อ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร และ สติปัฏฐานสี่ จาก โฮมเพจมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
         | มหาสติปัฏฐานสูตร | สติปัฏฐานสี่ |

 

วิปัสสนากรรมฐานและสติปัฏฐานสี่ - ภาคทฤษฎี

โกจิ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน โคจโร สโก เมฺติโก วิสโย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา.

ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย
ธรรมใดที่เป็นโคจรของภิกษุ
ธรรมนั้น เป็นอมตมรดก
อันดั้งเดิมของมารดาบิดา
โคจรคืออารมณ์นั้นได้แก่ สติปัฏฐานทั้ง ๔

...

ยถา กิเลเส อุปคเต สามญฺญคุณวิธํสเน
สติปฏฺฐานํคฏฺเฐน หญฺญติ โส ปุนปฺปุนํ.

เมื่อใดกิเลสอันเป็นเครื่องกำจัดสามัญญคุณ เข้ามาใกล้แล้ว
เมื่อนั้น ท่านผู้เป็นนักปฏิบัติธรรม
ย่อมสู้รบขับไล่กิเลสเหล่านั้นบ่อยๆ ด้วยทางธรรม
กล่าวคือ
สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ เป็นทางสายเอก คือเป็นที่ ๑ เป็นยอดของทางทั้งหลาย
พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงส์ (ผลของการเจริญสติปัฏฐานสี่- deedi) ไว้ดังนี้ คือ

๑. เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย

๒. ไม่มีความโศกเศร้าปริเทวนาการ ไม่มีความพิไรรำพรรณบ่นเพ้อ

๓. ดับความทุกข์ทางกาย ดับความทุกข์ทางใจได้

๔. เป็นไปพร้อมเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน

...

สติปัฏฐาน ที่ ๔ คือ

๑. กายานุปัสสนา สติตามพิจารณากายเป็นอารมณ์

๒. เวทนานุปัสสนา สติตามพิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์

๓. จิตตานุปัสสนา สติตามพิจารณาจิตเป็นอารมณ์

๔. ธัมมานุปัสสนา สติตามพิจารณาธรรมเป็นอารมณ์

...

เอาเป็นว่า ทางที่ดี ตรง ลัดสั้นที่สุดสู่การพ้นทุกข์ คือการเจริญภาวนาแบบวิปัสสนากรรมฐาน อันต้องมี ทานและศีลเป็นบาทอยู่แล้ว (จะเป็นเจริญสมถภาวนาแล้วมาต่อวิปัสสนาภาวนา หรือเจริญวิปัสสนาภาวนาล้วนๆ ก็ได้ค่ะ) ควบคู่ไปกับการเจริฐสติ ตามแนวทางสติปัฏฐานสี่และมรรค ๘ คือมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่กับกาย เวทนา จิตและธรรม (สั้นๆ ก็คือกายกับใจนี้แหละค่ะ) พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า "ทางนี้มีอยู่" (ทางไปสู่ความพ้นทุกข์) พระพุทธองค์ทรงเป็นแต่เพียงผู้ค้นพบทางที่มีอยู่แล้ว "ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอก แต่ทางนี้เธอทั้งหลายต้องเดินไปเอง"
ตามคติพุทธ ในยุคที่ไม่มีพระศาสนา ผู้คนจะคิดว่าพระพรหม เป็นผู้สร้างโลก คิดว่าพระพรหมสูงสุดแล้ว พระพรหมบางพวก ที่อายุยืนมากๆ ก็คิดไปว่าตัวท่านเองเป็นผู้สร้างโลก ยุคสมัยเหล่านั้น พระไตรลักษณ์ก็ไม่มีเพราะขาดตัว "อนัตตา" มีแต่อนิจจังกับทุกขัง อนัตตาที่มีก็เป็นอนัตตาเทียม ไม่ใช่อนัตตาตามความหมายในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติเท่านั้น

ดังนั้น เอาตรงๆ เลย คงต้องตอบว่า มีอยู่ทางนี้ทางเดียวเท่านั้น ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ทางสายนี้เป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียว"

.....

ภาคปฏิบัติ

ดังนั้น ถ้าหากอยากให้ทุกข์น้อยลง อยากรู้เท่าทันโลกทันทุกข์ อยากพัฒนาและชำระจิตใจให้เกิดปัญญาและมีสันติสุข รวมทั้งถ้าหากไม่อยากเวียนว่ายตายเกิดอีก ก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ล่ะค่ะ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จิตก็จะพัฒนา ปัญญาก็จะเกิดเป็นขั้นเป็นตอน (ภาวนามยปัญญา- ปัญญารู้แจ้งโลกและธรรมตามความเป็นจริง) สติก็จะคมชัด ทันปัจจุบันยิ่งๆ ขึ้นไป อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็จะเบาบางลงไป
ครูบาอาจารย์ดิฉันท่านว่า "เมื่อเบื่อก็หน่าย เมื่อหน่ายก็คลาย เมื่อคลายก็หลุด เมื่อหลุดก็พ้น" มีเท่านี้จริงๆ ค่ะ เรียบง่ายที่สุด ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อะไรเลย มีกายนี้ใจนี้ (ที่ก็ต้องมีอยู่แล้ว) ก็เจริญทาน ศีล (วิปัสสนา)ภาวนา ได้แล้ว ที่สำคัญคือต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดีตรงรู้จริงรู้ถูกนะคะ ไม่อย่างนั้นจะพาหลงทางเข้ารกเข้าพงไปเลยก็ได้

       เจริญในธรรม       

| เพิ่มเติม link จากมูลนิธิอภิธรรมฯ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕- วันมาฆบูชา |

| deedi_deedi@email.com |