> Pteridaceae > Pteris หน้า[ 1 ] [ 2 ] || Back

สกุล Pteris สกุลเฟินหิรัญ
วงศ์ PTERIDACEAE

Pteris dalhousiae Hook.
คล้าย P. semipinnata แต่มีจำนวนใบย่อยน้อยกว่าและการจัดเรียงตัวไม่สม่ำเสมอ พบทั่วไปในป่าเขตร้อนระดับต่ำ เช่นที่ จันทบุรีและภาคใต้
Pteris decrescens Burm. f.
พบททางภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก หนองคาย เขาใหญ่ ชลบุรรี ตราด สุราษฎร์ธานี
Pteris ensiformis Burm. f.
พบตามชายเขาหรือพื้นป่าระดับต่ำในภาคใต้ ทางภาคเหนือและอีสานกลาง พบในป่าดิบแล้ง ระดับต่ำ-ปานกลาง ใบของเฟินชนิดนี้มี 2 แบบ ใบที่สร้างสปอร์มีขนาดเล็ก กว่าใบที่ไม่สร้างสปอรื ก้านใบยาว 7-15 ซ.ม. ใบมีรูปร่างแบบ tripinnatifiid ขนาด 15x7 ซ.ม. เกอดใบย่อย 2-5 คู่ ออกตรงข้าม ขอบใบย่อยมีลักษณะเป็นจักเล็กน้อย ใบเขียวสดเป็นมัน เหนียว
เฟินชนิดนี้ มีสรรพคุณทางยา ทั้งต้น รสขม ทำให้เย็น ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้บิดมูกเลือด
เฟินชนิดนี้ ในไทยมีเด่นอยู่ 2 พันธุ์ คือ


เฟินราชินีเงิน P. ensiformis cv. Victoriae

Pteris ensifomis cv. Victoriae
(en-si-four' miss)
ชื่ออื่น : เฟินเงิน, Sword Brake, เฟินราชินีเงิน (ชื่อทางการค้า)

ใบประกอบขนน 2 ชั้น ปลายคี่ ใบย่อยมี 4-5 คู่ ใบย่อยขอบใบเขียวเข้ม ด้านกลางใบสีขาวเทา ใบสปอร์ยาวกว่าใบปกติและเรียวแคบกว่า ปลูกในร่มได้ดี มีผู้นำเข้าจากประเทศอังกฤกษ ตั้งแต่เมื่อราวปี 2433 โดยไม่ทราบแหล่งกำเนิดที่แน่นอน ดูภาพขวามือ
มีหลากหลายสายพันธุ์เช่นกัน อาทิเช่น



Pteris ensifomis cv. Evergemiensis
[ Image : Blue Jay ]

Pteris ensifomis cv. Evergemiensis

เป็นเฟินเงินจากเบลเยี่ยม มีมาตั้งแต่เมื่อปี 2500 นำเข้ามาในบ้านเราเมื่อปี 2521 โดยนายแพทย์เบญจะ เพชรคล้าย เคยชนะเลิศในการประกวดเฟินในงานเกษตรแห่งชาติเมื่อปี 2522 เฟินเงินพันธุ์นี้คล้าย P. ensifomis ชนิดปกติ แต่ลักษณะการด่างขาวชัดเจนมา

ต้นใหม่ที่งอกจากสปอร์กลายพันธุ์เป็น Victoriae ได้ในเปอร์เซนต์สูง



Pteris grevilleana Wall. ex. J. Agardh.
ชื่ออื่น : หญ้ารังไก่
พบที่พิษณุโลก หนองคาย นครศรีธรรมราช
Pteris heteromopha F'ee

ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ใบย่อย 3-8 คู่
พบภาคเหนือตอนบน พิษณุโลก สกลนคร กาญจนบุรี เขาใหญ่ ชลบุรี พังงา กระจายพันธุ์อยู่ใน ASIAN อุษาคเนย์ มักพบขึ้นตามเชิงเขาในป่าดิบแล้ง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น ที่ระดับ 500-900 ม. MSL
Pteris linearis Poiret
คล้ายกับ P. biaurita แต่ต่างกันที่เส้นใบย่อยคู่ล่างเป็นกิ่ง พบตามภูเขาหินปูน โดยขึ้นอยู่กับพื้นป่าระดับ 700-1,000 ม. พบที่ดอยหลวงเชียงดาว เชียงใหม่ แพร่ หนองคาย จันทบุรี
Pteris longipes D. Don.
เฟินชนิดนี้มีขนาดใหญ่ เหง้าสั้น ตั้งตรง สูงตั้งได้ถึง 15 ซ.ม. มีใบน้อย แต่ก้านใบยาวได้ 1 เมตร แตกเป็น 3 กิ่ง (Triparticle) กิ่งกลางจะ ยาว 35-55 ซ.ม. กว้าง 20 ซ.ม.
พบได้ตามที่ลาดชายเขา เป็นกลุ่มใหญ่ ตามป่าดิบแล้งหรือป่าดิบเขา ที่ระดับ 700-1,600 ม. ในไทยพบที่ ดอยตุง เชียงราย ดอยสุเทพ ดอยหลวงเชียงดาว เขาสอยดาวจันทบุรี ภูกระดึง เลย นอกจากนี้ยังพบในอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์
Pteris longipinnula Wall. ex. J. Agardh พบที่ สุราษฎร์ธานี ยะลา
Pteris merlensioides Willd.
ชื่ออื่น : กูดผี

