> Ophioglossaceae || back
วงศ์ Ophioglossaceae

เฟินวงศ์นี้ มีชื่อสามัยเรียกว่า Adder's Tounge
จัดเป็นเฟินโบราณเก่าแก่ที่สุดในบรรดาเฟินแท้ด้วยกัน แม้จะยังไม่พบซากดำดรรพ์ แต่นักวิทยาศาตร์ก็เห็นพ้องต้องกันว่า มันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเฟินที่ปรากฏเป็นฟอสซิลในยุคพาลีโอโซนิค และเฟินในวงศ์นี้ไม่มีเฟินอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงเลย Wagner & Wagner in FNA (1993b) เสนอว่า "เฟินวงศ์นี้ มีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับเฟินในวงศ์ Marattiaceae (วงศ์กีบแรด) และเฟินที่มีเมล็ดในสมัยโบราณ และใกล้ชิดกับพืชในกลุ่ม ปรง (Cycadales) แต่กับเฟินชนิดอื่นๆ แล้ว ไม่มีลักษณะใกล้เคียงเลย"

เฟินในวงศ์นี้ มีขนาดตั้งแต่เล็ก ถึงขนาดปานกลาง มีทั้งชนิดที่เป็นเฟินดิน และเฟินเกาะอาศัย มีเหง้าอวบน้ำ บางชนิดสั้น บางชนิดเลื้อย และบางชนิดตั้งตรง
กลุ่มสปอร์ แยกออกจากใบปกติ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดเป็นช่อ บางชนิดเป็นแผ่น รวมตัวกันเป็น 2 แถว

เฟินในวงศ์นี้ แบ่งได้เป็น 3 สกุล คือ สกุล Ophioglossum สกุล Helminthostachys และ สกุล Botrychium บ้างก็ว่า มี 4-5 สกุล โดยเพิ่มสกุล Ophioderma และ/หรือ Cheiroglossa รวม จำนวนชนิด มีมากว่า 75 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วโลก

สกุล Ophioglossum Linnaeus

สกุลนี้ มีชื่อสามัญว่า Adder's Toung ชื่อเดียวกับชื่อสามัญของวงศ์ ส่วนมากเป็นไม้เกาะอาศัย มีน้อยที่เป็นเฟินดิน กลุ่มสปอร์เป็นแถบ แยกจากใบปกติ
กลุ่มสปอร์อยู่รวมกันเป็นแถว 2-3 แถว บนแผ่นใบพิเศษ แยกออกจากใบปกติ
เฟินในสกุลนี้มีอยู่ราว 25-30 ชนิด ในไทยพบเฟินสกุลนี้ 5 ชนิด


Ophioglossum costatum
[ Image : Satheint - Nongkaai ]

Ophioglossum costatum R. Br.
ชื่อพ้อง : O. pendumculosum
ชื่ออื่น : Large adder's-tongue

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก ยุบตัวหน้าแล้ง ลำต้นเหง้าอวบน้ำฝังอยู่ใต้ดิน ชูใบโผล่พ้นดินขึ้นมา ใบเป็นใบเดี่ยวปกติ แผ่นใบหนาอวบ เกลี้ยง เป็นเงามัน สีเขียวอ่อน ที่โคนใบ มีก้านต่อขึ้นไปยาว เป็นใบสปอร์ อับสปอร์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ดูเหมือนช่อดอก


Ophioglossum gramineum Wild
พบที่ นครนายก แห่งเดียว


เฟินริบบิ้น O. pendulum
[ Image : Mr. Helicon]
Ophioglossum pendulum L.
อาศัยอยู่กับรากชายผ้าสีดา ตามคาคบไม้ในป่าระดับ 1,200 เมตร
พบที่ เชียงราย เลย พิษณุโลก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นครศรีธรรมราช และยะลา เฟินชนิดนี้ถูกลักลอบเก็บออกมาจากป่า ทำให้มีปริมาณลดลงจนเหลือน้อยมาก
มีชื่อทางการค้าว่า เฟินริบบิ้น มักพบเกาะอาศัยอยู่กับรากชายผ้าสีดา

Ophioglossum petiolatum Hook.
พบทางภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เลย สุโขทัย กาญจนบุรี จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

Ophioglossum reticulatum
เป็นเฟินดิน ที่ชวา นิยมกินเป็นผัก

สกุล Helminthostachys

ลักษณะเด่นของเฟินสกุลนี้ คือ กลุ่มสปอร์อยู่รวมกันและแตกเป็นกิ่งย่อยอัดแน่น ในไทยพบเพียงสกุลเดียวโดดๆ คือ

