ปลาทอง

Goldfish1.jpg (5507 bytes)

        ปลาทอง (Goldfish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus (linn.) มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และได้มีการนำเข้า มาเพาะขยายพันธุ์ในประเทศไทย จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการคัดพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ที่มี ีลักษณะและสีสรรแปลกออกไป พันธุ์ปลาทองที่ได้รับความนิยมในตลาดปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์หัวสิงห์ (Lion head) ออแรนดา (Oranda) เกล็ดแก้ว (Pearl scale) ตาโปน (Telescope eye) ริวกิ้น (Ryukin) ตาลูกโป่ง (Bubble eye) ชูบุงกิ้น (Shubunkin) เป็นต้น

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทองสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน ถังไฟเบอร์ ตู้กระจก ฯลฯ ทำเลที่เหมาะสมในการสร้างบ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง คือ บริเวณที่แสงแดดส่องได้บ้างในเวลา เช้าหรือเย็น หากเป็นที่โล่งแจ้งต้องทำหลังคา หรือ ร่มเงาให้แสงส่องลงได้เพียง 25 - 40% บ่อที่ได้รับแสงแดดที่พอเหมาะ จะทำให้สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำและแพลงค์ตอนพืช (Phytoplankton) ให้อยู่ในปริมาณที่พอดี ทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดอยู่เสมอเหมาะกับความเป็นอยู่ของปลา พื้นที่บ่อไม่จำกัด ใส่น้ำลึก 30 – 70 เซนติเมตร ขึ้นกับ ชนิดปลา ถ้าเป็นปลาสายพันธุ์หัวสิงห์ ก็จะใส่น้ำตื้น ส่วนพันธุ์ออแรนดา สามารถใส่น้ำลึกได้ ให้อากาศผ่านหัวทราย ตลอดเวลาบ่อขนาด 4 ตารางเมตร น้ำลึก 70 เซนติเมตร ใส่หัวทรายให้อากาศแรง ๆ 2 – 3 หัว ปล่อยพ่อแม่ปลาในอัตรา ส่วน เพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 2 : 3 ความหนาแน่น 6 ตัว/ตารางเมตร หรือปริมาตรน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ น้ำหนักรวม 2 – 2.5 กิโลกรัม อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ อาหารธรรมชาติ ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไส้เดือนแดง ไส้เดือนแดง หรือ อาร์ทีเมีย อาหารมีชีวิตเหล่านี้จะทำให้ปลาโตเร็ว และปลากินได้ตลอดเวลา แต่การจัดเตรียมหรือ จัดหาอาจมีความยุ่งยากในบางพื้นที่ อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดปลากินพืชหรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก โดยอาหาร เม็ดปลาดุกเล็กจะดีกว่า เนื่องจากมีคุณค่าอาหารสูงกว่า สามารถเลี้ยงปลาได้เจริญเติบโตดี และมีสีสรรสวยงาม การให้อาหารจะให้วันละ 2 – 3 % ของน้ำหนักปลา เช่นมีปลาทั้งหมดหนัก 500 กรัม จะให้อาหารวันละ 