> VITTARIACEAE > Anthrophyum || Back

สกุล Anthrophyum Kulfuss
วงศ์ VITTARIACEAE

เฟินในสกุลนี้เป็นเฟินขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เกาะอาศัยห้อยอยู่ตามลำค้นของต้นไม้ คาคบไม้ หรือโขดหิน หน้าผาหิน ที่ระดับควาสูง 500 ถึง 2,000 เมตร มีราว 40 ชนิดกระจายพันธุ์อยู่ใน เขตร้อน ลักษณะทั่วไป มีเหง้าอ้วน เลื้อยสั้นๆ หรือรวมกันเป็นกระจุกแน่น ปกคลุมแน่นด้วยราก เพื่อเก็บกักน้ำ ใบเป็นแถบกว้าง คล้ายใบของเฟินข้าหลวง เส้นใบจัดเรียงอิสระ ยาวตลอดแผ่นใบ ปลายเส้นใบจรดเข้าหากันที่ปลายใบ เส้นใบหลักมองเห็นไม่ชัดเจน ลักษณะใบอวบน้ำ แถวของอับสปอร์เกิดเป็นแถว หรือเส้นมากกว่า 2 แถว หรือพบแค่ 2 แถวก็ได้ จัดเรียงตัวตามแนวเส้นใบ แถวของสปอร์อาจไม่ต่อเนื่อง หรืออาจแตกเป็นหลายสาขา ดูคล้ายเส้นด้าย อับสปอร์ไม่มีเยื่ออินดูเซียปิดคลุม มีเยื่อหุ้มรัดรอบตามแนวยาว

เฟินสกุลนี้ ผู้เขียนบางท่าน จัดให้ Antrophyum เป็นวงศ์ของตัวเงอ ชื่อวงศ์ Antrophyaceae

ตัวอย่างเฟินในสกุลนี้ได้แก่


A. callifolium [ภาพ : Mr. ZUP]

Anthrophyum callifolium Blume

ใบเป็นแถบยาว รูปหอก ปลายกว้างออก แล้วสอบเข้า ใบสีเขียวเข้มเป็นมันวาว เหลือบน้ำเงิน อับสปอร์จัดเรียงตัวต่อเนื่องเป็นแถว ยาวเป็นช่วงๆ ไปตามความยาวใบ การจัดเรียงแถวไม่เป็นระเบียบ
พบทั่วทุกภาคของไทย ตามป่าลำธารน้ำตก ที่มีความชุ่มชื้นสูง มักเกาะอยู่ตามโขดหิน หรือต้นไม้ที่อยู่ริมลำธารน้ำตก ที่ได้รับละอองไอน้ำและความชื้นสูงมาก

ในภาพ เป็น A, callifolium ที่บ้านของ Mr. ZUP เล่าให้ฟังว่า เลี้ยงยากในสภาพของ กทม.  กว่าจะรอดและแตกใบใหม่ ใช้เวลาพักตัวนานมาก



A. obovatum
Picture from : website of Nature Conservation in Taiwan, Republic of China
Anthrophyum obovatum Bak
ชื่อพ้อง : Antrophyum japonicum Makino



A. parvulum Blume
Picture from : website of Nature Conservation in Taiwan, Republic of China
Anthrophyum parvulum Blume
ใบกว้างเต็มที่ราว 2 ซ.ม. ปลายแหลมเป็นติ่งหนา ในบ้านเราพบทางภาคเหนือที่ เชียงใหม่ เลย ทางใต้ที่ ตรัง ยะลา

นอกจากนี้ ที่พบในไทย ยังมี :-
  • Anthrophym winitii Tagawa & K. Iwats 
    ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่พระยา วินิจวนันดร พบเพียงตัวอย่างเดียว ในไทยบนคาคบไม้ ระดับ 520 ม. ที่เชียงราย
  • Anthrophyum stenophyllum Baker
    พบเฉพาะที่ เชียงใหม่
> VITTARIACEAE > Anthrophyum || Back