ช้างนาบุญ

       ภิกษุ ท.! ช้างหลวงที่ประกอบด้วยองค์ห้า ยอ่มเป็นช้างคู่ควรแก่พระราชา เป็นโภคะประจำองค์ พระราชา นับว่าเป็นองค์อวัยวะของพระราชา องค์ห้าอะไรบ้างเล่า? องค์ห้า คือ ช้างหลวงในกรณีนี้ เป็นช้างที่อดทนต่อรูปทั้งหลาย ๑. อดทนต่อเสียงทั้งหลาย ๑. อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย ๑. อดทนต่อรสทั้ง หลาย ๑. อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย ๑.

       ภิกษุ ท.! ช้างหลวงที่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อ ออกศึก ได้เห็นหมู่พลช้างก็ดี, หมู่พลม้าก็ดี, หมู่พลรถก็ดี หมู่พลราบก็ดี, (ของฝ่ายข้าศึก) แล้ว ก็ไม่ ระย่อ ห่อหด ย่อมยืนหยัด ยอ่มอาจที่จะเข้าสู่การรับได้. ภิกษุ ท.! ช้างหลวงอย่างนี้ ชื่อว่าอดทนต่อรูปทั้ง หลาย.

       ภิกษุ ท.! ช้างหลวงที่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ ช้างหลวง เมื่อออกศึก   ได้เห็นหมู่พลช้างก็ดี,  หมู่พลม้าก็ดี,  หมู่พลรถก็ดี  หมู่พลราบก็ดี,  ได้ยินเสียงกึกก้อง แห่งกลองบัณเฑาะว์  สัง และมโหระทึกก็ดี, แล้วก็ไม่ระย่อ ห่อหด ย่อมยืนหยัด ยอ่มอาจที่จะเข้าสู่การ รบได้. ภิกษุ ท.! ช้างหลวงอย่างนี้ ชื่อว่าอดทนต่อเสียงทั้งหลาย.

       ภิกษุ  ท.! ช้างหลวงที่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ ช้างหลวง เมื่อออกศึก    ได้กลิ่นมูตและกรีส   (ปัสสาวะและอุจจาระ)   ของช้างทั้งหลาย   ชนิดที่เป็นชั้นจ่า เจนสงครามเข้าแล้ว  ก็ไม่ระย่อ  ห่อหด  ย่อมยืนหยัด ยอ่มอาจที่จะเข้าสู่การรบได้. ภิกษุ ท.! ช้าง หลวงอย่างนี้ ชื่อว่าอดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.

       ภิกษุ ท.! ช้างหลวงที่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ ช้างหลวง เมื่อออกศึก  เมือ่ไม่ได้รับการทอดหญ้าและน้ำมื้อหนึ่ง  หรือสองมือ สามมือ สี่มือ หรือห้ามือ ก็ไม่ระย่อ ห่อหด ย่อมยืนหยัด ย่อมอาจที่จะเข้าสู่การรบได้. ภิกษุ ท.! ช้างหลวงอย่างนี้ ชื่อว่าอดทนต่อรสทั้ง

       ภิกษุ ท.! ช้างหลวงที่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก  ถูกศรที่เขายิงมาอย่างแรงเข้าหนึ่งลูก หรือสองลูก สามลูก สี่ลูก หรือห้าลูก ไม่ ระย่อ ห่อหด ย่อมยืนหยัด ยอ่มอาจที่จะเข้าสู่การรบได้. ภิกษุ ท.! ช้างหลวงอย่างนี้ ชื่อว่าอดทนต่อ โผฏฐัพพะทั้งหลาย.

       ภิกษุ  ท.!  ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่า บูชาด้วยของที่จัดไว้บูชา, น่าต้อนรับด้วยของที่จัดไว้ต้อนรับ, น่ารับทักษิณาทานที่อุทศเพื่อผู้ตาย, น่าไหว้, และเป็นเนื้อนาบุญชั้นดีเยี่ยมของโลก.  เหตุห้าอย่างอะไรบ้างเล่า?  ห้าอย่างคือ เป็นผู้อดทนต่อรูปทั้ง หลาย, อดทนต่อเสียงทั้งหลาย, อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย, อดทนต่อรสทั้งหลาย, อดทนต่อโผฏฐัพพะ ทั้งหลาย.

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นรูปด้วย ตาแล้ว ไม่กำหนัดย้อมใจในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนด ย่อมสามารถที่จะดำรงจิตให้เป็นปกติอยู่ได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า อดทนต่อรูปทั้งหลาย.

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ฟังเสียง ด้วยหูแล้ว ไม่กำหนัดย้อมใจในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนด ย่อมสามารถที่จะดำรงจิตให้เป็นปกติอยู่ ได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า อดทนต่อรูปทั้งหลาย.

       ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ดมกลิ่นด้วย จมูกแล้ว ไม่กำหนัดย้อมใจในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนด ย่อมสามารถที่จะดำรงจิตให้เป็นปกติอยู่ได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ลิ้มรสด้วย ลิ้นแล้ว ไม่กำหนัดย้อมใจในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนด ย่อมสามารถที่จะดำรงจิตให้เป็นปกติอยู่ได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า อดทนต่อรสทั้งหลาย.

       ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สัมผัส โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่กำหนัดย้อมใจในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนด ย่อมสามารถที่จะดำรง จิตให้เป็นปกติอยู่ได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

       ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่าบูชาด้วยของที่จัดไว้บูชา, น่าต้อนรับด้วยของที่จัดไว้ต้อนรับ, น่ารับทักษิณาทานที่อุทิศเพื่อผู้ตาย, น่าไหว้, และเป็นเนื้อนาบุญชั้นดี เยี่ยมของโลก แล.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๗๘/๑๓๙.