ประกาศ
ด้วย Yahoo กำลังจะปิดบริการ Geocities ในอนาคตอันใกล้นี้ ทาง Haadyai history จึงกำลังอยู่ระหว่างการ ย้ายข้อมูลไปยัง host ใหม่คือที่ http://haadyai.cjb.net/
ประกาศมา ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552

ประวัติหาดใหญ่ Haadyai history
ประวัติความเป็นมาของเมืองหาดใหญ่เป็นอย่างไรกันแน่ เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แต่มีไม่กี่คนที่รู้คำตอบ โดยเฉพาะที่มาของคำว่า "หาดใหญ่" มีความเป็นมาอย่างไรหลายคนก็ไม่กล้าที่จะชี้ลงไปให้ชัด
Haadyai history ได้รวบรวมประวัติ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับของเมืองหาดใหญ่ จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และรูปภาพ ทั้งจากเอกสารของทางราชการและของประชาชนทั่วไป เพื่อรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ของเมืองหาดใหญ่เอาไว้ที่เดียวกัน

Out Line ..... P : [ Photo | Place | People ] ..... F : [ Facilities | Flood | Fire ]
Photo : ภาพหาดใหญ่ในอดีต | หาดใหญ่แต่แรก และ รถไฟหาดใหญ่ - สงขลา โดย กิมหยงดอทคอม | ภาพหาดใหญ่ในปัจจุบัน | โปสการ์ดที่ไม่ได้ส่งลงตู้ไปรษณีย์ โดย คุณพรเลิศ
Place (Land mark) : โรงแรม และ อาคารอื่นๆ
People : ขุนนิพัทธ์จีนนคร | พระเสน่หามนตรี | พระยาอรรถกระวีสุนทร | ชีกิมหยง | หลวงพิธานอำนวยกิจ | คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร | กี่ จีระนคร
Facilities : Telegraph | โทรเลข | Telephone | Steam ship | Steam locomotive | Automobile | Television | Radio | Radio broadcast | Train

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง : Related Literatures
  • พ่อค้าคนจีนผู้สร้างประวัติศาสตร์หาดใหญ่และหัวเมืองภาคใต้ โดย สกว.
  • การสร้างทางรถไฟสายใต้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมือง
    ลำดับเหตุการณ์สำคัญ : Haadyai's Time Line | Songkhla Time Line
  • th.wikipedia.org/wiki/หาดใหญ่ | ประวัติหาดใหญ่ โดยเทศบาลนครหาดใหญ่
  • พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔ สังฆราชปาล์ เลอ กัวร์ นำกล้องถ่ายรูปเข้ามา สยาม เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ.2405 สร้างถนน"ไทรบุรี" จากเมืองสงขลาไปถึงเมืองไทรบุรี
    เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 "เล่ม 1, หน้า 220-221
  • พ.ศ. ๒๔๓๐ วันที่ ๕ พฤษภาคม รัชกาลที่ ๕ พระราชทานสัมปทาน รถราง ให้แก่ จอห์น ลอฟตัส,เปลซี เดอ รีชเชอลิว และ เวสเตนโฮลส์
  • พ.ศ. ๒๔๓๑ วันที่ ๒๒ กันยายน รถราง ที่ใช้ม้าลาก เริ่มวิ่งเป็นปฐมฤกษ์
  • พ.ศ. ๒๔๔๓ เดือนกรกฎาคม นายริชเชอลิวกับนายเวสเตนโฮลส์ ขอสัมปทาน รถรางสายสามเสน
  • พ.ศ. ๒๔๔๔ เดือนกันยายน โอนกิจการ รถราง ของ นายริชเชอลิวกับนายเวสเตนโฮลส์ได้ถูกโอน ให้กับบริษัทการไฟฟ้าสยามจำกัด
  • พ.ศ. ๒๔๘๒ วันที่ ๒๘ กันยายน บริษัทการไฟฟ้าสยามจำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไฟฟ้าไทยคอร์ปอเรชั่นจำกัด
  • พ.ศ. ๒๔๙๒ วันที่ ๓๑ ธันวาคม สัมปทาน รถรางของบริษัทไฟฟ้าไทยคอร์ปอเรชั่นจำกัด สิ้นสุด
