ธรรมทายาท

       ภิกษุ  ท.! พวกเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท (คือรับมรดกธรรม) ของเราเถิด, อย่าป็น อามิสทายา  (คือรับมรดกสิ่งของ)  เลย. ความที่ควรจะเป็นห่วงของเราในพวกเธอทั้งหลาย มีอยู่ว่า "ทำอย่างไรเสีย สาวกทั้งหลายของเรา ก็คงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท "ดังนี้.

       ภิกษุ ท.! ถ้าพวกเธอเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทของเราแล้วพวกเธอทั้งหลายก็จะถูก เขาตราหน้าว่า "สาวกทั้งหลายของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่โดยปริกต หาได้เป็นธรรมทายาทไม่ เลย"  ดังนี้. แม้เราเองก็จะถูกเขายกโทษว่า "สาวกทั้งหลายของพระศาสดา ล้วนแต่เป็นอามิสทายาท กันเป็นปรกติ หาได้เป็นธรรมทายาทไม่เลย" ดังนี้.

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าพวกเธอพากันเป็นธรรมทายาทของเรา  และไม่เป็นอามิสทายาทแล้วไซรื พวก เธอทั้งหลายก็จะได้รับการยกย่องว่า   "สาวกทั้งหลายของพระศาสดา  ล้วนแต่เป็นธรรมทายาทกันอยู่ โดยปรกติ  หาได้เป็นอามิสทายาทไม่"  ดังนี้.  แม้เราเองก็จะได้รับการยกย่องว่า  "สาวกทั้งหลาย ของพระศาสดา ล้วนแต่พากันเป็นธรรมทายาททั้งนั้น หาได้เป็นอามิสทายาทไม่ดีเลย" ดังนี้ด้วยเหมือนกัน.

       ภิกษุ  ท.!  เพราะฉะนั้น  ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงพากันเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่างได้เป็นอามิสทายาทเลย.  ความที่ควรจะเป็นห่วงของเราในพวกเธอทั้งหลาย มีอยู่ว่า "ทำอย่าง ไรเสีย สาวกทั้งหลายของเราพึงเป็นธรรมทายาทเถิด อย่างได้เป็นอามิสทายาทเลย" ดังนี้.

บาลี พระพุทธภาษิต ธัมมทายาทสูตร มู. ม. ๑๒/๒๑/๒๑.