รายวิชาพระพุทธศาสนา ส ๐๑๑๐
๒ คาบ / สัปดาห์ /ภาค ๑ หน่วยการเรียน
..........................................................................................................

พระพุทธศาสนา

                หลังจากพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว  ก็มีพระประสงค์อยากให้ผู้อื่นรู้ตามพระองค์เพื่อที่จะได้พันทุกข์ได้พบกับความสุขที่แท้จริงจึงเสด็จออกประกาศ
พระศาสนา  ทำให้พระพุทะศาสนาได้เจริญรุ่งเรื่องแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ  ของทวีปเอเเซีย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนสุวรรณภูมิ  ซึ่งพระพุทธศาสนาได้กลาย
เป็นศาสนาประจำชาติและเป็นรากฐานของวัฒนธรรมประเพณีของประเทศต่าง ๆ  ในภูมภาคเหล่านี้  นอกจากนี้ยังสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศเที่นับถือพระพุทธ
ศาสนาเหมือนกันอีกด้วย

พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน

                        ๑.พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า พระพุทธศาสนาเข้าสู่พม่าในระยะแรกเป็นแบบนิกายเถรวาท  โดยผ่านเข้ามาทางดินแดนของมอญ  ต่อมาพระเจ้า
อนุรุทรมหาราชหรืออโนรธามั่งช่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของพม่า  พระองค์ทรงศรัทธาเลื่อมใสนิกายเถรวาทมาก   เมื่อทราบว่าพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในดินแดนมอญเจริญรุ่งเรืองจึงได้ส่งฑูตไปทูลขอพระไตรปิฏกจากมอญ  แต่กษัตริย์มอญไม่ยินยอม  จึงเกิดสงครามระหว่างพม่ากับมอญฝ่ายพม่ชนะได้นำพระสงฆ์จากมอญและพระไตรปิฏกไปไว้ที่พม่า  เป็นผลให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้เจริญแผ่ขยายไปทั่วอาณาจักรพม่า  จนกระทั่งพม่าเสียเอกราชให้แก่อังกฤษ  ในปัจจุบันอาณาจักรพม่ายังคงนับถือพระพุทธศาสนาอยู่

                       ๒.พระพุทธศาสนาในประเทศเขมร (กัมพูฃา) พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศกัมพูชาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ ซึ่งเดิมนั้นกัมพูชานับถือนับถือศาสนาพราหมณ์อยู่แล้ว  ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมนที่ ๗ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก  มีการสร้างวัดวาอารามและวิหารพระพุทธศาสนาทั่งราชอาณาจักร
                        ต่อมากัมพูชาเสื่อมอำนาจลงเพราะต้องทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านบ้าง  สงครามแย่งชิงราชสมบัติกันเองบ้าง  มีผลทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงไปด้วย
                        พระพุทธศาสนาในกัมพูชาฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งในสมัยของพระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี(นักองค์ด้วง)  เพราะได้รับการช่วยเหลือจากไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  โดยพระภิกขุชาวกัมพูฃาเข้ามาศึกษาในประเทศไทยและได้นำเอานิกายธรรมยุติจากเมืองไทยไปประดิษฐานในกัมพูชา
                        เมื่อกัมพูชาตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระพุทธศาสนาก็ไม้ได้รับการทำนุบำรุงมากนัก  จนเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชและเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ พระพุทธศาสนาก็เสื่อมลงอย่างมาก
                        ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในกัมพูชามีแนวโน้มดีขึ้นเพราะสงครามกลางเมืองในกัมพูชาเริ่มสงบลง  ทำให้ชาวกัมพูชามีโอกาศประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากขึ้น

                        ๓.พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม เวีนยดนามได้รับพระพุทธศาสนานิกายมหายานจากจีนเพราะเคยเป็นเมืองขึ้นของจีนต่อมาภายหลังได้รับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากไทยและเขมร
                        เมื่อตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสมีชาวเวียดนามบางส่วนหันไปนับถือคริสต์ศาสนา  พระพุทธศาสนาได้รับการขัดขวางและถูกทำลาย  ต่อมาเมื่อเวียดนามตกอยู่ภายใต้การปกครองระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสน์  ยิ่งทำให้พระพุทธศาสนาในเวียดนามเสื่อมลงถึงขีดสุด  ในปัจจุบันรัฐบาลได้ผ่อนปรนมาตรการ  เข็มงวดในการนับถือพระพุทะศาสนาลงบ่าง  แต่ไม่ได้รับผลสำเร้จมากนัก  เพราะมีพระสงฆ์เหลืออยู่น้อยมาก  และชาวเวียดนามรุ่นใหม่ก็นิยมเข้านับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่

