แผนผังพระพุทธศาสนา [คันถะธุระและวิปัสสนาธุระ]

แ ผ น ผั ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
คันถะธุระ
การศึกษาพระไตรปิฎก
พร้อมด้วยอรรถกถาฏีกาจารย์
วิปัสสนาธุระ
   การลงมือปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

 

คั น ถ ะ ธุ ร ะ
พระวินัยปิฎก
(เรื่องศีล) มี ๒๑๐๐๐ พระธรรมขันธ์
      มหาวิภังค์
       ว่าด้วยข้อห้ามที่เป็นหลักใหญ่ๆ ของพระภิกษุ มี ปาราชิก เป็นต้น
      ภิกขุณีวิภังค์
       ว่าด้วยข้อห้ามของภิกษุณี
      มหาวัคค์
       พระพุทธประวัติตอนแรกๆ และพิธีกรรมทางพระวินัย
      จุลวัคค์
       ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยและความเป็นมาของภิกษุณี
      ปริวาร
       ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดของพระวินัย
พระสุตตันตปิฏก
(เรื่องสมาธิ) มี ๒๑๐๐๐ พระธรรมขันธ์
      ทีฆนิกาย
       ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาขนาดยาวๆ
      มัชฌิมนิกาย
       ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาขนาดปานกลาง คือ ไม่ยาวและไม่สั้น
      สังยุตตนิกาย
       ว่าด้วยการประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ไว้เป็นพวกๆ เช่น
       ว่าด้วยเรื่องพระกัสสป ก็เรียกว่ากัสสปสังยุตเป็นต้น
      อังคุตตรนิกาย
       ว่าด้วยการแสดงธรรมเทศนาเป็นข้อๆ ตามลำดับ
       เช่น แสดงว่าธรรมหมวด ๑ ธรรมหมวด ๒ เป็นต้น
      ขุททกนิกาย
       ว่าด้วยพระธรรมเทศนาประเภทเบ็ดเตล็ด มีชาดกเป็นต้น
พระอภิธรรมปิฎก
(เรื่องปัญญา) มี ๔๒๐๐๐ พระธรรมขันธ์
      ธรรมสังคิณี
       ว่าด้วยการรวบรวมปรมัตถธรรมทั้งหมด
      วิภังค์
       ว่าด้วยการจำแนกปรมัตถธรรมเป็นส่วนๆ มี ขันธ์วิภังค์ อายตนวิภังค์ เป็นต้น
      ธาตุกถา
       ว่าด้วยการจัดปรมัตถธรรมเข้าไว้เป็นพวกๆ ที่พอจะสงเคราะห์เข้ากันได้
       และไม่ได้ถือโดยธาตุเป็นหลัก
      ปุคคลบัญญัติ
       ว่าด้วยการแสดงปรมัตถธรรมโดยบัญญัติ มีขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ เป็นต้น
      กถาวัตถุ
       ว่าด้วยการแสดงปรมัตถธรรมโดยปุจฉา-วิสัชชนา ซึ่งกันและกัน
      ยมก
       ว่าด้วยการแสดงปรมัตถธรรมที่เป็นคู่ๆ เป็นทำนองปุจฉา-วิสัชชนา โดยพระพุทธองค์
      มหาปัฏฐาน
       ว่าด้วยการแสดงปรมัตถธรรมที่เป็นอุปการะแก่กันและกันมี ๒๔ อย่าง
    พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม
       เมื่อสงเคราะห์แล้วก็ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต - เจตสิก - รูป - นิพพาน
       ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ นี้ มีอยู่ในคัมภีร์ 'พระอภิธัมมัตถสังคหะ' ซึ่งมีอยู่ ๙ บท คือ

       จิตตสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการจำแนกจิตโดยประเภทต่างๆ เป็นต้น

       เจตสิกสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการจำแนกเจตสิกที่ประกอบกับจิต เป็นต้น

       ปกิณณกสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการแสดงจิตและเจตสิกโดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ วัตถุ

       วิถีสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการแสดงความเป็นไปของจิตแต่ละประเภทๆ เป็นต้น

       วิถีมุตตสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการแสดงเรื่องของจิตที่พ้นวิถีและเรื่องของกรรมต่างๆ เป็นต้น

       รูปสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการแสดงการจำแนกเรื่องของรูปต่างๆ มี มหาภูตรูป เป็นต้น

       สมุจจยสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการแสดงเรื่องของวัตถุธรรม ๗๒ มีจิต เป็นต้น

       ปัจจยสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยการแสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาทและปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัย เป็นต้น

       กัมมัฏฐานสังคหะวิภาค
       ว่าด้วยเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

 

วิ ปั ส ส น า ธุ ร ะ
สมถกรรมฐาน
(การกระทำให้ใจสงบด้วยการเพ่ง)
      สมถกรรมฐาน
       (การกระทำให้ใจสงบด้วยการเพ่ง)

       ที่ตั้งแห่งการเพ่ง ๗ หมวด คือ
       กสิณ ๑๐
       อสุภ ๑๐
       อนุสติ ๑๐
       อัปปมัญญา ๔
       สัญญาสังคหะ ๑
       ววัตถานสังคหะ ๑
       อารุปปสังคหะ ๑

       ผลที่เกิดจากการภาวนาสูงสุด
       คือ ได้โลกียอภิญญา ๕ ประการ
       (๑) มีฤทธิ์หลายอย่าง
       (๒) หูทิพย์
       (๓) รู้จิตใจของผู้อื่น
       (๔) ระลึกชาติได้
       (๕) ตาทิพย์

โลกียอภิญญานี้ พ้นจากความทุกข์และความเศร้าโศกไม่ได้
กิเลสก็ไม่หมด ไม่ได้ลดน้อยถอยลงเลย
กิเลสเพียงแต่สงบไปชั่วคราวเท่านั้น
วิปัสสนากรรมฐาน
(การมีสติเพียรกำหนดความเป็นไป
ของกายและใจให้ทันปัจจุบัน)
      วิปัสสนากรรมฐาน
       การมีสติเพียรกำหนดความเป็นไปของกายและใจให้ทันปัจจุบัน

       ที่ตั้งแห่งการเข้าไปกำหนดรู้ ๖ อย่างคือ
       ขันธ์ ๕
       อายตนะ ๑๒
       ธาตุ ๑๘
       อินทรีย์ ๒๒
       อริยสัจจ์ ๔
       ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

       ทั้ง ๖ หมวด ย่อลงแล้วก็คือ
       การกำหนดสติรู้ตัวทั่วพร้อมให้ทันปัจจุบัน
       ของกายและใจ

       มีผล ๓ ขั้น คือ

       ขั้นต้น
       ทำลายความหยาบคายของกิเลสที่นำไปสู่อบายภูมิได้
       แม้ชีวิตในปัจจุบันก็อยู่ด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

       ขั้นกลาง
       ทำลายความโกรธและความกระหายในกามคุณอารมณ์ได้
       มีอุปการะแก่สังคมมาก

       ขั้นสูง
       สิ้นความทุกข์และความเศร้าโศกทั้งปวง
       มีอุปการะแก่สังคมมากอย่างหาประมาณไม่ได้
       และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด หมดทุกข์โดยสิ้นเชิง

[ ใหม่- ๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ ]
| deedi_deedi@email.com |