  • พ.ศ. ๒๔๙๓ วันที่ ๑ มกราคม รัฐบาลโอนกิจการรถรางให้ไปอยู่ในสังกัดกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. ๒๕๑๑ วันที่ ๑ ตุลาคม เลิกกิจการรถราง
  • พ.ศ. 2442-2444 พระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูก
  • พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๔๕ สยาม เริ่มมีรถยนต์คันแรก
  • พ.ศ. ๒๔๕๕ ขุนนิพัทธ์ฯได้มาพักอาศัยอยู่ที่ริมคลองอู่ตะเภา (ข้างที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ )
  • พ.ศ. 2456 วันที่ 1 มกราคม รถไฟสายชุมทางอู่ตะเภา-สงขลา เปิดเดินรถ
  • พ.ศ. ๒๔๕๘ ทางการได้ขอซื้อที่ดินส่วนหนึ่งต่อจากท่าน เพื่อทำเป็นย่านรถไฟ
  • พ.ศ. ๒๔๕๘-๒๔๕๙ กรรมกรสร้างทางรถไฟ ได้ลงทุนทำสวนยางบริเวณรอบนอกอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖
  • พ.ศ. ๒๔๕๙ ขุนนิพัทธ์ฯ ได้ทำการโค่นต้นเสม็ด และสร้างห้องแถวหลังคามุงจากจำนวน 5 ห้อง ต่อจากเขตย่านรถไฟ ห้องแถวห้าห้องแรกของขุนนิพัทธ์ฯ สร้างด้วยเสาไม้กลม ตัวบ้านเป็นฝาขัดแตะ หลังคามุงจาก ห้องแถวหลังแรกและหลังที่สอง เพื่อนของท่านได้เช่าทำโรงแรม มีชื่อว่า โรงแรมเคี่ยนไท้และ โรงแรมหยี่กี่ ส่วนสามห้องสุดท้ายนั้น ท่านใช้เป็นที่พักอาศัย ร้านขายของชำ และ โรงแรม ซีฟัด หลังสุดท้ายนี้สร้างไว้ตรงหัวมุมสี่แยก ถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 (ที่ตั้งของธนาคารนครหลวงไทย จำกัดในปัจจุบัน)
  • พ.ศ.๒๔๕๙ วันที่ ๑ มกราคม เปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ตั้งแต่กรุงเทพพระมหานครฯ ลงไปยังมณฑลภาคใต้
    เล่ม 33 หน้า 2502 วันที่ 17 ธันวาคม 2459
  • พ.ศ. 2460 วันที่ 1 เมษายน เปิดการเดินรถครั้งแรก ? (จากไหน ไปไหน ?)
  • พ.ศ. 2460 เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอเหนือ เป็น อำเภอหาดใหญ่ และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอก
  • พ.ศ. 2462 ทางรถไฟเสร็จ
  • พ.ศ. ๒๔๖๒ โรงแรมหลังสถานีรถไฟ สร้างจากไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก ใช้ฟากทำด้วยไม้ใผ่เหมือนกัน รอบๆ เป็นป่าละเมาะทั้งนั้น หาดใหญ่เวลานั้นก็คือป่าละเมาะเราดีๆ นี่เอง จะ แลไปทางไหนไม่เห็นบ้านผู้คน รู้สึกว่าสถานีหาดใหญ่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทุ่ง
  • พ.ศ. ๒๔๖๓ ขุนนิพัทธ์ฯได้สร้างห้องแถวหลั งคามุงจากเพิ่มขึ้นอีกหลายห้อง (ปัจจุบันคือที่ตั้งของร้านขายหนังสือหนานหยางและร้านรอยัลตลอดแถว)
  • พ.ศ. 2465 เดือนตุลาคม แก้รางจากสงขลาไปชุมทางอู่ตะเภาให้ไปที่ชุมทางหาดใหญ่แทน และลดชั้น สถานีชุมทางอู่ตะเภา จากสถานีชั้น 3 เป็นสถานี ชั้น 5 (ไม่มีหลีกแต่มีนายสถานี)
  • พ.ศ. 2467 ฉลองเปิดสถานีชุมทางหาดใหญ่
  • พ.ศ. ๒๔๖๗ วันที่ ๒ กันยายน ฉลอง ตลาดโคกเสม็ดชุน ซึ่งในสมัยนั้นมีบ้านเรือนในตลาดกว่า 100 หลังคาเรือนแล้ว
  • พ.ศ. 2467 วันจันทร์ที่ 22 กันยายน รถไฟพระที่นั่งถึงหาดใหญ่เวลา 9.36 ล.ท. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับแรมในรถไฟพระที่นั่งเช่นวันก่อน. (รัชกาลที่ ๖) เล่ม 41 น่า 2299
  • พ.ศ. 2467 วันอังคารที่ 23 กันยายน รถไฟพระที่นั่งออกจากสถานีชุมทางหาดใหญ่เวลา 9.42 ก.ท.
  • พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านซีกิมหยง คหบดีต้นตระกูล "ฉัยยากุล" ได้อุทิศที่ดินเพื่อจัดตั้งโรงเรียน ชื่อ โรงเรียน "จงฝายิฉิน" | โรงเรียนศรีนคร | ประวัติโรงเรียนศรีนคร | โดยสังเขป
  • พ.ศ. 2470 ขุนนิพัทธ์จีนนคร ย้ายบ้าน จากถนนเจียกีซี(ธรรมนูญวิถี) ไปอยู่บริเวณถนนเพชรเกษม
  • พ.ศ. 2471 วันที่ 25 กรกฎาคม ยกฐานะเป็นสุขาภิบาล พระราชบัญญัติสุขาภิบาลตำบลหาดใหญ่
    เล่ม 45 หน้า 117
  • พ.ศ. 2471 มีการสร้างตลาดถาวร คือ ตลาดโคกเสม็ดชุน ที่ชาวบ้านเรียก "ตลาดคุณนายเกษร" และ ลาดยางถนนสงขลาไทรบุรีไปจนถึงปีนัง (หน้า 170)
  • พ.ศ. ๒๔๗๒ วันที่ ๑๐ ตุลาคม เวลา ๑๕๔๐ รถไฟพระที่นั่งออกจากสถานีหาดใหญ่ (รัชกาลที่ ๗)
  • พ.ศ. ๒๔๗๒ พระ ราชทาน ราชทินนาม ขุนนิพัทธ์จีนนคร (จาก ร.๗)
  • พ.ศ. 2478 วันที่ 7 ธันวาคม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พุทธศักราช 2478 เล่มที่ 52 หน้า 1798 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2478
  • พ.ศ. ๒๔๗๘ รองอำมาตย์ตรีดัด และคุณเชย ดิษยะศริน ได้จัดตั้งโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในหาดใหญ่ คือ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา (หาดใหญ่อำนวยวิทย์)
  • พ.ศ. 2480 ขุนนิพัทธ์จีนนครขายห้องแถวปลายถนนนิพัธ์อุทิศ 1
  • พ.ศ. ๒๔๗๙ เดือนสิงหาคม ท่านได้เสนอเรื่องเพื่อซ่อมแซมถนนสายหนึ่ง (ถนนศรีภูวนารถ)
  • พ.ศ. ๒๔๘๐ สร้างห้องแถวปลายถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ต่อมาสร้างโรงภาพยนต์เฉลิมยนต์ และตึก 3 ชั้นให้ธนาคารเอเซีย จำกัด เช่า
  • พ.ศ. ๒๔๘๑ วันที่ ๑ กันยายน โรงเรียนช่างไม้สงขลา และ โรงเรียนการช่างสตรีสงขลา เปิดดำเนินการ โรงเรียนช่างไม้สงขลา | โรงเรียนช่างไม้สงขลา | โรงเรียนช่างไม้สงขลา | โรงเรียนการช่างสงขลา
  • พ.ศ. ๒๔๘๒ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ขุนนิพัทธ์ฯได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย
  • พ.ศ. 2482 วันที่ 8 กันยายน จัดตั้งตลาด เจียกีซี (ใบอนุญาตเลขที่ 192/2482) เปิด 04.00-19.00 น.
