ทำตัวเหมือนโจร

       ภิกษุ ท.! มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ห้า ย่อมมีโอกาสตัดช่องก็ได้ย่องเบาก็ได้ ปล้นสดมภ์ก็ได้ ตี ชิงก็ได้ องค์ห้าอย่างไรกันเล่า? องค์ห้าในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม ๑, ได้อาศัยที่กำบัง ๑, ได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ ๑, ได้อาศัยการโปรยทรัพย์ ๑, เที่ยวไปคนเดียว ๑.

       มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม  เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยเกาะแก่ง ในแม่น้ำ หรือได้อาศัยหุบเหวตามภูเขา. นี้แล เรียกว่ามหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม.

       มหาโจรได้อาศัยที่กำบัง  เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือมหาดจรได้อาศัยพงหญ้าหรือป่า รก ได้อาศัยเนินดินหรือราวป่าใหญ่เพื่อเป็นที่กำบัง. นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้อาศัยที่กำบัง.

       มหาโจรได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ  เป็นอย่างไร?  ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยพระ ราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา   เป็นที่พึ่งว่า  "ถ้าใครจักโจทเราด้วยเรื่องอะไร  ๆ  พระราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาเหล่านี้ จักช่วยโต้แทนเรา" ดังนี้. ครั้นใครโจทมหาโจรนั้นด้วยเรื่องอะไร ๆ ขึ้นจริง, พระราชาหรือ อำมาตย์ของพระราชาเหล่านั้น ก็ช่วยโต้แทนให้จริง. นี้แลเรียกว่า มหาโจรได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ.

       มหาโจรได้อาศัยการโปรยทรัพย์เป็นอย่างไร?  ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ มหาโจรเป็นคนมั่งคั่ง มี ทรัพย์สมบัติมาก  เขามีแผนการไว้ว่า "ถ้าใครจักโจทเราด้วยเรื่องอะไร ๆ เราจะปิดปากมันเสียด้วย ทรัพย์สมบัตินี้"  ดังนี้.  ครั้นใครโจทมหาโจรนั้นด้วยเรื่องอะไร  ๆ ขึ้นจริง, เขาก็ปิดปากคนเหล่านั้น เสียด้วยทรัพย์สมบัตินั้น. นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้อาศัยการโปรยทรัพย์.

       มหาโจรเที่ยวไปคนเดียว  เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ มหาโจรประพฤติตนเป็นคนไม่ มีเหย้าเรือน   เที่ยวไปแต่ผู้เดียว.   ที่ทำเช่นนี้เพราะเหตุไร?  เพราะมหาโจรนั้นคิดว่า  "มนต์ลับ ของตนอย่าได้แพร่งพรายไปภายนอกเลย" ดังนี้. นี้แล เรียกว่า มหาโจรเที่ยวไปคนเดียว.

       ภิกษุ   ท.!   มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์เหล่านี้แล้ว  ย่อมมีโอกาสตัดช่องก็ได้  ย่องเบาก็ได้ ปล้นสดมภ์ก็ได้ ตีชิงก็ได้, ข้อนี้ฉันใด;

       ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ภิกษุลามก ผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่างย่อมทำตนให้ถูกขุดราก ให้ถูก กำจัดความดี เป็นผู้มีความชั่วติดตัว ผู้รู้พากันติเตียน ได้ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก. เหตุห้าอย่างอะไร กันเล่า? เหตุห้าอย่างในกรณีนี้คือ ภิกษุลามก ได้อาศัยที่ซ่องสุม ๑, ได้อาศัยที่กำบัง ๑, ได้อาศัยพึ่งพิงผู้ มีอำนาจ ๑, ได้อาศัยการโปรยทรัพย์ ๑, เที่ยวไปคนเดียว ๑,

       ภิกษุลามกได้อาศัยที่ซ่องสุม  เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเป็นผู้ประกอบด้วย กายกรรมอันคดโกง. เป็นผู้ประกอบด้วยวจีกรรมอันคดโกง. เป็นผู้ประกอบด้วยมโนกรรมอันคนโกง. นี้ แล เรียกว่าภิกษุลามกได้อาศัยที่ซ่องสุม.

       ภิกษุลามกได้อาศัยที่กำบัง  เป็นอย่างไร?  ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเป็นคนมีมิจฉาทิฎฐิ ประกอบด้วยทิฏฐิอันแล่นดิ่ง  ไปจับเอาปลายสุดโด่ง  (แห่งความเห็นทั้งปวง)  นี้แล  เรียกว่า ภิกษุ ลามกได้อาศัยที่กำบัง

       ภิกษุลามกได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกได้อาศัย พระราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาเป็นที่พึ่งว่า "ถ้าใครจักโจทเราด้วยเรื่องอะไร ๆ, พระราชา หรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา เหล่านี้ จักช่วยโต้แทนเรา" ดังนี้. ครั้นใครโจทภิกษุลามกนั้นด้วยเรื่อง อะไร  ๆ  ขึ้นจริง,  พระราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาเหล่านั้น  ก็ช่วยโต้แทนให้จริง.  นี้แล เรียกว่า ภิกษุลามกได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ.

       ภิกษุลามกได้อาศัยการโปรยทรัพย์  เป็นอย่างไร?  ภิกษุ  ท.! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเป็นผู้ ร่ำรวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร เธอมีแผนการได้ว่า "ถ้าใครโจท เราด้วยเรื่องอะไร ๆ เราจักปิดปากเขาเสียด้วยลาภนี้" ดังนี้. ครั้นใครโจทภิกษุลามกนั้นด้วยเรื่อง อะไรไร ๆ ขึ้นจริง, เธอก็ปิดปากคนเหล่านั้นเสียด้วยลาภนั้น. นี้แล เรียวว่า ภิกษุลามกได้อาศัยการ โปรยทรัพย์.

       ภิกษุลามกเที่ยวไปคนเดียว  เป็นอย่างไร?  ภิกษุ  ท.! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเลี่ยงไปอยู่เสีย ตามชนบทปลายแดนแต่ผู้เดียว เธอเข้าไปสู่สกุลทั้งหลายในชนบท (ที่ไร้การศึกษา) นั้น ๆ ย่อมได้ลาภ. นี้แล เรียกว่า ภิกษุลามกเที่ยวไปคนเดียว.

       ภิกษุ ท.! ภิกษุลามก ผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมทำตนให้ถูกขุดราก ให้ถูกจำกัด ความดี เป็นผู้มีความชั่วติดตัว ผู้รู้พากันติเตียนได้ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก อย่างนี้แล.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๔๕/๑๐๓, ตรัสแกภิกษุทั้งหลาย.
๒. เช่นยึดความเห็นว่า ตายแล้วเกิด, หรือตายแล้วสูญ เป็นต้น; มิได้ถือว่า มีเหตุมีปัจจัย : ถ้า ปัจจัยเหลือ ก็เกิด, หมดปัจจัย ก็ไม่เกิด, ดังนี้ เป็นต้น; ซึ่งเรียกว่า อันตคาหิกทุฏฐิ.