Home
About us
Economics
Do u know?
Test
Econ web
Guest book
Hong4's web

 

Econ Hong4

::::: Economics :::::

 

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

( Association of Southeast Asian Nations : ASEAN )

 

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมเอเซียนที่มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกับประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเป็น ประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ

ประวัติการก่อตั้ง

เนื่องจากประเทศไทยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5ประเทศ คือ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนิเซีย ต้องการจะสร้างสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคนี้ ซึ่งจะต้องใช้ ความพยายามร่วมกันขจัดปัญหาความแตกต่างทางการเมือง และการร่วมมือช่วยเหลือกัน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จึงได้คิดก่อตั้งสมาคมขึ้นโดยไม่มีประเทศ มหาอำนาจอยู่เบื้องหลังและใช้ชื่อสมาคมนี้ว่า สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) เมื่อพ.ศ.2510 ต่อมาได้รับประเทศอื่นๆเข้ามาเป็นสมาชิกตามลำดับดังนี้

เดือนมกราคม พ.ศ.2527 รับประเทศบรูไนเข้าเป็นสมาชิก

เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2528 รับเวียดนาม

พ.ศ.รับพม่า ลาว และเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542 รับกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศสุดท้าย เป็นอันว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนครบทุกประเทศแล้ว

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

1.เพื่อช่วยเหลือกันในการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้า ทางสังคม วัฒนธรรมของประเทศสมาชิก

2.เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3.เพื่อให้ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า และการคมนาคมขนส่ง

4.เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการศึกษา อาชีพ วิทยาการ และการบริหาร

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

ประเทศภายในกลุ่มสมาชิกมีความร่วมมือกันทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่

ผลการปฏิบัติงาน

จากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้ปฏิบัติงานตามโครงการเพื่อสนอง วัตถุประสงค์โดยจัดให้มีโครงการดำเนินการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมเพื่อจำหน่าย ซึ่งแบ่งการรับผิดชอบเป็นประเทศ

มีการจัดตั้งหน่วยงานสำรองข้าวยามฉุกเฉินในประเทศสมาชิกเพื่อเตรียมรับภัยพิบัติ นอกจานี้ยังมีโครงการร่วมมือทางด้านสังคม

อาเซียนยังได้จัดความร่วมมือในด้านวัฒนธรรมและสนเทศ เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าๆไว้หลายโครงการ

การแสดงมีการแลกเปลี่ยนนักแสดง และการแสดงวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก ตามโครงการแลกเปลี่ยนศิลปิน จัดเป็นงานมหกรรมนาฎศิลป์อาเซียนและงานมหกรรมดนตรี อาเซียน ด้านการต่อต้านยาเสพติด โดยลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยหลักในการต่อต้าน การใช้ยาเสพติด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของ ประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถต่อรองทางด้านการค้ากับประเทศสมาชิก และไม่ใช่สมาชิก นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศสาชิกด้วยกันก็ได้ยึดหลักความถนัด ในการผลิต หรือการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิกทำการผลิตโดยไม่มี การผลิตการแข่งขัน กล่าวโดยสรุป ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์จากการเป็น สมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้

1. ด้านการค้า ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากรหรือ ยกเว้นภาษีที่ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศสมาชิกสำหรับสินค้าบางประเภท เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยสมาชิกได้รับจากประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (AFTA – ASEAN Free Trade Area)

2. ด้านอุตสาหกรรม ประเทศไทยได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าสำหรับทดแทน สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียนจึงได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือกทำการผลิต กล่าวคือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ไทยเปลี่ยนเป็นผลิตแร่โพแทช สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดงแปรรูป ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิตปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือระดับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมามีโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยผู้ผลิตจะต้องเป็นบริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ บริษัทของไทยได้ร่วมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์การเกษตร ฯลฯ ตามโครงการนี้

3. ด้านการคลังและการธนาคาร นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลงร่วมมือกันในด้านการจัดตั้งตลาดตั๋วเงินที่ธนาคารรองรับ จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และร่วมมือกับประชาคมยุโรปในการจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับอีอีซี

4. ด้านการเกษตร กลุ่มอาเซียนได้มรการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทย นโยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ ได้แก่ โครงการสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันยามขาดแคลนอาหารในเวลาฉุกเฉิน โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการจัดการเกี่ยวกับอาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน - ออสเตรีย โครงการเทคโนโลยีการประมงภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน - แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูกป่า และโครงการตลาดของทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นที่อยู่ในระหว่างการเจรจาตกลงอีกมาก

5. ด้านการขนส่งและคมนาคม เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อนโยบายทางเศษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์และโทรคมนาคม

6. ด้านการเมือง ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจและช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย

7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น

 

 

                                                            

 

Copyright © 2004 "Econ-Hong4!™. All rights reserved. Do you like it?