  • พ.ศ. ๒๔๘๔ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร ได้รับอนุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัว
  • พ.ศ. 2484 วันที่ 8 ธันวาคม เมื่อญี่ปุ่นบุกสงขลา | ทหารเก่า ชีวิต สงคราม และความรัก | ต่อเรื่องญี่ปุ่นบุกสงขลานะครับ | ย้้อน62ปีญี่ปุ่นบุกสงขลา | เมื่อญี่ปุ่นยึด"ตังกวน"
  • พ.ศ. ๒๔๘๗ วันที่ ๑๒ มิถุนายน ท่าน ขุนนิพัทธ์จีนนครได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนนามสกุล จิระนคร
  • พ.ศ. 2488 วันที่ 6 กันยายน กรมสามัญศึกษาได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอหาดใหญ่ (หาดใหญ่วิทยาลัย) | หาดใหญ่วิทยาลัย 2 | หาดใหญ่วิทยาลัย 3
  • พ.ศ. 2492 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พระราชกฤษฎีกา จัดเทศบาลตำบลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. ๒๔๙๒ ตอน 15 เล่มที่ 66 หน้า 142 วันที่ 15 มีนาคม 2492
  • พ.ศ. 2493 วันที่ 17 พฤษภาคม โรงเรียนแสงทองวิทยา เปิดโรงเรียน ( ไม่เป็นทางการ )
  • พ.ศ. 2493 วันที่ 6 มิถุนายน โรงเรียนธิดานุเคราะห์ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน
  • โรงเรียนสงขลาวัฒนา
  • พ.ศ. ๒๔๙๗ วัดปากน้ำ (มงคลเทพาราม) ก่อตั้งในปีนี้
  • พ.ศ. ๒๔๙๗ โรงเรียนวิริยเธียร ก่อตั้งในปีนี้
  • พ.ศ. ๒๕๐๐ หอนาฬิกา สร้างในปีนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกถึง หลวงพิธานอำนวยกิจ
  • พ.ศ. ๒๕๐๒ วันที่ ๑๙ มีนาคม ในหลวงและพระราชินีเสด็จ
  • พ.ศ. 2503 (ปลายปี) ทีวีช่อง 10 หาดใหญ่ สร้างอาคาร
  • พ.ศ. ๒๕๐๔ วันที่ ๓๐ เมษายน พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๕๐๔ เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ หน้า ๔๖๘ ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
    เพิ่มอีก 3 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ 8 ตาราง กิโลเมตร
  • พ.ศ. 2505 ทีวีช่อง 10 หาดใหญ่ เริ่มออกอากาศ
  • พ.ศ. 2509 วันที่ 31 สิงหาคม วางศิลาฤกษ์ อาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ (หน้า 175)
  • พ.ศ. 2511 วันที่ 9 พฤษภาคม พฤหัสบดี เปิด อาคารสถานี และโรงแรมหาดใหญ่ (โรงแรมราชธานี) (หน้า 175)
  • พ.ศ. 2511 มีนาคม เริ่มก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ(Overpass) กำหนดเสร็จใน 12 เดือน (หน้า 178)
  • พ.ศ. 2514 วันที่ 5 กรกฎาคม อาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประมาณ 200 คน ย้ายมาอยู่ประจำที่ศูนย์หาดใหญ่
  • พ.ศ. ๒๕๒๐ วันที่ ๓๑ มีนาคม พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๐ เล่ม 94 ตอนที่ 31 หน้า 319 ลงวันที่ 12 เมษายน 2520
    เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร
  • พ.ศ. 2521 วันที่ 1 กรกฎาคม รถไฟสายชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ยุติการเดินรถ
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ วันที่ ๒๓ กันยายน พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๕๓๘ เล่ม 112 ตอนที่ 40 ก หน้า 19 ลงวันที่ 24 กันยายน 2538
  • การทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต
  • พาโนราม่า สเปเชียล : แผ่นดินสุวรรณภูมิ ตอน ศูนย์กลางการค้า สองมหาสมุทร
    เหมืองข้อมูล :
  • Siam, the land of the white elephant, as it was and is ([1892]) | pdf | www.archive.org
  • BROWSE BY IMAGE GEOGRAPHIC INFORMATION : Siam Siam, or, The heart of farther India by Cort, Mary L (1886), p.XB (Siam and Laos)
  • Siam, or, The heart of farther India : Cort, Mary L A.D.F. Randolph and Co New York 1886 422 p. | Siam, or, The heart of farther India
  • วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา : รศ.ดร. สุธัญญา ทองรักษ์
  • "การแสดงพื้นบ้าน : การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรมบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา กรณีศึกษาหนังตะลุงและโนรา หลังปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2437-ปัจจุบัน) : อาจารย์ พิทยา บุษรารัตน์