                   ๔.พระพุทธศาสนาในประเทศลาว  พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศลาวในสมัยของเจ้าฟ้างุ้มผู้ตั้งอาณาจักรล้านช้าง  เป็นพระพุทธสาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้  ต่อมาเมื่อลาวตกเป้ฯเมืองขึ้นของฝร่งเศส  พระพุทธศาสนาได้เสื่อมลงเพราะขาดการทำนุบำรุง  แต่ยังเป็นศาสนาสำคัญของประชาชนลาว
                           การนับถือพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน  หลังจากที่ได้รับเอกราชจากฝร่งเศส  รัฐบาลได้มีการปรับปรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาแบบอย่างคณะสงฆ์ของไทยต่อมาในปีพ.ศ.2518 ลาวได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  มีผลทำให้พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนอย่างมาก  พระสงฆ์มีหน้าที่ช่วยเผยแผ่คำสอนตามลัทธิการเมืองและอุดมกาณ์ของรัฐ  วิธีการดังกล่าวทำให้พระพุทธศาสนาในลาวนั้นเสื่อมลงไปอีก

                        ๕.พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย   มาเลเซียได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาแบบมหายาน  จากอาณาจักศรีวิชัยต่อมาเมื่ออาณาจักรสุโขทัยแผ่อำนาจลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนถึงแหลมมลายู   จึงทำให้บริเวณนั้นนับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาททั้งสิ้น
                                ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐  ศาสนาอิสลามได้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนมลายู  เป็นผลให้พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก และศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ   จนในที่สุดมาเลเซียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ  และหลังจากที่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ  ได้มีคณะสมณฑูตจากไทย  ศรีลังกา  พม่า  เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในมาเลเซีย   ทำให้พระพุทธศาสนาได้ฟื้นฟูขี้นมาอีกครั้งหนึ่ง   ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ชาวจีน ศรีลังกา และไทย อาศัยอยู่ในรัฐที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทย  เช่นกลันตัน  ตรังกานู เคดาห์ และปะริส   ปัจจุบันวัดในพระพุทธศาสนา เช่นวัดเชตวันในกัวลาลัมเปอร์และวัดไทยในปินัง คือวัดไชยมังคลาราม เป็นต้น

                            ๖.พระพุทธศาสนาในประเทศสิงคโปร์  ด้วยเหตุที่พลเมืองส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นชาวจีน ซึ่งมาตั้งรกรากอยู่ที่สิงคโปร์จึงได้นำเอาพระพุทธศาสนานิกายมหายานเข้ามาเผยแผ่ด้วย มีวัดในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัดในนิกายมหายาน สำหรับในนิกายเถรวาท ได้แก่วัดศรีลังการามายณะ  ของศรีลังกา  วัดอานันทเมตทยารามและวัดป่าเลไลยก์ของไทย

                            ๗.พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย   พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้เข้ามาเผยแผ่ในอินโดนีเซียสมัยอาณาจักรศรีวิชัย  โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ  ๒ แห่งในอินโดนีเซีย คือโบโรบุดุร์ หรือบรมพุทธโธ ในภาคกลางของเกาะชวา  และพระวิหารเมนด
                      เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง  กษัตริย์ของอาณาจักรมัชณปาหิต ขึ้นมามีอำนาจ  ได้มีความเลื่อมใสในศาสนาอิสลามและประกาศห้ามเผยแผ่พระพุทธศาสนา  และทรงยกย่องศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ  พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมลงตั้งแต่นั้นมา
                               ในปัจจุบันชาวอินโดนีเซียที่ยังคงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นนิกายมหายานอยู่  เช่นในเกาะชวา  สุมาตราและบาหลี

