> CHEILANTHACEAE > Cheilanthes || Back

สกุล Cheilanthes Sw.
วงศ์ CHEILANTHACEAE


Cheilanthes sp. [ Image : หนุ่ม ]

เฟินสกุลนี้ ได้ชื่อเรียกทั่วไปว่า เฟินหิน หรือเฟินผา Rock Fern จัดเป็น xerophytic ( Xeric Ferns) หรือ saxiphilous fern หรือบางแห่งเรียก Lip-Fers เนื่องจากขอบใบมักม้วนลงมาปิดอับสปอร์ ทำให้ดูเหมือนริมขอบใบหนาเหมือนริมฝีปากที่ห่อปิดปากของเรา เฟินสกุลนี้มักพบตามผาหินปูนของภูเขาสูง หรือตามกำแพงหิน หรือในพื้นที่แห้งแล้ง มักจะมีช่วงการพักตัวและสามารถปรับตัวให้ขึ้นอยู่ตามสถานที่แห้งแล้งในฤดูร้อนได้ ใบมักมีขน เพื่อช่วยรักษาความชื้นเอาไว้

ลักษณะทั่วไปของ เฟินสกุลนี้ เป็นเฟินขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นเฟินดินหรือเฟินเกาะหิน และเป็น Xerophytic คือ พืชทนภาวะแห้งแล้ง มีเหง้าสั้นตั้งตรง หรือเลื้อยสั้นๆ เหง้ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นแผ่น ใบมีก้าน ทั้งก้านใบหลักและก้านใบย่อย ลักษณะก้านผอมและยาว สีดำเปนเงามัน บางชนิดอาจปกคลุมด้วยขน หรือเกล็ด บางชนิดเกลี้ยง ท่อลำเลียงในก้านจัดเรียงเป็นรูปตัว U ตัวใบ มีทั้งชนิดแคบ และกว้าง เป็นใบกระกอบขนนก 2-3 ชั้น โดยมากใบย่อยที่โคนมีขนาดใหญ่กว่า บางชนิดปกคลุมด้วยขนมากมาย แต่บางชนิดเกลี้ยง และบางทีพบว่ามีผงติดอยู่ เส้นใบกระจายอิสระ เปนแขนงแยกหลายชั้น บางชนิดใบปกติกับใบสปอร์มีรูปร่างไม่แตกต่าง บางชนิดใบสปอร์ผผมเรียวยาวกว่า อับสปอร์เกิดที่ริมขอบใบ ที่ปลายเส้นใยใบ อับสปอร์เรียงตัวไม่ต่อเนื่อง หรืออาจกระจาย ไม่มีเยื่ออินดูเซียแท้ แต่มีเยื่ออินดูเซียปลอมที่เกิดจดากขอบใบม้วนพับลงมาปิด ทำให้ขอบใบหนาขึ้น

เฟินสกุลนี้ทั่วโลกพบ 203ชนิด เป็นพันธุ์ลูกผสมอีก 14 ชนิด สำหรับในไทยพบมี 11 ชนิด ได้แก่ :

Cheilanthes argentea (S.G. Gmel.) Kunze
ชื่อสามัญ Silver Cloak fern (เกราะเงิน)

เป็นเฟินขนาดเล็ก มักพบเกาะอยู่ตามก้อนหิน มักในพื้นที่แห้งแล้งและอากาศเย็น ได้รับแสงแดดรำไร
ก้านใบย่อยสีดำ และใต้ใบมีผงสีเงิน พบที่ เชียงใหม่



Cheilanthes belangeri
[Image ; หนุ่ม]


C. belangeri. ด้านหลังใบของต้นเดียวกัน
ใต้ท้องใบมีผงสีเงินติดบางๆ แต่ภาพถ่ายไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถมองเห็นได้
[Image ; หนุ่ม]

Cheilanthes belangeri (Bory in Belang.) C.Chr.
ชื่อสามัญ : Belangers spleenwort
ชื่ออื่น : กะฉอดไข่ กูดหงอด

ลักษณะทั่วไปมีเหง้าสั้นตั้งตรง ปกคลุมด้วยกล็ดสีน้ำตาล ใบประกอบขนนก รูปสามเหลี่ยมปลายเรียวแหลม โคนสอบ ใบย่อยมีขอบหยักเว้าลึกเกือบสุด ใบย่อยคู่ล่างใหญ่สุด ละเป็นใบประกอบขนนก 2 ชั้น ใบตอนใกล้ปลาย รูปหอก ขอบหยักลึก กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ริมใบย่อยหรือขอบหยักของใบ มีเยื่อหุ้มอับสปอร์ที่เกิดจากขอบใบม้วนพับลงมาปิด

C. belangeri คล้าย C. tenuifolia แต่มีขนาดเล็กกว่า และยังสามรถสร้างต้นอ่อนเล็กๆ บนใบได้

พบที่ พบตามพื้นหรือผาฟินในระดับต่ำ ที่ดอยปุย น้ำตกแม่กลาง เชียงใหม่ ดอยตุง เชียงราย ลำปาง เพชรบูรณ์ นครพนม นครนายก ชลบุรี จันทบุรี สุราษฎร์ธานี ยะลา
กระจายพันธุ์ทั่ว Northern India to Southern China to Thailand and in Luzon.


