> PARKERIACEAE > Taenitis || Back

สกุล Taenitis Willd. ex Spreng

เฟินสกุลนี้ เป็นเฟินดิน พุ่มตั้ง ขนาดกลาง ลำต้นเหง้าเลื้อย เมื่อต้นยังอ่อน เหง้าปกคลุมด้วยขนสีดำ ใบมีก้านยาว สีดำเป็นเงสมัน มีร่องด้านหน้าก้านต่อเนื่องยาวไปถึงก้านใบย่อย โคนก้าน มีท่อรูปยาวคล้ายริบบิน จำนวน 2 ชุด บางครั้งอาจจัดเรียงตัวเป็นรูปตัว U ตัวใบ มีทั้งใบเดียวปกติและใบประกอบขนนก ปลายคี่ (มีน้อยมากที่ขอบใบหยักลึก) ใบย่อยที่ปลาย มีรูปร่างเหมือนใบคู่ล่าง ใบย่อยรูปรีแคบ ผิวเรียบ ใบมี 2 ลักษณะ ใบปกติและใบสปอร์ อับสปอร์อยู่ติดกันเป็นพืด เรียงตัวกันไปตามความยาว 2 ข้างของเส้นกลางใบย่อย โดยอยู่ระหว่างเส้นกลางใบกับริมขอบใบ ไม่มีเยื่อหุ้มอินดูเซียม แต่อาจมีเส้นใย paraphyses ปิด เพื่อป้องกันสปอร์ มีเยื่อหุ้มรัดรอบเป็นตัวกั้นแต่ละอับสปอร์ที่ความหนา 15 เซลล์ สปอร์รูป trilete.

เฟินสกุลนี้ ค้นพบทั้งหมด 14-16 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนของเอเชีย ออสเตเลีย และแปซิฟิค บางแห่ง จัดให้เฟินสกุลนี้อยู่ใน ADIANTACEAE บางแห่ง HEMIONITIDACEAE ก็มี

ตัวอย่างเฟินในสกุลนี้


Taenitis blechnoides
กูดปรง หรือปรงหนู [ Image : Pik ]

Taenitis blechnoides (Willd.) Sw
ชื่ออื่น : กูดปรง หรือปรงหนู

เฟินชนิดนี้ เหง้าล้มทอดนอน เหง้ามีขนาดเล็ก ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำก้านใบยาว มีร่องตั้งแค่โคนเลยเข้าไปถึงเส้นกลางใบย่อย ก้านใบ ที่โคนสีน้ำตาลอ่อน ปลายมีสีเขียว ยาวได้ถึง 60 ซ.ม. ใบเมื่อต้นยังเล็กอายุน้อย ใบเป็นใบเดี่ยวปกติ เมื่ออายุมากขึ้น ใบเป็นใบประกอบขนนกปลายคี่ กว้างราว 30 ซ.ม. ยาว 40 ซ.ม. ใบย่อยมี 1-8 คู่ เรียงสลับ ใบย่อยรูปแถบ กว้างได้ถึง 5 ซ.ม. ปลายสอบเรียวเป็นติ่ง โคนสอบแคบ ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบย่อยเป็นสันนูนด้านล่างใบ ส่วนด้านหน้า เส้นกลางใบเป็นร่องต่ำ แผ่นใบบาง มองเห็นร่างแหเส้นใยใบได้ชัดเจน อับสปอร์จัดเรียงตัวติดกันเป็นพืดยาวต่อเนื่อง อยู่ 2 ข้างของเส้นกลางใบย่อย โดยระหว่างเส้นกลางใบย่อยกับขอบริมใบ

เฟินชนิดนี้ มักพบอยู่ตามป่าพรุ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ที่ระดับต่ำถึง 1,200 ม. MSL. กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน ศรีลังกา อินเดีย อุษาคเย์ และฟิจิ

วิธีการปลูกเลี้ยง :
เฟินชนิดนี้ เป็นเฟินมาจากป่าพรุ ดังนั้น เครื่องปลูกควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุ หรือใบไม้ผุมากๆ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เก็บความชื้นได้ดี ปลูกเลี้ยงบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง และแสงรำไร

> PARKERIACEAE > Taenitis || Back