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อการช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
                    พระพุทธศาสนาช่วยให้มีความสำพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านได้เพราะ
                                ๑. พระพุทธศาสนาสร้างลักษณะนิสัย  รักสงบ  เอื้อเฟื้อ  ใจกว้าง  อดทน  ให้อภัย  ปรับตัวง่าย  เป็นมิตรกับเพื่อนมนุษย์  ทำให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าอันดีต่อกันโดยเฉพาะบริเวณชายแดน   พระสงฆ์  ข้าราชการชายแดน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์เยือนด้วยมิตรไมตรี
                                ๒. การมีปูชนียวัตถุ  ปูชนียสถาน  ในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนนมัสการ  แลกเปลี่ยนพระพุทธรูปและคัมภีร์
                                ๓. การปฏิบัติธรรม  มีการแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติ  เช่น  วิปัสสนากรรมฐาน  ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางพระพุทธศาสนา ระหว่าประเทศเพื่อนบ้านช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดีขึ้น
                                ๔. พุทธศาสนิกชนไม่รังเกียจศาสนาอื่น   สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
                                ๕ หลักธรรมพระพุทธศาสนาในการสร้างสัมพันธไมตรี             คือหลักสาราณียธรรมและหลักสังคหวัตถุ
                                        (๑) หลักสาราณียธรรม   ประกอบด้วย  การมีเมตตาทางกาย   วาจา  ใจ  การแบ่งปันผลประโยชน์การปฏิบัติเสมอกันกับมิตรประเทศ  การมีความคิดเห็นตรงกับมิตรประเทศ
                                        (๒) หลักสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  สมานัตตตา
                                ๖. สร้างสัมพันธ์ไมตรีตามแนว  ทางของพระเจ้าอโศกมหาราช            ได้แก่
                                        (๑) ให้สิทธิในการเผยแผ่ศาสนาอื่น ไม่ขัดขวาง  ดูหมิ่นศาสนาอื่น
                                        (๒) ให้ความเอื้อเฟื้อศาสนาอื่นที่เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศของเรา
                                        (๓) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างกัน  ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะ  รู้จักเสียสละ  รู้จักประสานประโยชน์
                                        (๔) พยายามละเว้นการสร้างข้อพิพาท   การทำสงคราม  โจมตีให้ร้ายกัน  ถ้าต้องการแข่งขันเอาชนะควรเอาชนะกันด้วยธรรม

พุทธประวัติ   ประวัติพุทธสาวก  และชาวพุทธตัวอย่าง

พุทธประวัติ

                                พุทธจริยาอันเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต   พระพุทธเจ้าทรงมีพระจริยวัตรที่ปฏิบัติเป็นปกติวิสัย  ๓ ประการ  คือ
                                  ๑.โลกัตถจริยา    แปลว่าการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก   หมายถึงการบำเพ็ญประโยชน์แก่หมู่สัตว์โลก  ได้แก่ การบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ดังนี้
                                            ๑) ส่งสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน
                                            ๒) เสด็จไปเทศนาสั่งสอนประชาชน
                                            ๓) ตรวจดูด้วยพระญาณว่าคนหมู่ใดจะรับฟังคำสอนได้บ้างเพื่อวันรุ่งขึ้นจะได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรด
                                            ๔) ทรงสอนให้เศรษฐีเสียสละเพื่อความยากจน
                                ๒. ญาตัตถจริยา   แปลว่า  การบำเพ็ญประโยชน์  แก่ญาติ  หมายความว่าทรงสอนให้พระญาติทางฝ่ายพุทธบิดา และฝ่ายพุทธมารดาได้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง  การบำเพ็ญประโยชน์แก่ญาติที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำดังนี้
                                            ๑) ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติสำเร็จมรรคผลกันตามสมควร
                                            ๒) ทรงให้การอุปสมบทแก่พระนันทะ พระราหุล
                                            ๓) ทรงให้การอุปสมบทแก่พระอานนท์  พระอนุรุทธ  พระภัทธิสักยราช  พระภัคคุ  พระกิมพิละ  และพระเทวทัต
                                            ๔) ทรงให้การอุปสมบทภิกษุณีองค์แรก คือ พระนางปชาบดีโคตมี
                                            ๕) ทรงอนุญาตให้พระประยูรญาติที่เป็นเดียรถีร์อุปสมบทได้
                                            ๖) ทรงเสด็จห้ามพระประยูรยาติฝ่ายพุทธบิดากับฝ่ายพุทธมารดาที่วิวาทเพราะเรื่องแย่งน้ำ
                                ๓. พุทธัตถจริยา  แปลว่า การบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า  ภารกิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำในฐานะที่ทรงเป็นพระพุทะเจ้ามีอยู่มากมาย  เช่น
                                            ๑) ช่วยสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากความทุกข์  คือให่หลุดพ้นจาการเวียนว่ายตายเกิด
                                            ๒) ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อความดำรงทรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา คือ ศีลสำหรับภิกษุ  และภิกษุณี
                                            ๓) ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง  โดยมีพุทธบริษัท ๔  คือ ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา
                                            ๔) ทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวง  และทรงอนุญาตให้พระธรรมวินัยเป็นศาสนาแทนพระองค์

