ผู้เอาตัวรอดได้เพราะสังวรด้วยความรู้

       ภิกษุ  ท.!  เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่  ซึ่ง (เรื่องราวของ) ตา ตามที่เป็นจริง, รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง (เรื่องราวของ) รูป ตามที่เป็นจริง, รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง (เรื่องราวของ) ความรู้แจ้งทางตา ตามที่เป็น จริง,  รู้อยู่เห็นอยู่  ซึ่ง (เรื่องราวของ) สัมผัสทางตา ตามที่เป็นจริง, และรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง (เรื่อง ราวของ) เวทนา อันเกิดจากสัมผัสทางตา ที่เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ตามที่เป็นจริง; เขาย่อมไม่หลงรักในตา ไม่หลังรักในรูป ไม่หลงรักในความรู้แจ้งทางตา ไม่หลงรักในสัมผัสทางตา และ ไม่หลังรักในเวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางตา ทั้งที่เป็นสุข เป็นทุกข์ และไม่ทุกข์ไม่สุข.

       เมื่อไม่หลงรัก  ไม่ผูกใจ  ไม่หลงไหลไปตาม แต่มีปรกติพิจารณาเห็นโทษของสิ่งนั้น ๆ อยู่ ดังนี้ แล้ว ความยึดถือในขันธ์ทั้งห้าของเขา ก็หยุดฟักตัวในกาลต่อไป; ตัณหาคือความทะยานอยากอันระคนด้วย ความเพลิดเพลินและความกำหนัดรัก   ซึ่งมีปรกติเพลินเฉพาะต่ออารมณ์นั้น   ๆ   ของบุคคลนั้น   ก็ เสื่อมถอยคลายคืน; ต่อนั้นไป ความกระวนกระวายก็เสื่อมถอยคลายคืน; ความกระวนกระวายทางจิตก็ เสื่อมถอยคลายคืน; ความร้อนรุมทางกายก็เสื่อมถอยคลายคืน; ความร้อนรุมทางจิตก็เสื่อมถอยคลายคืน; ความร้อนกลุ่มทางกายก็เสื่อมถอยคลายคืน;  ความร้อนกลุ่มทางจิตก็เสื่อมถอยคลายคืน; เขาได้เสวย สุขทั้งทางกายและทางใจ; ทิฏฐิความเห็นของเขา ผู้เป็นแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ (ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง); ความคิดของผู้เป้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นสัมาสังกัปปะ (ความมุ่งหมายที่ถูกต้อง); ความระลึก ของผู้เป็นแล้วอย่างนี้   ย่อมเป็นสัสัมมาวายามะ   (ความพยายามที่ถูกต้องป;  ความระลึกของผู้เป็น แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นสัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง); สมาธิของผู้เป้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นไว้ในแนวที่ถูกต้อง);  กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ก็บริสุทธิ์ดีแล้วมาตั้งแต่ แรก; อริยอัฏฐังคิกมรรคของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ด้วยอาการอย่างนี้.

       เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญอยู่อย่างนี้  สติปัฏฐานสี่---สัมมัปปธานสี่---อิทธิบาทสี่--- อินทรีย์ห้า---พละห้า---โพชฌงค์เจ็ด--- ย่อมถึงความงอกงามบริบูรณ์ได้แท้. ธรรมสองอย่าของเขาคือ สมถะ และวิปัสสนา ช่อว่าเข้าคู้กันได้อย่างแน่นแฟ้น---

       (ในกรณีของ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน)

๑. บาลี พระพุทธภาษิต สฬายตนวิภังคสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓/๘๒๘.