C. belangeri at Nakornnayok Province

กระฉอดไข่ ต้นนี้เจอที่นครนายก เกาะอยู่ข้างก้อนหิน บริเวณผาหินเล็กๆ ได้รับแสงแดดเต็มที่ครึ่งวันบ่าย ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำตกที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก เจอครั้งแรกเมื่อปี 2545 แต่ไม่ได้ถ่ายภาพไว้ ตอนนั้น ต้นเล็กมาก พุ่มประมาณ 5 ซ.ม. ผ่านมาอีก 1 ปี ดีใจที่มันยังอยู่และเติบใหญ่กว่าเดิม ตอนนี้ใบหนึ่งก็ยาวถึง 15 ซ.ม. แล้ว หากมีโอกาส ปีหน้าจะแวะมาเยี่ยมใหม่นะ

Cheilanthes delicatula Tagawa & K. Iwats.

เป็นเฟินขนาดเล็ก ก้านใบจิ๋ว เส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 0.2 มม. สีดำเป็นมัน ใบมีขนาด 2.5x1.5 ซ.ม. เห็นเส้นใบชัดเจนเพราะมีสีคล้ำ อับสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบย่อย พบที่ดอยอินทนนท์ ที่เชียงใหม่ ปัจจุบันคาดว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือไว้เพียงตัวอย่างแห้งที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์

Cheilanthes formosama Hayata
ชื่ออื่น : กูดเงิน

กูดเงิน ลักษณะทั่วไป มีเหง้าสั้นตั้งตรง เหง้าปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นแผ่นบางๆ ลักษณะใบ มีก้านใบยาว 5-15 ซ.ม. สีม่วงเข้มถึงดำ เป็นมันเงา ใบ เป็นใบประกอบขนนก 2 ชั้น รูปขอบขนานปลายสอบแหลม ใบย่อยคู่ล่างใหญ่สุด และเล็กลงไปทางปลายใบ ใบย่อยไม่มีก้านใบย่อย ปลายมน โคนเฉียง ใต้ใบมีผงสีขาวหรือสีเหลือง กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบ บริเวณปลายเส้นใบ
พบที่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก
Cheilanthes fragilis Hook.
พบที่เชียงใหม่

Cheilantes krameri Francah. & Sav.
ชื่อพ้อง : Cheilanthes mexicana Fee

พบที่ เชียงใหม่ ตาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

Cheilanthes siamensis (S.K. Wu) K. Iwats

มีลักษณะใกล้เคียงกับ Cheilanthes formosana Hayata ต่างกันที่ ใบย่อยมีก้านใบเห็นได้ชัดเจน ใบย่อยมีจำนวนคู่มากกว่าและมีขนาดใบใหญ่กว่า เฟินชนิดนี้กระจายพันธุ์กว้างขวางที่สุด มีความผันแปรในเรื่องทางลักษณะสัณฐานวิทยามากที่สุด เดิมมีชื่อว่า C. farinosa แต่ต่อมาพบว่า เป็นเฟินชนิดใหม่ที่พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น (Tagawa and Iwatsuki 1989)
ก้านใบยาว แต่ต้นและใบมักมีขนาดเล็ก ใต้ใบมีผงสีเงิน แต่ไม่มีขนหรือเกล็ด เกิดตามผาหินปูน หรือตามพื้นดินในป่าโปร่ง พบทางภาคเหนือของไทยหลายท้องที่
พบที่เชียงใหม่ อ. งาว ลำปาง

Cheilanthes tenuifolia (Burm. f.) Sw.
ชื่อสามัญ : Rock Fern
ชื่ออื่น : โชนผี เฟินท้องเงิน




เฟินท้องเงิน Cheilanthes tenuifolia
ที่ น้ำตกแม่สา เชียงใหม่ ถ่ายเมื่อ ก.ย.44
จัดเป็นเฟินดิน และเฟินหิน ลำต้นเป็นเหง้าสั้นๆ ใบรูปสามเหลี่ยม ใต้ท้องใบมีขนสีเงิน จับดูหนานุ่มมือ ใบมี 2 แบบ ใบที่ไม่สร้างสปอร์มีขนาดเล็ก ก้านใบยาว 8-12 ซ.ม. ทรงสามเหลี่ยม ส่วนใบที่สร้างสปอร์มีขนาด 20x8 ซ.ม. มีใบย่อย 10 คู่หรือมากกว่านั้น
อับสปอร์ เกิดที่ปลายใบ แต่เกิดติดกันตามขอบพูใบ เมื่ออายุยังน้อย จะถูกปกคลุมด้วยเยื่อจากขอบใบ

