คนไม่ควรเลี้ยงโค

       ภิกษุ ท.! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างแล้ว ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงโค และทำ ฝูงโคให้เจริญได้. ความบกพร่อง ๑๑ อย่าง อะไรกันเล่า?  ๑๑ อย่างคือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่รู้เรื่องร่างกายของโค, เป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ ของโค, เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล, เป็นผู้ไม่สุมควัน, เป็นผู้ไม่รู้จักท่าที่ควรนำโคไป, เป็น ผู้ไม่รู้จักน้ำที่โคควรดื่ม, เป็นผู้ไม่รู้จักทางที่โคควรเดิน, เป็นผู้ไม่ฉลาดในที่ที่ควรไปล เป็นผู้รีดนมโคเสีย หมด ไม่มีส่วนเหลือ, เป็นผู้ไม่ให้เกียรติแก่โคอุสภอันเป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูง ด้วยการเอาใจใส่เป็น พิเศษ, ภิกษุ ท.! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างนี้แล ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงโค และ ทำฝูงโคให้เจริญได้;

       ภิกษุ  ท.!  ฉันใดก็ฉันนั้น  : ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ ประการแล้ว ไม่ควรที่จะถึงความ เจริญงอกงามไพบูลย์  ในธรรมวินัยนี้.  องค์คุณ  ๑๑ ประการอะไรกันเล่า? ๑๑ ประการคือ ภิกษุใน กรณีนี้  เป็นผู้ไม่รู้จักรูป,  เป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ, เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล, เป็นผู้ไม่ สมควร, เป็นผู้ไม่รู้จักเท่าที่ควรไป, เป็นผู้ไม่รู้จักน้ำที่ควรดื่ม, เป็นผู้ไม่รู้จักทางที่ควรเดิน, เป็นผู้ไม่ ฉลาดในที่ที่ควรไป,  เป็นผู้รีด "นมโค" เสียหมด ไม่มีส่วนเหลือ เป็นผู้ไม่บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ด้วยการบูชานั้นพิเศษ.

พวกไม่รู้จักรูป

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า?

       ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ขัดตามที่เป็นจริงว่า "รูปชนิดใดก็ตาม ทั้งหมดนั้นชื่อว่ารูป, คือ มหาภูตรูปมี  ๔, และอุปาทายรูป คือ รูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้ง๔" ดังนี้ ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักรูป เป็นอย่างนี้แล.

 

พวกไม่ฉลาดในลักษณะ

       ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไรเล่า?

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า "คนพาล มีกรรมเป็นเครื่องหมาย, บัณฑิต ก็มีกรรมเป็นเครื่องหมาย" ดังนี้เป็นต้น, ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล.

 

พวกไม่เขี่ยไข่ขาง

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรกันเล่า?

       ภิกษุ  ท.!  ภิกษุในกรณีนี้  ไม่อดกลั้น  ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ทำให้หมดสิ้น ซึ่ง ความตรึกเกี่ยวด้วยกาม,  ความตรึกเกี่ยวด้วยความมุ่งร้าย,  ความตรึกเกี่ยวด้วยการทำความลำบาก แก่คนอื่น ที่เกิดขึ้นแล้ว; และไม่อดกลั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ทำให้หมดสิ้น ซึ่งสิ่งอันเป็น อกุศลลามกทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ  ท.!  ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล.

 

พวกไม่ปิดแผล

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างไรกันเล่า?

       ภิกษุ  ท.!ภิกษุในกรณีนี้  เห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้น, ถูก ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย,  รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, แล้วก็มีจิตยึดถือเอา ทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้ง หมด และการถือเอาโดยการแยกเป็นส่วน ๆ. สิ่งอันเป็นอกุศลลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไป ตามผู้ที่ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ. เธอไม่ปฏิบัติเพื่อ ปิดกั้น อินทรีย์นั้นไว้, เธอไม่รักษาและไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, ภิกษุท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิด แผล เป็นอย่างนี้แล.

 

พวกไม่สุมควัน

       ภิกษุท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควัน เป็นอย่างไรกันเล่า?

       ภิกษุท.! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่น โดยพิสดาร. ภิกษุท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควัน เป็นอย่างนี้แล

 

พวกไม่รู้จักท่าที่ควรไป

       ภิกษุท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างไรกันเล่า?

       ภิกษุท.!  ภิกษุในกรณนี้  เมื่อเข้าไปาพวกภิกษุ ซึ่งเป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม  ทรงวินัย  ทรงมาติกา,  ก็ไม่ไต่ถาม ไม่ไล่เลียงโดยทำนองนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! พระพุทธวจนะนี้  เป็นอย่างไร?  ความหมายแห่งพระพุทธวจนะนี้  มีอย่างไร?" ดังนี้เป็นต้น ตามเวลา อันสมควร;  ท่านพหุสูตเหล่านั้น จึงไม่ทำข้อความที่ยังลี้ลับให้เปิดเผย ไม่ทำข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย นานาประการให้แก่ภิกษุนั้นได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.

 

พวกไม่รู้จักน้ำที่ควรดื่ม

       ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักน้ำที่ควรดื่ม เป็นอย่างไรเล่า?

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ เธอก็ไม่ ได้ความรู้ธรรม ไม่ได้ความรู้อรรถ และไม่ได้ความปราโมทย์อันอาศัยธรรม. ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้ จักน้ำที่ควรดื่ม เป็นอย่างนี้แล

 

พวกไม่รู้จักทางที่ควรเดิน

       ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นอย่างไรเล่า?

       ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปด.ภิกษุ ท.! ภิกษุ เป็นผู้ไม่รู้จักทางที่ควรเดิน

 

พวกไม่ฉลาดในที่ที่ควรไป

       ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างไรเล่า?

       ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ยอ่มไม่รู้จัดแจ้งตามที่เป็นจิรง ซึ่งสติปัฏฐานสี่. ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่ ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.

 

พวก รีด "นมโค" เสียหมด ไม่มีส่วนเหลือ

       ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้รีด "นมโค" เสียหมด ไม่มีส่วนเหลือ เป็นอย่างไรกันเล่า?

       ภิกษุ  ท.!  พวกคฤหบดีผู้มีศัทธา  ย่อมปวารณาไม่ขีดขั้น แก่ภิกษุในพระศาสนานี้ ด้วยจีวร บิณฑบาตร  เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร. ในการที่เขาปวารณาเช่นนั้น, ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จัก ประมาณในการรับปัจจัยสี่  มีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น.  ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้รีด "นมโค" เสียหมด ไม่มี ส่วนเหลือ เป็นอย่างนี้แล.

 

พวกไม่บูชาผู้เฒ่า

       ภิกษุ  ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลาย ชั้นที่เป็นเถระ ฯลฯ ด้วยการบูชาชั้นพิเศษ เป็นอย่างไรเล่า?

       ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เข้าไปตั้งไว้ในกายธรรม, วจีกรรม และมโนกรรม อันประกอบด้วย เมตตา ในภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ. ภิกษุ  ท.!  ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลาย ชั้นที่เป็นเถระ ฯลฯ ด้วยการบูชาชั้นพิเศษ เป็น อย่างนี้แล.

       ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ ประการเหล่านี้แล ไม่ควรที่จะถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้เลย.

บาลี พระพุทธภาษิต มหาโคปาลสูตร มู.ม ๑๒/๔๑๐/๓๘๔-๕, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.