> Dicsoniaceae || back

วงศ์ Dicksoniaceae วงศ์ลูกไก่ทอง


Cibotium barometz
ลูกไก่ทองในสภาพธรรมชาติ ที่ อช. เขาใหญ่
[ Image : Mr. Popular ]

เฟินวงศ์นี้เป็นเฟินดิน ส่วนมากมีลำต้นตั้งตรง ดูคล้ายไม้ยืนต้น ไม่แตกกิ่ง ลำต้นอวบอ้วนสะสมน้ำและอาหาร บางชนิดลำต้นเลื้อยทอดนอนไปกับผิวดิน ชูยอดเหง้าและใบขึ้นมา ยอดเหง้าปกคลุมด้วยขนหรือเกล็ด สีแดง สีเหลือง หรือน้ำตาลเข้ม มีจำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องยอดอ่อน ใบมีทั้งชนิดก้านสั้นและก้านยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-4 ชั้น
บางชนิดใบสปอร์ ผอมเรียวและแคบ กลุ่มสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบย่อย อับสปอร์รูปถ้วย มีเยื่ออินดูเซียปิดหุ้มรัดรอบภายนอกและมีเยื่ออินดูเซียภายในปิดอีกชั้น เมื่อสปอร์แก่ เยื่อภายในจะพลิกเปิดออก และเยื่อภายนอกเปิดออกตามขอบ เพื่อปล่อยสปอร์แก่ออกไป

วงศ์นี้แบ่งเป็นสกุล ได้แก่ Calochlaena, Cibotium, Culcita, Cystodium, Dicksonia และ Thysopteris รวม 45 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนและส่วนมากอยู่ทางซีกโลกใต้ของโลก บางแห่ง เช่น Holttum 1963, not 1981จัดให้อยู่รวมในวงศ์ Cyatheaceae (วงศ์มหาสะดำ) นอกจากนี้ ยังมีบางแห่งย้ายสกุล Culcita ไปรวมกับในวงศ์ Thyrsopteridaceae
สำหรับในไทย มีรายงานพบเพียงชนิด คือ เฟินลูกไก่ทอง Cibotium barometz (Linn.) J.Smith (ดูรายละเอียดในหน้านี้)

สกุล Cibotium Kaulfuss ลูกไก่ทอง

สกุลนี้จัดเป็นกลุ่ม Tree Fern อีกชนิดหนึ่ง พบมี 12 ชนิด กระจายพันธุ์พบในอุษาคเนย์ S.E. Asia, ในฮาวาย และอเมริกาเขตร้อน เป็นเฟินเก่าแก่โบราณ ที่สุดในบรรดาเฟินชั้นสูงด้วยกัน

เฟินก้านยาว ใบใหญ่โตที่เห็นอยู่ข้างหลัง คือ เฟินลูกไก่ทอง
Cibotium barometz ต้นนี้อยู่ที่บ้านคุณ Duang99
[ภาพ : Duang99 ]

เหง้าของ D. barometz ปกคลุมไปด้วยขนยาวสีทอง เหมือนลูกเจี๊ยบ เป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ลูกไก่ทอง

Cibotium barometz (Linn.) J.Smith
ฃื่อพ้อง : Thelypteris torresiana
ชื่ออื่น : เฟินลูกไก่ทอง ว่านไก่น้อย ละอองไฟฟ้า กูดผีป่า กูดพาน (เหนือ) กูดเสือ โพสี (ปัตตานี) ขนไก่น้อย (เลย) แตดลิง (ตราด) นิลโพสี (สงขลา ยะลา)

เป็นเฟินดินขนาดใหญ่ มีเหง้าเป็นแท่ง เหง้าและใบอ่อนมีขนยาวปกคลุม ขนมีสีทองเป็นเงามัน เหง้าเมื่อยาวมากมักทอดนอนไปกับผิวดิน ใบตั้งขึ้นอยู่รวมกันที่ปลายยอด
ลักษณะใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ใบย่อยไม่มีก้าน ขนาดใบยาวรวมก้าน 100-200 ซ.ม. และอาจยาวได้ถึง 3 ม. ใบปกติ (sterlie frond) และใบสปอร์ (fertile frond) รูปร่างเหมือนกัน อับสปอร์เกิดบนใบย่อย เป็นรูปถ้วยกลม มีเยื่อรัดรอบและเยื่ออินดูเซียมปิด เมื่อสปอร์แก่เผื่อด้านบนเปิดออกเหมือนฝาถ้วย


อับสปอร์ของเฟินลูกไก่ทอง


กระจายพันธุ์ใน จีน อินเดีย มาเลเซีย และ ไทย พบที่ ทางภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก ภาคอีสาน เลย ชัยภูมิ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นครนายก ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และภาคใต้ ตั้งแต่ สงขลาลงไป

การปลูก : เป็นเฟินดินที่ต้องการแสงแดดรำไรถึงแดดครึ่งวัน ความชุ่มชื้นในอากาศสูง และดินระบายน้ำได้ดี ชอบใบไม้ผุ หรือมีฟาง หรือใบไม้ผุคลุมเหง้า แต่ไม่ควรฝังดินจนมิดยอดเหง้า

การขยายพันธุ์ : สปอร์เท่านั้น

 


ภาพนี้ ถ่ายที่ตลาดคำเที่ยง [ Image : Mr. Bank ]

เฟินสกุลนี้ ในมาเลเซียมี 3 ชนิด C. barometz, C. arachnoideum และ C. cumingii

The basal chromosome count of Cibotium is n=68.

สกุล Culcita  C.Presl.
ในสกุลนี้มี 9 ชนิด กระจายพันธุ์อยุ่ใน อเมริการเขตร้อน  โพลนีเซีย และมาเลเซีย

สกุล Cystodium J.Smith
เฟินในสกุลนี้มีเพียงชนิด คือ Cystodium sp Borneo  พบที่ฟิลิปปินส์

สกุล Dicksonia L'Hritier
จัดเป็น Tree Fern หรือ กูดต้น อีกชนิดหนึ่ง สกุลนี้ พบ 30 ชนิด บางแห่งรวมเอา Dennstaedtia punctilobula นำมารวมอยู่ในสกุลนี้ แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้
(จำนวนโครโมโซม พื้นฐานของ Dicksonia มี ท=65)

> Dicsoniaceae || back