10 – 15 กรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น คุณสมบัติของน้ำที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นน้ำที่สะอาด ใช้น้ำบาดาล น้ำจากแม่น้ำ หรือ น้ำประปาที่ใส่ถังเปิดฝา ให้คลอรีนระเหยออกอย่างน้อย 3 วัน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.5 – 7.5 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร จึงจำเป็นต้องมีระบบเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยง พ่อแม่พันธุ์ปลาตลอดเวลา ความกระด้าง (Hardness) 75 – 150 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร และความเป็นด่าง (Alkalinity) 75 – 200 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร มีการดูดตะกอนก้นบ่อออกทุก ๆ 3 วัน แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเดิม การเลี้ยงปลาทองไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย เพราะจะทำให้ปลาช้ำและเกิดโรคง่าย จะเปลี่ยน 3 เดือน/ครั้ง ในปริมาณ 25 – 50% ของน้ำทั้งหมด และหากน้ำในบ่อมีคุณภาพไม่ดี ก็ให้ทำการล้างบ่อนำน้ำเก่า จากบ่ออื่นมาเติมในปริมาณ 30% และใส่น้ำใหม่เพิ่มไปอีก 70% การไม่เปลี่ยนน้ำนาน ๆ แล้วเปลี่ยนจะเป็นการกระตุ้น ให้ปลาวางไข่เป็นอย่างดี การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง ปลาทองจะเจริญพัฒนาจนกระทั่งมีความสมบูรณ์เพศ เมื่อมี อายุประมาณ 6 เดือน น้ำหนัก 30 กรัม ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว แต่แม่ปลาขนาดเล็กจะให้ไข่น้อย และไข่มี ขนาดเล็ก การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ควรตรวจสอบลักษณะรูปร่างให้มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์สมบูรณ์ แข็งแรง มีครีบ ตั้งแข็งไม่ฉีกขาด มีเกล็ดเงางาม และตรวจสอบความสมบูรณ์เพศดังนี้ ปลาเพศผู้ ในฤดูผสมพันธุ์บริเวณแผ่นปิดเหงือก (Operculum) และด้านหน้าของครีบหูจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายเม็ดสิว เรียกว่า pearl organ เกิดขึ้น เวลาสัมผัสจะรู้สึกสากมือ ปลาเพศเมีย มีรูปร่างกลมและป้อมกว่าเพศผู้ ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่เต็มที่พร้อม จะผสมพันธุ์นั้น ส่วนท้องจะอูมใหญ่และ อ่อนนิ่ม บริเวณก้นจะบวมและมีสีแดงเรื่อ ๆ แม่ปลาที่ใช้ไม่ควรมีอายุเกิน 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากแม่ปลาที่มีอายุมากเกินไป จะไม่วางไข่ การเพาะพันธุ์ปลาทอง การเพาะพันธุ์ปลาทองที่ง่ายและประหยัด คือ การใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดย การปล่อยให้พ่อแม่ปลารัดกันเองในบ่อผสมพันธุ์ ซึ่งมีขั้นตอนการเพาะพันธุ์ดังนี้

