> DENNSTAEDTIACEAE > Pteridum || Back

สกุล Pteridium
วงศ์ DENNSTAEDTIACEAE


Pteridium ชื่อนี้มาจากภาษากรีก คำว่า pteris แปลว่า เฟิน เฟินในสกุลนี้เป็นเฟินดิน พบทั้งที่พื้นที่ราบและบนภูเขา ลักษณะทั่วไป มีเหง้าเลื้อยยาวอยู่ใต้ดิน ใบมีก้านยาวชูขึ้นมาจากผิวดิน ใบใหญ่ แข็งหนา อับสปอร์เรียงเป็นแถวอยู่ที่ริมขอบใบ


Pteridium aquilinium บนดอยอินทนนท์
[Image : Bank]


[Image : Bank]


[Image : Bank]

 

สกุลนี้ที่พบในไทย มีชนิดเดียว แต่มีหลายสายพันธุ์ย่อยได้แก่

Pteridium aquilinum
ชื่อสามัญ : Bracken Fern
ชื่ออื่น : กูดเกี๊ยะ กูดกิน Brake, Brake Fern, Eagle Fern, Female Fern, Fiddlehead, Hog Brake, Pasture Brake, Grande fougere,

ชื่อ aquilinum มาจากภาษาลาติน แปลว่า eagle like แปลตรงตัวว่า เฟินที่เหมือนนกอินทรีย์
เป็นเฟินดิน ชอบแดด มีเหง้าเลื้อยยาวอยู่ใต้ผิวดินลงไป อาจถึง 1 ฟุต เหง้าสีน้ำตาล มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ก้านใบยาว 1-3 ฟุต โคนก้านอ้วนได้ถึง 3" แข็งแรง ผิวเป็นเงามัน สีน้ำตาลปนดำ ใบ แผ่กว้างเป็นใบประกอบขนนก 3-4 ชั้น ปลายยอดก้าน มีตายอด สามารถงอกขยายความสูงของก้านต่อไปได้อีก ผิวใบเป็นมัน แผ่นใบหนาแข็ง ใต้ใบมีขนประปรายและสีเขียวจางกว่าด้านบน อับสปอร์ เกิดเรียงตัวชิดกันเป็นเส้นที่ริมขอบใบย่อย

ในเหง้าของกูดเกี๊ยะ ส่วนประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรตและเนื้อเยื่อเก็ยกักน้ำ (น้ำ 87%) เหง้าอ้วนได้ถึง 1" และแตกกิ่งก้านสาขา ระบบเเหง้าแบ่งเป็น 2 ส่วน เหง้าส่วนที่เป็นเหง้าเลื้อยยาวออกไปได้ไกล ส่วนนี้เจริญเติบดตรวดเร็ว มีตาข้างไม่มาก และไม่สร้างใบ เป็นส่วนที่เก็บสะสมแป้ง อีกส่วนเป็นส่วนที่ของเหง้าสั้น ส่วนนี้แตกออกมาจากส่วนเหง้าเลื้อยยาว ส่วนเหง้าสั้นมีใบงอกออกทางด้านข้างและอยู่ใกล้ผิวดินมากกว่า บนเหง้าเลื้อยยาวจะมีตายอดที่อาจงอกออกมาเป็นส่วนเหง้าสั้นหรือเหง้าเลื้อยยาวได้อีก ที่เหง้ามีรากสีดำ บางละเอียด แผ่ลึกลงไปในดินราว 20"

กูดเกี๊ยะสามารถเจริญเติบโตได้ในดินหลากหลายชนิด ที่ระบายน้ำได้ดีเก็บความชื้นได้สูง มีอินทรีย์วัตถุมาก และไม่ชอบดินที่ขังน้ำ

ประโยชน์ของกูดเกี๊ยะมีมากมาย ใแห้งสามารถนำไปมุงเป็นหลังคากระท่อมใบแห้งใช้ทำฟืน ในปี 1860 เถ้าจากใบเป็นแหล่งโปแตสในอุตสหกรรมแก้วและสบู่ เหง้านำมาใช้ฟอกหนังและย้อมผ้าขนสัตว์ให้สีเหลือง
ใบอ่อนที่ยังม้วนกินเป็นผัก ทั้งผักสด ผักดองเกลือ หรือตากแห้งเก็บไว้ ใบและเหง้านำมาใช้ในการหมักเบียร์ เหง้าเป็นแหล่งอาหารประเภทแป้งทดแทนได้ เหง้าแห้งบดละเอียดสำมารถนำมาทำขนมปังแทนแป้งสาลีได้ ชาวอินเดียแดงนำเหง้ามาปรุงเป็นอาหาร โดยลอกเปลือกออกและกิน เหมือนหัวมันหัวเผือก ในประเทศญี่ปุ่น มีการนำแป้งจากเหง้ามาทำเป็นข้าวเกรียบ ในแคนนาดามีการปลูกเลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อนำไปทำอาหหารและยา ในสหรัฐ ไซบีเรีย จีน ญี่ปุ่นและบราซิล จัดให้เป็นไม้ป่าที่กินได้ ผงแป้งจากเหง้าบดออกฤทธิ์ขับพญาธิได้ ชาวดินเดียแดงในอเมิรกากินเหง้าสด เพื่อบไบัดอาการทางหลอดลม

