Home
About us
Economics
Do u know?
Test
Econ web
Guest book
Hong4's web

 

Econ Hong4

::::: Economics :::::

                

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิก

(Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC)

 

                เอเชีย แปซิฟิก ได้แก่ ประเทศต่างๆที่เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และประเทศที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งในทวีปเอเซีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย เป็นภูมิภาคที่มีประเทศร่ำรวยและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน สิงคโปร์ และเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ปัจจุบันภูมิภาคนี้เริ่มมีฐานะทางการเมืองมั่นคงขึ้น การร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จึงเป็นการร่วมมือกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของโลก เอเปคจึงเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญ และเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก

 

ประวัติการก่อตั้ง

        ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก หรือเรียกย่อๆว่า เอเปค กำเนิดมาจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย กรุง แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ..2532 และในการประชุมเมื่อเดือน ..2534 ได้รับประเทศจีน ฮ่องกงและไต้หวัน ได้เข้าเป็นสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศเม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เปรู สหพันธรัฐรัสเซีย และเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกด้วย ปัจจุบันเอเปคมีสมาชิกรวม 21 ประเทศ

 

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

        1.เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก

        2.เพื่อส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ในเอเซีย แปซิฟิก

        3.เพื่อส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีแบบเสรีภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก

        4.เพื่อลดการกีดกันทางการค้า และร่วมมือกันถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

หลักการของความร่วมมือ

        1.เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

        2.ยึดหลักฉันทามติในการดำเนินการใดๆโดยยอมรับความเสมอภาคของประเทศสมาชิก

        3.ยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบบสังคม และการเมืองการปกครองของประเทศสมาชิก

 

ผลการปฏิบัติงาน

        นับตั้งแต่ได้ก่อตั้งเอเปคมา ภาวะการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกงและสิงคโปร์ ได้ระดมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนไต้หวันและฮ่องกงก็เพิ่มปริมาณการลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชา และประเทศที่เป็นหมู่เกาะในทะเลจีนใต้มากขึ้นด้วย

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเอเปค

        ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับเอเปคโดยตรงในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกประเทศหนึ่ง ซึ่งไทยมีมูลค่าการค้าสูงและส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายเสียดุลการค้า นอกจากนี้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกของเอเปคยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทย ประเทศสมาชิกของเอเปคจึงมีความสำคัญยิ่งต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยซึงมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนี้

        ผลดี

        1.ไทยมีโอกาสแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

        2.ไทยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การรับข้อมูลข่าวสาร และการวิจัยทางเศรษฐกิจจากประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้ว

        3.ไทยมีเวทีร้องเรียนหรือเสนอแนะข้อคิดเห็น หากได้รับความกดดันทางด้านการค้าจากประเทศสมาชิก

        ผลเสีย

        ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศหนึ่งในกลุ่มเอเปค แต่อาจมีภาวะเศรษฐกิจและการเมืองแตกต่างไปจากประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ หากประเทศสมาชิกเอเปคที่พัฒนาแล้ว ใช้มาตราการทางการค้าหรือการเปิดตลาดสินค้าบางชนิดกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ซึ่งไทยอาจไม่พร้อมที่จะยอมรับหรือปฏิบัติตามมาตรการที่กดดันนั้น ทำให้เกิดผลเสียต่อสินค้า ระบบภาษี หรือภาวะเศรษฐกิจของไทยได้

 

                                                            

 

                                  

                                          

                                   

 

Copyright © 2004 "Econ-Hong4!™. All rights reserved. Do you like it?