พบที่ ภาคเหนือตอนบนด้านตะวันตก ดอยปุย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ภาคตะวัน นครนายก จันทบุรี ภาคใต้ตอนล่าง สุราษฎร์ธานี สตูล สงชลา ยะลา เป็นต้น
กระจายพันธุ์ทั่ว North India, Sri Lanka, South-East Asia including Thailand, Malaysia and Singapore, Polynesia, Australia.


Cheilantes pseudofarinosa (Ching & S.K. Wu)

พบที่เชียงใหม่

Cheilanthes rufa D. Dom

เฟินชนิดดูคล้าย C. subrufa โดนเฉพาะอย่างยิ่งในด้านปับสปอร์และอินดูเซีย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ก้านใบสีดำเป็นมันและมีขนขึ้นเต็ม ใบมีขนาด 11x5 ซ.ม. ใต้ใบมีผงสีเหลืองส้มติดอยู่
เกิดตามผาหินปูนในป่าระดับ 900-1,000 เมตร เฟินชนิดนี้มักพักตัวในฤดูแล้ง
พบที่ ดอยหลวงเชียงดาว เชียงใหม่

Cheilanthes subrufa

เป็นเฟินขนาดเล็ก-ปานกลาง กระจายพันธุ์บนดอยหลวงเชียงดาว เชียงใหม่ ลักษณะต่างๆ อยู่ระหว่าง C. farinosa และ C. rufa
ก้านใบมีขนน้อย สีดำเป็นมัน ใบมีขนาด 8-15 x 5-8 ซ.ม. ใต้ใบมีฝุ่นหรือผงสีเหลืองอ่อนขาวติดอยู่
เฟินชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักกันเท่าใดนัก (เฟิน มล. จารุพันธ์ 2536) พบที่เชียงใหม่

Cheilanthes pseudoargentea (S.K. Wu) K. Iwats.

พบเฉพาะทางในประเทศไทยเท่านั้น พบตามผาหินปูนในป่าระดับสูง เป็นเฟินขนาดล็ก
พบที่ ดอยหลวงเชียงดาว เชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ีรายงานจาก ตปท. ระบุ เฟิน Cheilanthes farinosa (Forst.) Kaulf. เรียกกันว่า Siver Fern ใช้น้ำคั้นจากต้น นำไปหยอดหู แก้อาการเจ๊บหูได้
ส่วนเฟิน C. tenuifolia หรือเฟินท้อเงิน เป็นเฟินที่มีพิษ ไม่ว่าคนหรือสัตว์กินเข้า อาจเป็นอันตรายได้ แต่ก็มีบางประเทศนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่นที่อินโดนีเซีย นำไปผสมทำ แชมพูสระผม หรือ Hair Tonic บำรุงรากและเส้นผม

การปลูกเลี้ยง :
เฟินในสกุลนี้ มีใบสวยงาม แต่ปลูกเลี้ยงยาก จึงมักไม่ค่อยนิยมปลูกเลี้ยงกันมากนัก เนื่องจากเป็นเฟินเกาะหิน ระบบรากต้องการอากาศถ่ายเท และไม่ชุ่มแฉะน้ำตลอดเวลา ต้องการบรรยากาศโดยรอบมีความชุ่มชื้นด้วย เฟินที่เก็บมาจากป่าธรรมชาติ โอกาสรอดตายมีน้อยมาก หากต้องการปลูกเลี้ยง ควรเลือกต้นที่ได้จากการเพาะสปอร์ดีกว่า

การขยายพันธุ์ : อาศัยสปอร์เป็นหลัก เทคนิคการเก็บสปอร์ของเฟินสกุลนี้ เนื่องจากสปอร์อยู่ที่ริมขอบใบ ขอบใบมักม้วนพับลงมาปิดอับสปอร์ สปอร์แก่พร้อมๆ กับใบซึ่งใบ เหี่ยวกรอบ และห่อม้วนเป็นก้อน ทำให้ปล่อยสปอร์ออกมาได้น้อย จึงจำต้องนำใบที่เหี่ยวกรอบนั้น มาบดให้ละเอียดในภาชนะ แล้วร่อนด้วยตะแกรงตาถี่มากสักหน่อย เพื่อให้ได้แต่สปอร์ล้วนๆ ออกมา แล้วจึงนำไปเพาะ ส่วนวัสดุเพาะควรผสมแคลเซี่ยมลงไปให้ด้วย เช่นแคลเซี่ยมจากหินปูน เปลือกไข่ กระดูกป่น เป็นต้น

