อริยกันตศีล

       ภิกษุ  ท.!อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลาย อันเป็นศีลที่ พระอริยเจ้าพอใจ, คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่างไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙/๑๔๑๒, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน
๒. ศีลไม่ขาด หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อต้นหรือข้อปลายข้อใดข้อหนึ่ง, ศีลไม่ทะลุ หมายถึงไม่ ล่วงสิกขาบทข้อลกาง ๆ, ศีลไม่ด่าง เพราะไม่ขาดเป็นหมู่ ๆ หมู่ละหลายสิกขาบทและหลายหมู่, ศีลไม่ พร้อย  เพราะไม่ขาดแห่งละสิกขาบทหลาย  ๆ  แห่ง, ศีลเป็นไท คือไม่เป็นทสตัณหา ไม่รักษาศีบแลล การค้ามุ่งเอาเครื่องตอบแทน, ศีลที่ผู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ใช้ได้ เพราะผู้รู้ท่านใครครวญเสียก่อนจึงสรร เสริญว่าดีว่าชอบ,  ศีลที่ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัฯหาทิฏฐิ  หมายถึง ศีลที่ตัฯหาไม่แตะต้อง ทิฏฐิมานะไม่แตะ ต้อง คือ ไม่ถือศีลเพราะยากจนเป็นเหตุให้กระด้างกระเดื่อง หรือเป็นเครือ่งยกตนข่มท่านไป เป็นต้น, และศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธินั้น เป็นศีลที่ผู้รักษาเอาใจใส่พิจารณาตรวจสอบอยู่เสมอ ดังท่านเปรียบว่า เหมือนโคแม่ลูกอ่อนใส่ใจดูลูกไม่ห่างตา แม้บดเอื้อง ตาก็คอยชำเลืองดูลูก, กิริยาที่พิจารณาศีล นับเข้า ในสีลานุสสติกรรมฐาน  และจิตของผู้มีศีลอย่างนี้  ใกล้สมาธิ  และศีลเช่นนี้เป็นฐานรองรับสมาธิได้ดีที เดียว.