อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้สมบูรณ์

       ภิกษุ  ท.!เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่เถิด. พวกเธอทั้งหลาย จงสำรวม ด้วยปาติโมกขสังวร  สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด; จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มี ประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

       ภิกษุ  ท.!ถ้าภิกษุหากจำนงว่า "เราพึงเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่เคารพ ที่ยกย่อง ของเพื่อนผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ด้วกยันทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว, เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงตามประกอบใน ธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตใจภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา และให้ สุญญาคารวัตต์เจริญงอกงามเถิด.

       ภิกษุ ท.!ถ้าภิกษุหากจำนงว่า "เราพึงเป็นผู้มีลาภด้วยบริกขารคือ จวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขารทั้งหลาย" ดังนี้ก็ดี, ---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าภิกษุหากจำนง  ว่า "เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริกขารของทายกเหล่าใด, การกระทำเหล่านั้น พึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ทายกเหล่านั้น" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "ญาติสาโลหิตทั้งหลาย ซึ่งตายจากกันไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงเราอยู่, ข้อนั้นจะพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่เขาเหล่านั้น" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงอดทนได้ซึ่งความไม่ยินดี และความยินดี, อนึ่ง ความ ไม่ยินดีอย่าเบียดเบียนเรา,  เราพึงครอบงำย่ำยีควาไม่ยินดีซึ่งยังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด"ดังนี้ก็ดี,-- -ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราเราพึงอดทนความขลาดกลัวได้, อนึ่ง ความขลาดกลัว อย่าเบียดเบียนเรา, เราพึงครอบงำย่ำยีความขลาดกลัวที่ยังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ ---

       ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าภิกษุหากจำนง  ว่า  "วิโมกข์เหล่าใด ก้าวล่วงรูปเสียแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูป เป็นของสงบ, เราพึงถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้นด้วยนามกายอยู่เถิด" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้อยู่ข้างหน้า" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงเป็นสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบางแห่งราคะ โทสะ และโมหะ พึงมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วพึงทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงเป็ฯโอปปาติกะ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ เบื้องต่ำห้า พึงปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าภิกษุหากจำนง  ว่า "เราพึงแสดงอิทธิวิธีอย่างต่าง ๆ ได้---" ดังนี้ก็ดี,--- ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าภิกษุหากจำนง  ว่า "เราพึงมีทิพยโสต---" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคล เหล่าอื่น ด้วยจิตของตน---" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงตามระลึกถึงภพที่เคยอยู่ในกาลก่อนได้หลาย ๆ อย่าง---" ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ  ท.!  ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุทเพย์ อันหมดจดเกิน จักษุสามัญของมนุษย์..." ดังนี้ก็ดี,---ฯลฯ---

       ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า "เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตต อันหาอาสวะ มิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงแล้วแล อยู่" ดังนี้ก็ดี, เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตใน ภายในเป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน  ประกอบพ้อมแล้วด้วยวิปัสสนา  และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้ง หลายเจริญงอกงามเถิด.

       คำใดที่เราผู้ตถาคตกล่าวแล้วว่า  "ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ อยู่เถิด,  เธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด; จงเป็น ผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด" ดังนี้; คำนั้น อันเราตถาคตอาศัยเหตุผลดังกล่าวนี้แล จึงได้กล่าวแล้ว.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต อากังเขยยสูตร มู. ม.๑๒/๕๘๑๗๓.