ศีลสมบัติเป็นรุ่งอรุณแห่งอริยมรรค

       ภิกษุ  ท.!เมื่ออาทิตย์อุทัยขึ้น  การขึ้นมาแห่งอรุณ (แสงเงินแสงทอง) ย่อมเป็นเบื้องต้น เป็น นิมิตที่แลเห็นก่อน;  ภิกษุ ท.!ฉันใดก็ฉันนั้น : เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ของภิกษุ, ศีล สมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ย่อมเป็นหลักเบื้องต้น เป็นนิมิตเบื้องต้น. ภิกษุ ท.!เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล แล้ว  เธอต้องหวังข้อนี้ได้ คือว่า เธอจักอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เกิดขึ้นได้ จักทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้มากขึ้นได้.

      ภิกษุ ท.!ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ยอ่มอบรมอริยอัฐฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำ อริยอัฏญังคิกมรรคให้มากขึ้นได้  เป็นอย่างไรเล่า?  ภิกษุ ท.!ในธรรมวินัยนี้ ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิ ย่อม อบรมสัมมาสังกัปปะ  ยอ่มอบรมสัมมาวาจา  ยอ่มอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อม อบรมสัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติ และย่อมอบรมสัมมาสมาธิ, ชนิดที่มีการนอกออก ซึ่ง ราคะ - โทสะ - โมหะ เสียได้  เป็นผลสุดท้าย.  ภิกษุ ท.!ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฏฐังคิมาาคให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๘/๑๔๐, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.