ใบประกอบขนนก 2 ชั้น ก้านใบย่วราว 70 ซ.ม. ใบรูปขอบขนาน กว้างราว 65 ซ.ม. ยาวราว 1 ม. กลุ่มใบย่อย มี 8-15 คู่ อยู่เยื้องกัน ใบย่อยรูปหอก สอบเข้าหาปลายใบ เส้นใบแยกสาขาเป็น 2 คู่ แส้นกลางใบมีสีน้ำตาลแดง มีร่องตามยาวด้านบน
กระจายพันธุ์ใน ศรีลังกา อินเดียใต้ ไทยภาคใต้ พบที่ภาคใต้ พังา ภูเก๊ต กระบี่ ยะลา ลงไปถึงมาเลเซีย และ โพลีนีเซีย มักพบบริเวณริมลำธารที่ได้รับแสงสว่าง ที่ระดับความสูง 1,000 ม. MSL

เฟินหางไก่ Spider Brake
หรือ P. multifida
[ Image : Mr. CHATT]

Pteris multifida Poiret.
(mul-ti-fi' dah)
ชื่ออื่น : เฟินหางไก่ Spider Brake

มีใบเล็กยาวเป็นริ้วเล็กคล้ายปีก ใบสีเขียวอ่อน ในประเทศไทยพบตามกำแพงในกรุงเทพ ตั้งแต่ปี 2464 นักพฤกษศาตร์ชาวต่างประเทศ บันทึกไว้เป็นหลักฐานในต่างประเทศ พบทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งร้อน บ้างก็ว่า มีถิ่นกำเนิดมาจากจีนและญี่ปุ่น
มีสายพันธุ์ย่อย เช่น



Pteris multifida cv. Crestata
[ Image : Blue Jay ]

Pteris multifida cv. Crestata
ชื่ออื่น : เฟินหางไก่ปลายแฉก

ชนิดนี้ กลายพันธุ์มาจากเฟินหางไก่ Pteris multifida จากใบที่มีลักษณะปลายแหลมยาว กลายมาเป็นปลายแตกเป็นแฉกหลายชั้น


Pteris multifida cv. Crestata variegata
ชื่ออื่น : เฟินหางไก่ด่างปลายแฉก
เป็นเฟินหางไก่ที่กลายพันธุ์ในต่างประเทศ ลักษณะทุกประการคล้ายพันธุ์ P. multifida เฟินหางไก่ แต่มีทั้งใบตั้ง ด่าง เหลือง ครีมและปลายใบแตกเป็นแฉก
Pteris nepalensis H. Ito. พบที่ เชียงใหม่

P. phuluangensis เฟินหิรัญภูหลวง

[ Image : Visuvat @ Banklngsuan]

Pteris phuluangensis Tagawa & K. Iwats.
ชื่ออื่น : เฟินหิรัญภูหลวง

ค้นพบครั้งแรกและตั้งชื่อไว้ โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 2 คน คือ M. Tagawa และ K. Iwatsuki เมื่อปี 2521 พบเฉพาะบนภูหลวง จ. เลย เท่านั้น ปัจจุบัน มูลนิธิโครงการหลวง ได้ทำการขยายพันธุ์ออกมาจนแพร่หลาย และเป็นที่นิยมปลูกเลี้ยงกันทั่วไป

เฟินชนิดนี้มีเหง้าสั้นๆ ตั้งตรง ใบเป็นใบประกอบขนกนก 2 ชั้น ก้านใบสีน้ำตาลอมแดงหรือม่วง เป็นเงามัน ยาว 25-35 ซ.ม. ใบเขียวสด เป็นมัมวาวใบย่อยด้านข้างมี ๒-๓ คู่ เกิดตรงกันข้ามหรือเกือบตรงกันข้าม ใบย่อยหยักเว้าลึกเกือบถึง
เส้นกลางใบย่อย ขอบของพูหยักเป็นฟันเลื่อย เส้นใบเห็นได้ยากบนแผ่นใบทั้งสองด้าน
ใบมี 2 รูป คือ ใบสปรอ์จะมีความสูงและผอมเรียวมากกว่าใบที่ไม่สร้างสปอร์

เฟินหิรัญภูหลวง พบตามพื้นทรายในป่าดิบแล้ง ที่ระดับ 800 ม. MSL ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ชอบแดดรำไร หรือแดดครึ่งวัน และความชื้นปานกลาง


Pteris plumbea H.Christ.
พบที่ จ. เลย
Pteris scabripes Wall. ex. J. Agarth.