  • เศรษฐกิจท้องถิ่นลุ่มทะเลสาบสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าวและยางพารา ตั้งแต่ พ.ศ. 2439-2539 : ผศ. กิตติ ตันไทย
  • การเมืองท้องถิ่นบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2439-2534 : อาจารย์ สารูป ฤทธิ์ชู
  • พัฒนาของพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา ระหว่างพุทธศักราช 2442-2542 : ผศ. เอี่ยม ทองดี
  • พัฒนาการการใช้ทรัพยากรในทะเลสาบสงขลา : ศึกษากรณีชุมชนประมงพื้นบ้าน : ดร. เลิศชาย ศิริชัย
  • ชุดโครงการ : วัฒนธรรม/ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
  • หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | หอจดหมายเหตุมอ.ปัตตานี |
  • ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ | หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • เอกสารสิ่งพิมพ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
  • หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา
  • หอสมุดสาขา วังท่าพระ ได้รวบรวมหนังสือเก่า/หายาก ที่มีการจัดพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ลงไป
  • กระเบื้องดินเผาเมืองสงขลา
  • 1.ประวัติศาสตร์หาดใหญ่ : เครือข่ายวิจัยชุมชน สำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) และภาคีร่วม ขอเชิญร่วมงานเปิดโครงการ “แลอดีต มองอนาคต หาดใหญ่”
  • แรกมีรถถีบในสยาม
  • ประวัติศาสตร์หาดใหญ่ | เวทีแห่งการร่วมด้วยช่วยกัน แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของชุมชนต่างๆใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • fridaycollege | กลุ่ม/องค์กรภาคประชาชน
  • www.khlong-u-taphao.com | hadyaistory | เล่าเรื่องเมืองหาดใหญ่ | เล่าเรื่องเมืองหาดใหญ่ โดย อ.พิชัย ศรีใส | พลิกแฟ้มประวัติศาสตร์หาดใหญ่ผ่านบันทึกของ “พลับ ไชยวงศ์” | เรื่องราวน่าสนใจ
    เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ :
  • การขนส่งถุงไปรษณีย์ทางรถไฟ
  • โรงรถจักรบ้านภาชี
  • สถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ และภาพสถานีต่างๆ ในอดีต
  • ตามหาวงเวียนกลับรถจักรที่สถานีรถไฟสงขลา
  • หาดใหญ่-สงขลา : บนเส้นทางรถไฟสายเก่า
  • ตั๋วรถไฟเก่าสายหาดใหญ่-สงขลา
  • เรื่องเก่านำมาเล่าใหม่ กับทางรถไฟสายสงขลา
  • เต็ม ๆ กับ สถานีรถไฟสงขลาสมัยที่ยังใช้อยู่
  • เที่ยวทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ผ่าน GIS (Google Earth)
  • สงขลาก็มี(ราง)รถไฟใต้ดิน
  • จากหาดใหญ่ถึงปาดังเบซาร์ [สำรวจ 1 มี.ค.-20 เม.ย. 51]
  • โผบัญชีสถานี สาย หาดใหญ่ สงขลา ปี 2511
  • กับการเสด็จประพาสทางรถไฟ
  • จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • รายงานลับเรื่องรถไฟสยาม จาก อัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงสยาม
  • กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับรถไฟหลวง
  • ย้อนรอยทางรถไฟสายมรณะ ตอนที่ 1
  • ย้อนรอยทางรถไฟสายมรณะ
  • เปรียบเทียบ ข้อมูลจากรายงานประจำปี
  • เรื่องจากประวัติศาสตร์ : ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์
  • ประวัติทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท(รถไฟกรมพระนรา) โดยเจฟฟ์
  • ที่มาของเสรีไทย | คลังของเก่า BBC Thai | bbc - history
  • ปัญญาชนสยาม
  • เมื่อญี่ปุ่นยึด"ตังกวน"
  • เกาะหมาก ..แผ่นดินโบราณกลางทะเลสาบสงขลา
  • บ้ า น พ รุ...มีคูน้ำคันดินโบราณ
  • พระพุทธสิหิงค์ ..พระสำริดโบราณคู่เมืองสงขลา
  • ..แกะรอยเมืองเก่าบ้านคลองเปี๊ยะ อ.จะนะ
  • รำลึกวีรกรรมชาวราชบุรี สงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านสะพานจุฬาลงกรณ์
  • หาดใหญ่-สงขลา : บนเส้นทางรถไฟสายเก่า
  • บางกอกน้อย-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 990 กิโลเมตรขึ้นเป็นครั้งแรก
  • รูสะมิแล Back to the past | รูฯ 31 | รูฯ ๓๒ | แผนที่สงขลา
  • กระดาษทด

    Contact us : Feed back
    บริษัท พีรพัฒน์ เคมี อุตสาหกรรม จำกัด Laemthong Hotel Hadyai
    Search Now:
    In Association with Amazon.com
     Use OpenOffice.org
    Counter

    May 14, 2009