ประวัติพุทธสาวก

                     พระราหุล   เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธราหรือพระนางพิมพา ผู้ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์  พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระสารีบุตรให้บรรพชาแ่พระราหุลและมีอายุ ๗ พรรษา จึงถือว่าเป็นสามเณรองค์ในพระพุทธศาสนา

                                   คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
                               
๑. เป็นผู้มีความอดทนเป็นเยี่ยม  เพราะบรรพชาตั้งแต่อายุ ๗ ปี
                                           ๒. เป็นผู้มีความนอบน้อมถ่อมตน  ทั้งที่เป็นโอรสของพระพุทธเจ้าแต่ก็อ่อนน้อมต่อพระภิกษุสงฆ์ผู้อาวุโสกว่าทุกท่าน
                                           ๓. เป็นผู้ฝักใฝ่การศึกษาอย่างยิ่ง
                                           ๔. เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย  ยอมรับฟังโอวาทของพระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์แล้วนำไปปฏิบัติ
                                           ๕. เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร  รับใช้พระพุทธเจ้าและพระสารีบุตร  เมื่อได้เป็นพระภิกษุก็หมั่นศึกษาธรรมะเพิ่มเติมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
                                           ๖. เป็นผู้มีความกตัญญู

                    ชาวพุทธตัวอย่าง

                                นางจูฬสุภัททา  เป็นธิดาของอนาบิณฑิกเศรษฐี  ต่อมาท่านเศรษฐีได้แต่งตั้งนาง๗ูฬสุภัททาเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์แทนพี่สาวตนโตที่แต่งงานมีครอบครัวไป  นางได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อย  นางมีโอกาสไดฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน

                                คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง
                               
๑. ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี
                                          ๒. มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธสาสนา
                                          ๓. ใช้เหตุผลในการโต้ตอบกับบิดาสามี
                                          ๔. เข้าเจ้าพระพุทธศาสนาลึกซึ่งและมีวาทศิลป์ในการบรรยายพระคุณของพระพุทธเจ้า  สามารถจูงใจผู้อื่นให้หันมานับถือพระพุทธเจ้าได้
                                           ๖. เป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีอันดี

                                กุมภโฆสกเศรษฐี เป็นบุตรของราชคหเศรษฐี  เศรษฐีใหญ่แห่งเมืองราชคฤห์   เมื่อยังเล็กได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด   ท่านเศรษฐีกับภรรยาได้ป่วยหนักจึงเรียกบุตรชาติมาบอกที่ซ่อนทรัพย์สมบัติและให้เรียบหนีไปอยู่ที่อื่นก่อน ๑๒ ปีต่อมากุมภโฆสกได้กลับมาบ้านท่านไม่ได้นำทรัพย์สมบัติที่ฝั่งอยู่มาใช้แต่ไปรับจ้างทำงานเป็นยามมีหน้าที่ปลุกคนให้ตื่นและเตือนคนให้ไปทำงาน  อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าพิมพิสาร  กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ  ผู้ทรงมีความสามารถพิเศษในการฟังเสียงของมนุษย์และสัตว์  เมื่อได้สลับฟังเสียงปลุกของกุมภโฆสกจึงทรงรับสั่งว่านั่นคือเสียงของคนมีทรัพย์มาก  ต่อมาภายหลังทราบว่าเป็นเศรษฐีทรงยกย่องและนำไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  และกราบทูลความดีของกุมภโฆสก ว่าเป็นเศรษฐี มีทรัพย์มาก  แต่ไม่เย่อยิ่งถือตัวนุ่งนุ่มด้วยผ้าเก่า ๆ มีความอดทน  เที่ยวรับจ้างเหมือนคนกำพร้า 

                                คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง
   
                                        ๑. เป็นผู้รู้จักถ่อมตน
                                            ๒. เป็นผู้ตั้งปฏิบัติหน้าที่
                                            ๓. เป้นผู้มีความฉลาด  รู้จักอดออมถนอมทรัพย์ไว้
                                            ๔. เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
                                            ๕. เป็นผู้มีคุณธรรมดีเด่นหลายประการ  เช่นความอดทน  ความสุจริต  ความมีสติ  ความมีปัญญา  เป็นต้น

กลับหน้าแรก      หน้าต่อไป