ศีลเป็นฐานรองรับสติปัฏฐานสี่
(อีกนัยหนึ่ง)

       ภิกษุ  ท.!ถ้าอย่างนั้น  ในเรื่องนี้ เธอจงชำระสิ่งอันเป็นเลื่องต้นในกุศลทั้งหลายให้บริสุทธิ์เสีย ก่อนเถิด. ก็อะไรเป็นสิ่งเบื้องต้นของสิ่งอันเป็นกุศลทั้งหลายเล่า? ภิกษุในกรณีนี้ เธอจงเป็นผู้สำรวมด้วย ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด, จงมีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มี ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

       ภิกษุ!  โดยกาลใดแล เธอจักสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรติ เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย; โดยกาลนั้น เธอ อาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด. สติปัฏฐานสี่อะไรบ้างเล่า? สติปัฏฐานสี่คือ :-

       ภิกษุ! ในกรณีนี้ เธอจงพิจารณาเห็นถายในกายอยู่เนือง ๆ, จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง หลายอยู่เนือง ๆ, จงพิจาณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ, จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ เป็นผู้มีความเพียร เผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

       ภิกษุ! แต่กาลใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐานสี่เหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้; แต่กาลนั้น  คืนหรือวันของเธอจักผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว  หา ความเสื่อมมิได้.

       ครั้งนั้น  ภิกษุรูปนั้น ซาบซึ้งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.  ต่อมา  เธอปลีกตัวออกจากหมู่  อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท เพียรเผากิเลส ส่งตนไปในแนวธรรม จนสามารถทำให้แจ้งถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันเป็นประโยชน์ชั้นยอด ได้ไม่นานด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ทันตาเห็น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งแล.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๙/๘๒๘, ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ที่เชตวัน ซึ่งท่านผู้นี้ ต้องการจะออกไปทำความเพียร  เผากิเลส,  ทูลขอให้พระองค์แสดงธรรมย่อ  ๆ พอที่จะส่งจิตใจไป ตามธรรมนั้นได้.