Xeric Ferns

Xeric Ferns ในที่นี้หมายถึง Xerophytic Fern เป็นเฟินในกลุ่มที่มีฃีวิตอยู่ในสถานที่แห้งแล้ง ในที่ๆ เรานึกไม่ถึงว่า จะมีเฟินสามารถขึ้นอยู่ได้ หลายคนคิดว่า เฟินน่าจะอยู่ขึ้นบริเวณบนดิน ที่ร่ม ริมน้ำ แต่พวก Xeric Ferns จำนวนมากกลับอาศัยอยู่กับบนพื้นทราย ในทะเลทราย หรืออยู่ตามซอกหินในที่แห้งแล้ง ซึ่งพวกมันประสบความสำเร็จในการปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ด้วยวิธีการหลายๆ อย่าง

Xeric Ferns จำนวนมาก อาศัยอยู่บนพื้นดินทรายหรือเปลือกหินที่ระบายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อมีน้ำมา น้ำจะไหลผ่านรากของมันไปอย่างรวงดเร็ว ทำให้รากของมันขังแฉะน้ำจนเน่า ในขณะเดียวกันมันก็สามารถดูดซับน้ำเก็บเอาไว้ใช้ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มี Xeric Fern จำนวนหนึ่ง อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีฝนชุก หลังจากผ่านช่วงพักตัวในฤดูหนาว พวกมันสามารถสร้างใบใหม่ได้อย่างรวดเร็วทันทีที่มันได้รับฝนครั้งแรกของปี และอับสปอร์ของมันจะแก่ และปลดปล่อยให้กระจายออก โดยอาศัยช่วงอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนได้ร่มเงาในช่วงนี้ รีบแพร่ขยายพันธุ์ขึ้นเป็นต้นเฟินใหม่ ก่อนที่ฤดูร้อนจะย่างกรายเข้ามาทำให้พวกมันเหี่ยวแห้ง เข้าสู่ช่วงพักตัวและรอคอยฝนใหม่ในปีหน้าต่อไป มีพืชจำนวนมากที่อาศัยอยู่กับก้อนหินก้อนกรวดในด้านที่ได้รับร่มเงา ที่ๆ รากของพวกมันจะสามารถหาแหล่งน้ำได้จากใต้ก้อนหิน

พืชทะเลทราย Xeric บางจำพวก มีการปกป้องตัวเอง ด้วยการสร้างขนสั้นๆ ขึ้นมาปกคลุม เพื่อเป็นการลดการคายน้ำอันเนื่องจากอากาศที่พัดผ่าน และยังช่วยเก็บความชื้นเอาไว้ เพื่อส่งต่อไปยังใบ ดังนั้น ความแห้งแล้วจึงไม่เป็นปัญหากับพวกมันมากนัก พืชบางจำพวกปรับตัวเพื่อรับกับสภาวะแห้งแล้ง ด้วยการม้วนห่อใบ เพื่อเป็นการลดพื้นที่การระเหยน้ำ และเมื่อถึงฤดูกาลที่มีความชุ่มชื้นมากขึ้น ใบของมันก็จะกลับตึงขึ้นมาใหม่ดังเดิม

พืช Xeric บางจำพวก ด้านใต้ใบจะถูกเคลือบเอสไว้ด้วยสารที่เป็นผง เรียกว่า "farina" ผงเคลือบนี้ โดยมากมักมีสีขาว หรือสีเหลือง หรือสีทอง ผงนี้ช่วยสะท้อนความร้อนออกไป และในขณะเดียวกันผงนี้ช่วยปกป้องสปอร์ใสภาวะที่ความชื้นมีน้อยอีกน้อย

เฟินที่อยู่ในกลุ่มทนแล้งนี้ เป็นกลุ่มที่จำแนกชนิดได้ยากลำบาก ในปี 1979, Dr. John Mickel ที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งนิวยอร์ค ได้เหมารวมเอาเฟินในกลุ่มนี้ทั้งหมดจัดอยู่ในสกุล Cheilanthes ทำให้เป็นที่รู้จักกันในนามของ Cheilanthoids จากการศึกษาในระยะหลังต่อมา ได้มีชื่อสกุลใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายสกุล และเฟินเหล่านี้ก้ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ ADIANTACEAE หรือ PTERIDACEAE แต่ต่อมาก็ได้มีการจำแนกออกไปเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ส่วน Cheilanthoids ก็ยังคงใช้กันอยู่ทั่วไป

> CHEILANTHACEAE > Cheilanthes || Back