บทที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพกาย

การส่งเสริมสุขภาพกาย หมายถึง กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคล และพัฒนาสุขภาพของตนให้ดีขึ้น รวมทั้งควบคุมปัจจัยต่างๆที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ

ลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพ

ที่สำคัญมีหลายประการ

  1. การบริโภคอาหาร (Nutrition)
  2. การออกกำลังกาย (Physical)
  3. การพักผ่อนและการนอนหลับ (Rest and sleep)
  4. การบริหารจัดการความเครียด (Stress management)
  5. การงดสูบบุหรี่ (Tobacco Abuse)
  6. การงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์(Alcohol Abuse)

การบริโภคอาหาร

ข้อควรปฏิบัติในการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

  1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้มีความหลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนัก
  2. กินข้าวและธัญพืชอื่นและผลิตภัณฑ์ในปริมาณที่เหมาะสม
  3. กินผักและผลไม้เป็นประจำ
  4. กินปลา เนื้อไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
  5. ดื่มนมทุกวันในปริมาณเหมาะสม
  6. กินอาหารที่มีไขมันพอประมาณ
  7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด
  8. กินอาหารที่ปราศจากการปนเปื้อน
  9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย หมายถึง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีการใช้ไขมันเป็นพลังงาน ใช้ออกซิเจนในการสันดาปเป็นระยะเวลาติดต่อกันเพียงพอ โดยมีหลักที่สำคัญ 3 ประการคือ

  1. ความหนัก คือ ออกกำลังกายให้หนักพอเพื่อให้อัตราชีพจรสูงถึง 170 ครั้งต่อนาที
  2. ความนาน คือ ติดต่อกันอย่างน้อย 15-20 นาที
  3. ความบ่อย คือ การออกกำลังกายวันเว้นวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันต่อสัปดาห์

ชนิดของการออกกำลังกาย

  1. การออกกำลังกายเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Recreational exercise)
  2. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (General fitness exercise)
  3. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของหัวใจและปอด (Cardiopulmonary exercise หรือ aerobic exercise)

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

  1. ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงอดทนยิ่งขึ้น
  2. การทรงตัวดีขึ้น รูปร่างดีขึ้น
  3. ชะลอการเสื่อมของอวัยวะ
  4. สุขภาพจิตดีขึ้น
  5. ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
  6. ทำให้นอนหลับดีขึ้น
  7. ช่วยทำให้ระบบหัวใจ ปอดแข็งแรงมากขึ้น
  8. พลังงานทางเพศดีขึ้น
  9. ช่วยทำให้อาการของโรคหลายโรคดีขึ้น

หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

  1. เริ่มต้นด้วยวิธีการที่ง่ายๆและปริมาณน้อยๆตามขั้นตอน
  2. ควรออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง
  3. การออกกำลังกายควรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ช่วงอบอุ่นร่างกาย ช่วงฝึกจริง และช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  4. การออกกำลังกายควรคำนึงถึงสภาพของร่างกาย เหมาะสมกับเพศ และวัย
  5. ควรมีนิสัยและสวัสดินิสัยที่ดีในการออกกำลังกาย
  6. งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา สารกระตุ้นหรือสิ่งเสพติด

การพักผ่อนและนอนหลับ

การพักผ่อน (Rest) หมายถึง การพักระหว่างการทำงานหรือการเล่น การนอนหลับ (Sleep) ปกติ ผู้ใหญ่นอนประมาณ 8 ชั่วโมง เด็กทารกนอนประมาณ 20-22 ชั่วโมง เด็ก 4-12 ปี ต้องการนอนหลับ 10 ชั่วโมง วัยรุ่นนอนประมาณ 8-10 ชั่วโมง

การจัดความปลอดภัยในห้องนอน

  1. ห้องนอนต้องจัดอย่างเป็นระเบียบ
  2. หมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
  3. ควรติดฟิวส์หรือเครื่องป้องกันไฟดูด ไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ฯ

การบริหารจัดการความเครียด

ความเครียด หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความวิตกกังวล คับข้องใจ โกรธ ผิดหวัง เสียใจ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ การบริการจัดการความเครียด หมายถึง การที่บุคคลรู้จักเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับในการเผชิญสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและสามารถรักษาภาวะดุลแห่งจิตใจไว้ได้อย่างเหมาะสม เป็นผลดีต่อสุขภาพ

การงดสูบบุหรี่

สาเหตุ ของการติดบุหรี่ ที่สำคัญมีดังนี้คือ

  1. ฤทธิ์ของนิโคตินเป็นยากล่อมประสาท
  2. ความเคยชินทางอุปนิสัย
  3. การเลียนแบบของเด็กๆโดยเลียนแบบจากเพื่อน บิดา มารดา ฯ
  4. ใช้บุหรี่เป็นเครื่องมือในการผูกมิตร
  5. ค่านิยมทางสังคม
  6. อิทธิพลจากการโฆษณา เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ฯ

การงดดื่มแอลกอฮอล

แอลกอฮอล์ หมายถึง เครื่องดื่มประเภทมึนเมา ที่มีเอทิลแอกอฮอล์(Ethyl alcohol) ผสมอยู่ ได้แก่ บรั่นดี คอนยัคกี้ แชมเปรญ ยิน รัม ไวน์ เบียร์ สาโท น้ำตาลเมา ฯลฯ

ผลเสียของเครื่องดื่มแอลกอฮอล

  1. สมองและระบบประสาท ทำให้ปลายประสาทเกิดการอักเสบมีการชาตามมือ ตามเท้า เยื่อสมองเกิดการบวม ทำให้เกิดอาการชัก ปวดศรีษะ นอกจากนี้ระบบการสร้างเม็ดเลือดแตกได้
  2. หัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง
  3. ระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบเป็นแผล
  4. ตับ เช่นตับแข็ง ดีซ่าน ท้องบวมน้ำ ฯลฯ
  5. ไต อาจทำให้เกิดโรคไตได้
  6. การเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ขาดความระมัดระวัง เนื่องจากระบบประสาทไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ
  7. ความแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรม

ผลเสียต่อสังคม

เสียบุคลิกภาพ ขาดความเชื่อถือ การแต่งกายไม่เรียบร้อย สร้างปัญหาให้กับสังคม เนื่องจากขาดสติสัมปชัญญะทำอะไรไม่คิดก่อน ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม เพราะการดื่มสุราทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท

ผลเสียต่อเศรษฐกิจ

  1. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างไม่จำเป็น เพราะต้องนำไปซื้อเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  2. ทำให้เสียเวลาในการทำงาน รวมทั้ง
  3. ประสิทธิภาพในการทำงานก็ลดลงด้วย