ผู้พิชิตสงครามถึงที่สุดแล้ว

       ภิกษุ  ท.! นักรบอาชีพบางประเภท ทนต่อผลคลีได้, ทนต่อยอดธงชัยของข้าศึกได้, ทนต่อเสียง โห่ร้องได้, ทนต่อากรสัมประหารกันได้, เข้าสู้ เข้าผจญการสงครามนั้น เป็นผู้พิชิตสงครม แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้. นักรบอาชีพบางประเภทใน กรณีนี้เป็นเช่นนี้ เป็นักรบอาชีพประเภทที่ห้า มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก...

       ภิกษุ  ท.!  นักบวชเปรียดบ้วยนักรบอาชีพชนิดนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ใน กรณีนี้คือ  ภิกษุทนต่อ  "ผงคลี" ได้, ทนต่อ "ยอดธงชัยของข้ษสึก" ได้, ทนต่อ "เสียงโห่ร้อง" ได้, ทนต่อ   "การสัมประหารกัน"  ได้,  เธอสู้เข้าผจญการสงครมนั้น  เป็นผู้พิชิตสงคราม  แล้วเข้ายึด ครองสนามรบไว้ได้.

       ข้อว่า "สงครามวิชัย" สำหรับภิกษุนั้น ได้แก่อะไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุอยู่ป่า หรือ อยู่โคนไม้  หรืออยู่เรือนว่าง,  มีมาตุคามเข้าไปนั่งเบียดนอนเบียด  นั่งทับนอนทับ. เมื่อเธอถูกระทำ เช่นนั้น, ก็สลัดทิ้งปลดเปลื้องเอาตัวรอด หลีกไปได้ตามประสงค์

       ภิกษุนั้น ยอ่มเสพเสนาสนะอันสงัดเงียบ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่ แจ้ง  ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธอไปสู่ป่าหรือไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่างแล้ว ย่อมนั่งคู้ขา เข้าเป็นบัลลังก็ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระ จิตจากอภิชฌา; ละความประทิษร้ายด้วยอำนาจพยาบาท มีจิตไม่พยายาท เป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความ เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย  คอยชำระจิตจากความประทุษร้ายด้วยอำนาจพยาบาท; ละถีนมิทธะ มีจิต ปราศจากถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติสัปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิธะ; ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ; ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า "นี่อะไร นี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะ ความสงสัย)", คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา.

       ภิกษุนั้น  ครั้นละนิวรณืห้าประการ  อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตและทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว, เพระาสงัดจากกามทั้งหลาย---ฯลฯ--- บรรลุฌานที่หนึ่ง---ที่สอง---ที่สาม---และที่สี่ แล้ว แลอยู่.

       เธอ  ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส่ ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควร แก่การงาน  ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยาณ. เธอย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงว่านี้ทุกข์,  นี้เห็นให้เกิดทุกข์,  นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่ เหลือแห่งทุกข์; และย่อมรู้ขัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ,  นี้ข้อปฏัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ. เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น จากกามาสวะ, ภวาสวะ และอวิชชาสวะ; ครั้นจิดหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณว่า หลุดพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ชัด ว่า  "ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มีอีก" ดังนี้.

       ความที่ภิกษุนั้นสลัดมาตุคามทั้งพาตัวรอดไปได้   กระทั้งถึงการทำตนให้สิ้นอาสวะนี้ได้ในข้อว่า "สงครามวิชัย" สำหรับภิกษุนั้น. ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่ทนต่อผลคลีได้, ทนต่อยอดธงชัย ของข้าศึกได้,  ทนต่อเสียงโห่ร้องได้, ทนต่อการสัมประหารกันได้, เข้าสู้เข้าผจญสงครามนั้น เป็นผู้ พิชิตสงคราม  แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้  ฉันใด;  ภิกษุ  ท.!  เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบ อาชีพชนิดนั้นเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท.! นักบวชบางคนในกรณีนี้ เป็นเช่นนี้ เป็นนักบวชเปรียบด้วย นักรบอาชีพประเภทที่ห้า มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุ แล.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๑, ๑๐๔/๗๕, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
๒. ต่อจากเรื่องที่ ๗ หมวดที่ ๒ ว่าด้วยการไม่สังวร.