มีรายงานค้นพบว่า กูดเกี๊ยะ มีสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และมะเร็งในหนูทดลอง สำหรับคน กูดเกี๊ยะมีสาร ก่อมะเร็งในหลอดอาหาร กะเพาะและลำไส้ มีสารก่อให้เกิดโรคเม็ดเลือด ลิวคีเมีย มะเร็งในกะเพาะปัสสวะ ทุกส่วนของต้นรวมทั้งสปอร์เป็นสารก่อมะเร็ง จึงมีข้อแนะนำสำหรับคนที่ต้องทำงานอยู่ใกล้บริเวณดงกูดเกี๊ยะขึ้นหนาแน่น สารพิษในกูดเกี๊ยะสามารถซึมเข้าไปอยู่ในน้ำนมวัว สารพิษมีอยู่ในปลายยอดอ่อนมกกว่ากว่าที่ก้านใบ ดังนั้นการนำมากิน มีข้อแนะนำให้ต้มเดือนในสภาพที่เป็นด่างเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

กูดเกี๊ยะ มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งสกัดเคมีฆ่าแมลง และพลังงานชีวภาพ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก ไนโตเจน ฟอสเฟตและโปรแตสเซียม และฝนกรดมีผลกระทบต่อการขยายพันธุ์ของกูดเกี๊ยะอย่างเห็นได้ชัด กูดเกี๊ยะจึงเป็นตัวบ่งชี้ของมลพิษในน้ำฝนได้

ใบของกูดเกี๊ยะ เมื่อโดนทำลาย มันจะคายไฮโดรเจนไซนเนด (HCN) ออกมา โดยเฉพาะในใบอ่อน

เฟินชนิดนี้ มีหลายสายพันธุ์ย่อย ในไทยพบ 3 สายพันธุ์

Pteridium aquilinum var. latiusculum (Desv.) Undrew. ex. A. Heller
พบที่ เชียงราย เชียงใหม่ เลย

Pteridium aquilinum var. wightianum (J. Agardh) R.M. Tryon
ชื่ออื่น : กูดเกี๊ยะ โชน โชนใหญ่

สายพันธุ์นี้ กระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัย ลงมาถึงไต้หวัน ไทย มาเลเซีย มักพบอยู่ตามพื้นที่ชายเขา ได้รับแสงแดดเต็มวัน อยู่รวมกับหญ้าคา ป่าสนเกี๊ยะ หรือป่าสนสอง สนสามใบ กูดเกี๊ยะ ใบย่อยไม่มีก้านใบย่อย ส่วนของใบย่อยชิดกัน ปลายใบมักไม่มีพู ก้านใบย่อยมีขนอยู่ในร่องด้านบน
พบที่ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์
ประโยชน์ ยอดอ่อน นำมาดองเหลือ กินเป็นผัก ใบแก่ ฟอกขาวและย้อมสีทำใบไม้แห้งประดับ ในเนปาลใช้รักษาโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี รักษาธาตุคุมธาตุ

Pteridium aquilinum var. yarrabense Domin.
ชื่ออื่น : กูดกิน
สายพันธุ์นี้ กระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัย ลงมาถึงไต้หวัน ไทย มาเลเซีย ลงไปถึงออสเตเรีย มักพบขึ้นอยู่ตามพื้นที่ราบ ดินปนทราย มีใบไม้ผุทับถม ได้รับแสงแดดเต็มที่
กูดกิน ต่างกับกูดเกี๊ยะที่ ใบย่อยมีก้านสั้นๆ ใบย่อยมีระยะเว้นห่างกัน ปลายใบมีพูเป้นติ่งยื่น ก้านใบย่อยไม่ขน
พบที่ เชียงราย เชียงใหม่ เลย ชัยภูมิ จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สะตูล

> DENNSTAEDTIACEAE > Pteridum || Back