Helminthostachys zeylanica
ชื่ออื่น : ผักนกยูง ตีนนกยูง กูดจ๊อง กูดตีนฮุ๊ง ผักตีนกวาง

เฟินชนิดนี้ ดูเผินๆ ไม่น่าจะเป็นเฟินเลย แต่ก็น่าหลงใหลที่ใบแผ่กางออกเหมือนตีนนกสมชื่อ ตัวใบหนาเป็นเงามันเหมือนแผ่นหนัง และที่แปลกตาที่สุด คือ กลุ่มอับสปอร์มีก้านโผล่ขึ้นมากจากขั้วใบ กระจุกรวมกันเหมือนเป็นดอกไม้
ลักษณะของเฟินชนิดนี้ มีลำต้นหรือเหง้าเป็นเถาเลื้อยสั้นๆ อยู่ในดิน ลักษณะเป็นเนื้ออวบน้ำ ไม่มีขนหรือเกล็ด ใบมีก้านออกจากเหง้า ชูขึ้นเหนือดิน ใบยาวราว 20 ซ.ม. กว้าง 30 ซ.ม. ใบแผ่คล้ายร่มหรือตีนของนก พบทั่วไปตามภูเขาที่มีลำธารน้ำตก หรือสภาพอากาศชื้นจัด มักขึ้นอยู่ในดินโคลนที่มีน้ำเฉอะแฉะ
กลุ่มอับสปอร์เกิดบนกิ่งที่โตจากขั้วใบ ยาวราว 13 ซ.ม.

ใบใช้กินเป็นผัก และหัวใต้ดินใช้เป็นสมุนไพร
ชาวบ้านใช้เหง้ากินแก้ไข้ โดยเคี้ยวกับหมากพลู เพื่อแก้ไอ ชาวเกาะในฟิลิปปินส์ใช้ลำต้นนำมากินคล้ายหน่อไม้ฝรั่ง

ในบ้านเราพบที่ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง เลย กาญจนบุรี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ตั้งแต่ สุราษฎร์ธานีลงไป

เฟินชนิดนี้พักตัวในหน้าแล้ง ใบจะเหี่ยวแห้งและยุบหายไปหมด เหลือไว้แต่เหง้าใต้ดิน เมื่อถึงฤดูฝนใหม่ จึงงอกใบใหม่ขึ้นมา พร้อมกับสร้างก้านและอับสปอร์ เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป


ผักตีนนกยูง
Helminthostachys zeylanica
[ Image : ZUP]

เฟินตีนนกยูงต้นนี้ ที่บ้าน Mr. ZUP เดิมเข้าใจว่ามันตายไปแล้ว แต่ดินในกระถางยังไม่ได้นำไปคว่ำทิ้ง เมื่อฤดูฝนใหม่มาถึง มันเริ่มงอกใบใหม่ออก
Mr. ZUP เก็บภาพการเจริญเติบโตเป็นระยะๆ มาให้พวกเราดูกัน (คลิกที่แต่ละภาพ เพื่อดูภาพใหญ่ในหน้าต่างใหม่)



ใบอ่อนเริ่มผลิขึ้นมา เมื่อได้ฤดูฝนเริ่มมาเยือน

ใบอ่อนคลี่ออกและเริ่มโต

โตเร็วมาก ในไม่กี่วัน
ขอบใบเป็นคลื่น

สังเกตที่ขั้วใบ จะเริ่มเห็นมี
ก้านสปอร์ชูขึ้นมา

ช่อและก้านสปอร์ ตอนนี้
เริ่มเห็นได้ชัดเจน

สกุล Botrychium Swartz

สกุลนี้มีชื่อสามัญว่า Grape Fern, Moonwort, Rattlesnake Fern จำนวนชนิดมีอยู่ราว 50-60 ชนิด จำนวนยังไม่แน่นอน ลักษณะใบเป็นแผ่น
สกุลนี้เป็นเฟินดิน มีกลุ่มสปอร์ รวมกันเป็นช่อ มีก้านชู กลุ่มสปอร์เป็นช่อแหลม บางชนิดก้านของกลุ่มสปอร์เกิดจากโคนของใบปกติที่อยู่เหนือผิวดิน บางชนิดกลุ่มสปอร์เกิดที่เหง้าที่อยู่ในดิน

ในไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ

Botrychium lanuginosum Wall. ex. Hook. & Grev.
ชื่อพ้อง : Japanbotrychium lanuginosum (Wall. ex. Hook. & Grev.) Nichida ex TAggawa
พบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก

> Ophioglossaceae || go back