การเตียมบ่อเพาะพันธุ์ บ่อเพาะพันธุ์ปลาทอง ได้แก่ บ่อเลี่ยงพ่อแม่พันธุ์นั่นเอง ปลาทองเป็นปลาตระกูลเดียวกับปลาไน ลักษณะไข่จะเป็นแบบเดียวกัน คือ เป็นไข่ติด ไข่ปลาทองมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร เนื่องจาก เป็นไข่ติดจึงต้องมีการเตรียมวัสดุยึดเกาะ วัสดุดังกล่าวเรียกว่า รังเทียม ได้แก่ การน้ำพรรณไม้น้ำ เช่น สาหร่ายฉัตร สาหร่ายหางกระรอก มามัดรวมกันเป็นกำ ๆ ละ 10 – 15 ต้น หรือ ผักตบชวาที่มีรากยาว นำไปใส่ไว้ในบ่อเพาะพันธุ์ให้ ้กระจายทั่วผิวน้ำ นอกจากนี้อาจใช้เชือกฟางซึ่งตัดให้ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ฉีกให้เป็นฝอยมัดตรงกลางจะได้ รังเทียมที่ทำด้วยเชือกฟาง นำไปใส่ไว้ในบ่อเพาะพันธุ์ให้กระจ่ายทั่วผิวน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถนำรังเทียมที่ทำด้วย เชือกฟางกลับมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง การใส่รังเทียมลงในบ่อเพาะจะเป็นการกระตุ้นให้แม่ปลาวางไข่ นอกจากนี้ ในบ่อเพาะพันธุ์ต้องมีการเพิ่มออกซิเจนตลอดเวลา เมื่อใส่รังเทียมไปในตอนเย็น ปลาจะวางไข่ในตอนเช้ามืดของอีกวัน โดยปลาตัวผู้จะเริ่มไล่ตัวเมีย และใช้หัวดุนที่ท้องปลาตัวเมีย เพื่อกระตุ้นให้วางไข่ ปลาตัวเมียจะปล่อยไข่เป็นระยะ ๆ ในเวลาเดียวกันนั้นปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมและไข่กระจายติดกับรังเทียม แม่ปลาจะวางไข่ครั้งละประมาณ 500 – 1000 ฟอง วิธีการตรวจสอบอย่างง่าย ๆ คือ หลังจากใส่รังเทียมในตอนเย็นจะสามารถตรวจสอบการวางไข่ในตอนเช้า หากพบว่ามีการวางไข่จะเก็บรังเทียมไปฟักในถังฟักไข่ ปลาทองสามารถวางไข่ได้ตลอดปี     ดังนั้นจึงควรใส่รังเทียมลง ไปทุกอาทิตย์ นอกจากนี้แม่ปลาทองจะวางไข่มากในฤดูหนาว ซึ่งปลาอาจผสมพันธุ์วางไข่ได้ทั้งวันในช่วงนี้ จึงต้องนำ รังเทียมไปเติมในบ่อ และเก็บไข่ไปฟักเป็นระยะ การฟักไข่ นำรังเทียมที่มีไข่เกาะติดไปฟักในถังฟักไข่ ซึ่งอาจใช้ บ่อซีเมนต์ ถังไฟเบอร์ โอ่ง หรือ กะละมังพลาสติกก็ได้ ถ้าใช้ถังไฟเบอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ใส่น้ำลึก 50 – 60 เซนติเมตร จะใช้ฟักไข่ได้ประมาณ 100,000 ฟอง ให้อากาศตลอดเวลา ไข่ปลาทองจะฟักออกเป็นตัวภายใน 2 – 4 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเล็กมาก ตัวใส เกาะติดกับรังไข่ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 2 – 3 วัน ลูกปลาจึงจะว่ายออกจากรังไข่ และว่ายน้ำเป็นอิสระ ลักษณะลำตัวมีสีเข้มขึ้น จะนำรังเทียมออกจากบ่อในระยะนี้แล้ว อนุบาลในบ่อเดิมต่อไป หรือ อาจย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อใหม่ก็ได้ การอนุบาลลูกปลาทอง ลูกปลาทองที่ฟัก ออกเป็นตัวในระยะเริ่มแรก จะยังไม่กินอาหาร เนื่องจากยังใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ติดอยู่กับหน้าท้องได้ เมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงไข่แดงจะยุบ จึงเริ่มกินอาหาร อาหารในระยะแรก คือ ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด ละลายน้ำสาดให้กินวันละ 3 – 4 ครั้ง ลูกปลา 100,000 ตัว ให้ไข่แดงประมาณ วันละ 1 ฟอง เมื่อลูกปลาอายุ 1 สัปดาห์ ควรเสริมไรแดงให้ลูกปลากิน ลูกปลาจึงจะเจริญเติบโตได้รวดเร็ว และแข็งแรงสมบูรณ์ หรือให้ไรแดงตั้งแต่วันที่ 3 เลยก็ได้ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จึงทำการคัดขนาดและย้ายบ่อ โดยคัดปลาที่มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกันไปอยู่ในบ่อใหม่ และ ให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็ก หรืออาหารมีชีวิต ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง เป็นต้น เมื่อลูกปลาทองมีอายุประมาณ 1.5 – 2.5 เดือน จะเริ่มเปลี่ยนสี ช่วงนี้ให้ทำการคัดปลาที่มีลักษณะสวยงามถูกต้องตามสายพันธุ์เพื่อเลี้ยงไว้ต่อไป ส่วนปลาที่เหลือจะนำไปเลี้ยง รวมกันอีกบ่อ เป็นปลาทองที่จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่า สำหรับปลาที่พิการและถูกคัดทิ้ง จะนำไปจำหน่ายเป็นปลาเหยื่อ

กลับหน้าแรก