช่นนี้ ที่ใดปลอดภัย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น ,  เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะ มนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น  ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่ง เป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย.ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือโจรภัย) นั้นจะ มาถึงเรา  เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว  จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย" ดังนี้  ภิกษุ ท.! นี้เป็นอนาคนภัยข้อที่สาม อันภิกษุผู้มองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผา กิเลส  มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป, เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

       (๕)  อีกข้อหนึ่ง, ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า "บัดนี้ สงฆ์สามัคคี ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มี อุเทสเดียวกัน อยู่เป็นผาสุก; แต่จะมีสักคราวหนึ่ง ที่สงฆ์แตกกัน, เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมีมนสิการถึง คำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือสงฆ์แตกกัน) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร  เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้ แจ้งเสียโดยเร็ว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว  จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย" ดังนี้ ภิกษุ ท.!  นี้เป็นอนาคนภัยข้อที่สาม  อันภิกษุผู้มองเห็น  ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท  มีเพียรเผากิเลส มี ตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป,  เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

       ภิกษุ ท.! ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส  มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป, เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๗/๗๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย