ศีลเป็นฐานรองรับโพชฌงค์เจ็ด

       ภิกษุ  ท.!เปรียบเสมือนสัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  สำเร็จอริยายถสี่ คือ เดินในบางคราว ยืนใน บางคราว นั่งในบางคราว นอนในบางคราว, สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่เหนือแผ่นดิน จึง สำเร็จอิริยาบถสี่นั้นได้ฉันใด;  ภิกษุ  ท.!ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรม โพชฌงค์ ๗ ให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ให้มีมากขึ้นได้.

       ภิกษุ  ท.!ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมดพชฌงค์ ๗ ให้เกิดขึ้นได้ ยอ่มทำโพชฌงค์ ๗ ให้มีมากขึ้นได้  เป็นอย่างไรเล่า?  ภิกษุ  ท.!ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยอ่มอบรมสติสัมโพชฌงค์ ย่อมอบรม ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  ยอ่มอบรมวิริยสัมโพชฌงค์  ยอ่มอบรมปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมอบรมสมาธิสัมโพชฌงค์ และย่อมอบรม อุเบกขาสัมโพชฌงค์ล ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง. ภิกษุ  ท.! ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมพบรมโพชฌงค์ ๗ ให้เกิดขึ้นได้ ยอ่มทำโพชฌงค์ ๗ ให้มีมากขึ้นได้.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๑๒/๔๐๙.