เครื่องประดับของพรหมจรรย์

       ภิกษุ  ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ มีการทำตามสิกขาเป็นอานิสงส์, มีปัญญาเป็นยอด, มี วิมุตตเป็นแก่นสาร, มีสติเป็นอธิปไตย.

        ภิกษุ  ท.! พรหมจรรย์มีการทำตามสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น. สิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจาร เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใส เกิดความเลื่อมใส  พื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น,  ในลักษณะอย่างใด ๆ; สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำ ตามสิกขานั้น  ไม่ขาด  ไม่ทะลุ  ไม่ด่าง  ไม่พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ในลักษระ อย่างนั้น  ๆ.  อนึ่ง สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้น ทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง.  สิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญยัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง,  ในลักษณะอย่างใด ๆ; สาวกนั้นก็เป็นผู้ทำตามสิกขานั้น ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย สามาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ในลักษณะอย่างนั้น ๆ. ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล.

       ภิกษุ  ท.! พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย  เพื่อความสิ้นทุกข์  โดยชอบด้วยประการทั้งปวง. ธรรมทั้งหลาย เรา แสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย   เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบด้วยประการทั้งปวง,  ในลักษณะอย่างใด  ๆ; ธรรมทั้งปวงนั้น  สาวกของเรา ก็พิจารณาเห็นได้อย่างดีด้วยปัญญา, ในลักษณะอย่างนั้น ๆ. ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างนี้แล.

       ภิกษุ  ท.!  พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นสาน เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้, ธรรมทั้ง หลาย เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบทุกประการทั้งปวง, ในลักษณะอย่างใด ๆ ธรรมทั้งปวงนั้น  สาวกของเรา  ก็ถูกต้องได้แล้ว  ด้วยความหลุดพ้น,  ในลักษณะอย่างนั้น ๆ. ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นสาร เป็นอย่างนี้แล.

       ภิกษุ  ท.!  พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างไรเล่า? สติอันสาวกของเราตั้งไว้ด้วยดีใน ภายในว่า ไเราจักทำสิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจารทั่งไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ ดังนี้บ้าง, เราจักประคับ ประคองสิกขาที่เนื่องด้วยอภิสมาจารย์ที่บริบูรณ์แล้วไว้ด้วยปัญญา ในสถานะนั้น  ๆ ดังนี้บ้าง" สติอันสาวก ของเราตั้งไว้ด้วยดีในภายในว่า  "เราจักทำสิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่บริบูรณ์  ให้ บริบูรณ์ ดังนี้บ้าง. เราจักประคับประคองสิกขาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์แล้ว ไว้ด้วยปัญญา ในสถานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง. สติ อันสาวกของเราตั้งไว้ด้วยดีในภายในว่า "เราจักพิจารณาด้วยปัญยาให้ เห็นธรรมที่ยังไม่เห็น  ในสถานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง, เราจักประคับประคองธรรมที่พิจารณาเห็นแล้วไว้ด้วย ปัญญา ในถสานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง". สติอันสาวกของเราตั้งไว้ด้วยดีในภายในว่า "เรารู้จักถูกต้องธรรม ที่ยังไม่ถูกต้อง,  ด้วยความหลุดพ้น, ดังนี้บ้าง, เราจักประคับประคองธรรมที่ได้ถูกต้องแล้วไว้ด้วยปัญญา ในสถานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง ดังนี้. ภิกษุ  ท.!  พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างนี้แล.

       ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าวว่า "พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ มีสิกขาเป็นอานิสงส์, มีปัญญาเป็นยอด, มีวิมุตติเป็นแก่นสาร, มีสติเป็นอธิปไตย" ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายเอาอธิบายที่ว่ามานี้แล.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๙/๒๔๕.
๒.  คำว่า  "ถูกต้อง  ในที่นี้หมายถึง  รู้รสแห่งธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว,  ด้วยอำนาจ  วิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส.