ฤทธิเดชของลาภสักการะ

       ภิกษุ  ท.!  ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคายต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

       ภิกษุ ท.! สมณพราหณ์พวกใด ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษอันต่ำทราม ไม่รู้จักอุบายเป็น ทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะและเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะ กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่ หาได้ไม่.

       ภิกษุ ท.! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักมูลฐานเป็นที่ตั้งขึ้น ไม่รู้จักความดับสนิท ไม่รู้จักความยวน ใจ  ไม่รู้จักโทษอันต่ำทราม  ไม่รู้จักอุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะและเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง; สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่ หาได้ไม่.

       ภิกษุ  ท.!  สมณพราหมณ์พวกใด  ไม่รู้จักลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักมูลฐานเป็นที่ตั้ง แห่งลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่งลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักหนทาง ให้ถึงความดับสนิทแห่งลาภสักการะและเสียงเยินยอ; สมณพราหมณ์พวกนั้นจะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่ หาได้ไม่.

       ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ล่ำสัน นำเอาเชือกมีคมอันหยาบมาพันรอบ ๆ แข็ง แล้วสีไปสีมา. เชือกนั้นย่อมบาดผิวหนัง, ครั้นบาดผิวหนังแล้ว ย่อมบาดหนัง, ครั้นบาดหนังแล้ว ย่อมบาดเนื้อ, ครั้นบาด เนื้อแล้ว  ย่อมบาดเอ็น, ครั้นบาดเอ็นแล้ว ย่อมบาดกระดูก, ครั้นบาดกระดูกแล้ว ย่อมเข้าจดอยู่ที่เยื่อ กระดูก  ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอนี้ก็ฉันนั้น : มันย่อมจะบาดผิดหนัง ,ครั้น บาดผิวหนังแล้ว ย่อมบาดหนัง, ครั้นบาดหนังแล้ว ย่อมบาดเนื้อ, ครั้นบาดเนื้อแล้ว ย่อมบาดเอ็น, ครั้น บาดเอ็นแล้ว ย่อมบาดกระดูก, ครั้นบาดกระดูกแล้ว ย่อมเข้าจดอยู่ที่เยื่อกระดูก.

       ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ใน เรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า  " เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใยในลาภสักการะ และ เสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่ห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา". ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเนียกใจไว้อย่างนี้ แล.

บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๒๗๘-๙/๕๗๓-๕๗๖,๕๗๙, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน ใกล้นครสาวัตถี.