ดาบที่หมกอยู่ในจีวร

       ภิกษุ  ท.! มหาชนเขารู้จักเธอทั้งหลายว่า "สมณะ สมณะ" ดังนี้, ถึงเธอทั้งหลายเล่า เมื่อถูก เขาถามว่า ท่านทั้งหลาย เป็นอะไร? พวกเธอทั้งหลายก็ปฏิญาณตัวเองว่า "เราเป็นสมณะ" ดังนี้

       ภิกษุ ท.! เมื่อเธอทั้งหลาย มีชื่อว่า สมณะ และปฏิญาณตัวเองว่าเป็นสมณะ อยู่อย่างนี้แล้ว พวก เธอทั้งหลาย  จะต้องสำเหนียกใจว่า "ข้อปฏิบัติอันใด เป็นข้อปฏิบัติสมควรแก่สมณะ เราจักปฏิบันิข้อ ปฏิบัติอันนั้น. ด้วยการปฏิบัติของเราอย่างนี้ สมัญญาว่าสมณะของตนก็จักเป็นจริง และคำปฏิญาณว่า สมณะ ของเราก็จักสมจริง;  อนึ่งเล่า เราบริโภคใช้สอย บาตร จีวร อาหารบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริกขารของทายกเหล่าใด, การบำเพ็ญทานของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่; และการบรรพชาของเราเอง  ก็จักไม่เป็นหมันเปล่า  แต่จักมีผลมีกำไรแก่เรา" ดังนี้ ภิกษุ ท.! พวก เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้เถิด.

       ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มีอภิชฌามาก ยังละอภิชฌาไม่ได้, มีจิตพยาบาท ยังละพยาบาท ไม่ได้,  เป็นผู้มักโกรธ ยังละความมักโกรธไม่ได้, เป็นผู้มักถือความโกรธ ยังละความถือโกรธไม่ได้, เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ยังละความลบหลู่คุณท่านไม่ได้, เป็นผู้ยกตนเทียมท่าน ยังละความยกตนเทียมท่านไม่ ได้, เป็นผู้ริษยา ยังละความริษยาไม่ได้, เป็นคนตระหนี่ ยังละความตระหนี่ไม่ได้ เป็นคนโอ้อวด ยังละ ความโอ้อวดไม่ได้,  เป็นคนมีมายา  ยังละความมายาไม่ได้  , เป็นคนมีความปรารถนาลามก ยังละ ความปรารถนาลามกไม่ได้, เป็นคนมีความเห็นผิด ยังละความเห็นผิดไม่ได้;

       ภิกษุ  ท.! เพระาละกิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมัวหมองของสมณะ เป็นโทษของสมณะ เป็นน้ำฝาดของสมณะ   เป็นเหตุให้สัจว์เกิดในอบาย   และมีวิบากอันสตัว์ทั้งหลายจะต้องเสวยในทุคติ เหล่านี้ ยังไม่ได้; เราก็ไม่กล่าวภิกษุนั้นว่า "เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติสมควรแก่สมณะ" ดังนี้.

       ภิกษุ  ท.!  เปรียบเหมือน  อาวุธอันคมกล้า  มีคมสองข้าง ที่เขาลับไว้อย่างดีแล้ว หุ้มห่อไว้ ด้วยผ้าสังฆาฏิของภิกษุนั้นเอง  ฉันใด; ภิกษุ ท.! เรากล่าวการบรรพชาของภิกษุนี้ว่า เปรียบกันได้กับ อาวุธมีคมสองข้างนั้น  ฉันนั้น.  ภิกษุ ท.! เราไม่กล่าวความเป็นสมณะว่า เป็นสิ่งที่มีดได้ เพราะเหตุ สักว่าการทรงสังฆาฏิของผู้ที่ทรงสังฆาฏิ ฯลฯ เป็นต้นเลย.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต จูฬอัสสปุรสูตร มู. ม. ๑๒/๕๑๒๑๔๗๙๔๘๐, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ อัสสปุรนิคมของชาวอังคะ.
๒. บาลีว่า มตชนฺนาม อาวุธชาตํ, อรรถกถาให้คำอธิบายไว้อย่างยืดยาว ได้ใจความโดยสรุปว่า เป็นดาบที่ตีขึ้นด้วยเหล็กที่ชำระด้วยวิธีที่ดีที่สุดของสมัยนั้น,  คือ  เอาผลเหล็กให้นกกะเรียนกินเข้าไป แล้วถ่ายออกมาหลาย ๆ ครั้ง แล้วจึงนำมาตีเป็นดาล มีคมสองข้าง (ทำนองพระขรรค์).