Pteris semipinnata
[ Image : Mr. HK @ Hong Kong ]

 

Pteris semipinnata L.
ชื่ออื่น : เฟินสามง่ามปีกนก

ลักษณะทั่วไป เป็นเฟินดิน ขนาดกลาง เหง้าสั้นตั้ง หรือล้มเอน ปกคลุมด้วยเกล็ด ผอมเรียว สีน้ำตาลเข้ม แข็ง ขอบสีอ่อนกว่า
ก้านใบ ยาวได้ถึง 50 ซ.ม. สีม่วงหรือสีดำบริเวณโคน ผิวเกลี้ยงเป็นเงามัน ด้านหน้าเป็นร่องเล็ก
ลักษณะใบ เขียวสดเป็นมัน พุ่มไม่แน่น ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยกเว้นใบย่อยคู่ล่างที่ใกล้โคนแตกเป็นแฉก ดูคล้ายปีกนก เป็นลักษณะเฉพาะของชนิดนี้


[ Image : Mr. CHATT ]

[ Image : Mr. HK @ Hong Kong ]
เฟินชนิดนี้ ชอบขึ้นตามพื้นในป่าดิบ กระจายพันธุ์อยู่ใน ญี่ปุ่น จีนตอนใต้ และอุษาคเนย์
อากาศชุ่มฃื้น ที่ระดับ 800-1, 000 ม. MSL พบบนดอยสุเทพ เชียงใหม่, พิษณุโลก, นครราชสีมา, เขาเขียว ปราจีนบุรี

Pteris stenophylla Wall. ex. Hook. & Grev.
พบที่ พิษณุโลก นครราชสีมา
Pteris subquinata Wall. ex. J. Agradh.
พบที่เชียงใหม่

Pteris tokioi L.
พบที่ จ. เลย เพชรบูรณ์


Peris tricolor [Image : Pik ]

Peris tricolor
ชื่ออื่น : Painted Brake, เฟินหิรัญไตรรงค์

ใบสปอร์ เป็นใบประกอบขนนก มีใบย่อย 2-5 คู่ ใบย่อยรูปไข่ ใบใหม่เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง

 



เฟินร่ม P. tripartit Sw.
[Image : Mr. Helicon]

Pteris tripartit Sw.
ชื่อสามัญ : Giant Brake Fern
ชื่ออื่น : เฟินร่ม

ใบยาวและสูงได้ถึง 1 ม. ใบเป็นมันวาว ใบบางอ่อนนุ่ม คล้าย P. wallichiana แต่ต่างกันที่เส้นใบ พบทางภาคเหนือ เชียงราย ทางภาคอีสาน นครราชสีมา ภาคตะวันออก จ. ตราด และภาคใต้ พังงาและยะลา อินโดนีเซีย ออสเตรเรียและโพลีนีเซีย ขึ้นตามพื้นดินในป่าระดับต่ำ


Pteris venusta Kunze
พบภาคเหนือ ลงมาถึงกาญจนบุรี พิษณุโลก เลย ขอนแก่น นคราชสีมา ชลบุรี จันทบุรี


Pteris vittata L. at Hong Kong
[ Image : Mr. HK ]
Pteris vittata L.
ชื่อสามัญ : Chinese Brake, Ladder Brake
ชื่ออื่น : กูดหมาก กูดตาด
มีลำต้นสั้น ก้านใบยาว อาจถึงครึ่งเมตรได้ ใบยาว 20-100 ซ.ม.เส้นกลางใบมีร่องยาวและมีเกล็ดเล็กๆ โคนก้านมีเกล็ดปกคลุมหนาแน่น การเรียงตัวของใบเป็นแบบขนนก ปลายคี่ ใบที่ปลายกิ่งจะคล้ายกับในในแนวข้าง และมีความยาวกว่าใบย่อยค่ล่าง ใบย่อย ปลายเรียวแหลม ใบมีลักษณะแคบ ปลายแหลม กลุ่มของอับสปอร์เกิดตามขอบใบทั้งสองด้าน เมื่อต้นโตเต็มที่จะมีแต่ใบที่สร้างสปอร์ ใบเป็นสีเขียวอ่อน ผิวด้าน ใต้ใบสีเขียวอ่อนกว่า


Pteris vittata L. @ Pik's Garden
เฟินชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของไทย ปลูกเลี้ยงง่าย ทนแดดได้ดี หากความชื้นเพียงพอ และโตเร็วกว่าอยู่ในร่มที่ไม่ได้แดด

มีรายงานค้นพบว่า เฟินชนิดนี้สามารถดูดซับธาตุโลหะหนัก เช่น สารหนู จากดินมาเก็บไว้ที่เหง้าและใบ และทำให้มันเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าในดินที่ไม่มีสารพิษ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ สาระน่ารู้

Pteris wallichiana J. Agadh.
ลักษณะคล้ายกับ P. longipes แต่ต่างกันที่เหง้าของเฟินชนิดนี้จะเกิดเอนนอน ก้านในมีขนสีดำและหยาบกว่า พบทางภาคเหนือ อีสานและภาคตะวันออก ขึ้นตามพื้นดินในป่าระต่ำ-ปานกลา
> Pteridaceae > Pteris หน้า[ 1 ] >[ 2 ] || Back