ลิงติดตัง

        ภิกษุ ท.! ประเทศแห่งขุนเขาหิมพานต์ อันเป็นประเทศที่ขระขระไม่สม่ำเสมอ ไปลำบาก ไม่เป็น ที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงและของหมู่มนุษย์  ก็มีอยู่, ที่เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิง แต่ไม่เป็นที่เที่ยวไปของหมู่ มนุษย์ก็มีอยู่;  และภูมิภาคแห่งขุนเขาหิมพานต์ซึ่งราบเรียบ เป็นที่น่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นที่เที่ยวไปได้ทั้งของ ฝูงลิงและของหมู่มนุษย์ ก็มีอยู่.

       ภิกษุ  ท.!  ในที่นั้นแหละ พวกพรานวางตังเหนียวไว้ในกลางทางเดินของลิง เพื่อดักลิง. บรรดาลิงฝูงนั้น ลิงตัวใด ไม่เป็นชาติลิงโง่ ไม่เป็นชาติลิงโลเล, ลิงนั้นเห็นตังเหนียวนั้นแล้ว ย่อมเว้น ออกไกลทีเดียว. ส่วนลิงตัวใดเป็นชาติลิงโง่ เป็นชาติลิงโลเล, ลิ่งนั้นเข้าไปใกล้ตังเหนียวนั้นแล้ว ก็ เอามือจับดู มือนั้นก็ติดตัง มันจึงเอามือข้างที่สองจับด้วย ตั้งใจว่าจักเปลืองมือข้างที่ติดตังออก, มือข้างที่ สองนั้นก็เลยติดตังเข้าด้วย; มันจึงเอาเท้าข้างหนึ่งผลักด้วยตั้งใจว่า จักช่วยเปลื้องมือทั้งสองที่ติดตังออก, เท้านั้นก็เลยติดตังด้วย; มันจึงเอาเท้าที่เหลืออีกข้างหนึ่งผลักด้วย ตั้งใจว่า จะช่วยเปลื้องมือทั้งสองกับ เท้าข้างหนึ่งออก,  เท้าข้างที่สองนั้นก็เลยติดตังเข้าอีก;  มันจึงเอาปากกัดด้วย คิดตามประสามของมัน ว่า จักช่วยเปลื้องมือทั้งสองและเท้าทั้งสองที่กำลังติดตังอยู่ออก, ปากนั้นก็เลยติดตังเข้าด้วยอีก. ภิกษุ ท.! ลิงตัวนั้นถูกตังเหนียวตรึง  ๕  ประการ ด้วยอาการอย่างนี้, นอนถอนใจใหญ่อยู่ ถึงความ พินาศย่อยยับแล้ว ตามแต่นายพรานจะทำประการใด. ภิกษุ ท.! นายพานแทงลิงตัวนั้นแล้วยกขึ้นจาก ตังไม่ยอมทิ้งที่ไหน  หลีกไปสู่ที่ตามต้องการ. ภิกษุ ท.! เพราะข้อที่ลิงเที่ยวไปในถิ่นอื่น ซึ่งเป็นที่ไม่ควร เที่ยวไป จึงเป็นได้ถึงอย่างนี้.

       ภิกษุ ท.! เพราะฉนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย อย่างได้เที่ยวไปในวิสัยอื่น ซึ่งมิใช่วิสัยควร เที่ยวไป; เมื่อเที่ยวไปในวิสัยอื่นซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไป มารจักได้ช่องทาง มารจักได้โอกาสทำตาม อำเภอใจของมัน.

       ภิกษุ  ท.! ก็วิสัยอื่น ซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไปของภิกษุ เป็นอย่างไรเล่า? วิสัยอื่นนั้นได้แก่ กามคุณ ๕. กามคุณ ๕ อย่างไรกันเล่า? ห้าอย่างคือ รูป ที่จะพึงเห็นด้วยตา, เสียง ที่จะพึงฟังด้วยหู, กลิ่น ที่จะพึงรู้สึกด้วยจมูก, รส ที่จะพึงรู้สึกด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้สึกด้วยกาย, (ทั้ง ๕ อย่างนี้) อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ เป็นสิ่งที่ยั่วยวนชวนให้รักตั้งอยู่ด้วยความรักใคร่ เป็นที่ตั้งแหงความกำหนดย้อมใจ. ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นวิสัยอื่น ซึ่งมิใช่วิสัยควร เที่ยวไปของภิกษุเลย.

บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๙๘-๙/๗๐๑-๒, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.