โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
( Age-related Macular Degeneration : AMD )

            เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของศูนย์กลางการมองที่จอประสาทตา ที่เรียกว่า Macular มักเกิดกับผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปีขึ้นไป
อาการ การมองเห็นในตำแหน่งที่จ้องมองค่อยๆพร่ามัวลงเรื่อยๆจนบอดเฉพาะตรงกลางแต่ลานสายโดยรอบยังมองเห็นได้ดี อาการในระยะแรก เช่น มองเห็นเป็นวงสีเทาดำตรงกลาง หรือเห็นเป็นแสงระยิบระยับ เห็นภาพหรือเส้นตรงบิดเบี้ยว มีความลำบากในการอ่านหนังสือหรือทำงานละเอียดและต้องใช้แสงมากๆช่วย เป็นต้น

จากภาพ จะเห็นรอยปื้นสีเทาดำตรงกลาง และไม้ตีกอล์ฟบิดเบี้ยว

          สาเหตุ เชื่อว่าเกิดจากเส้นเลือดแดงฝอยที่หล่อเลี้ยงจอประสาทตาเสื่อมสภาพ ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทตาในบริเวณ Macular ได้พอเพียง

แบบทดสอบโรคAMDด้วยตนเอง
1. ปิดตาทีละข้าง จ้องมองที่จุดดำตรงกลาง
2. ถ้าเคยใช้แว่นอ่านหนังสือ ให้สรวมแว่นด้วย
3. ดูความคมชัดของเส้นตรง ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
4. ดูขนาดของช่องสี่เหลี่ยมว่าเท่าๆกัน หรือบิดเบี้ยวหรือไม่



โรค AMD มี 2 ชนิด คือ
1. Wet AMD ( Neovascular ) ชนิดนี้พบได้ 10% เกิดจากร่างกายพยายามสร้างเส้นเลือดใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทตาที่ได้รับเลือดไม่พอ แต่เนื่องจากเส้นเลือดใหม่นี้มีความเปราะบาง แตกง่าย เกิดเลือดออกแทรกทำลายเซลล์ประสาทตา ทำให้เกิดอาการสูญเสียสายตาส่วนกลางอย่างรวดเร็ว
การรรักษา โดยการยิงเลเซอร์หรือใช้ยา ( Lucentis หรือ Macugen หรือ Avastin ) เพื่อทำลายหรือหยุดการสร้างเส้นเลือดดังกล่าว แต่ไม่ช่วยให้สายตากลับคืนมาได้ โดยคาดหวังว่าจะหยุดการสูญเสียสายตาต่อไปได้
2. Dry AMD ชนิดนี้พบมากที่สุด คือประมาณ 90% และอาการจะดำเนินไปช้าๆจนศูนย์กลางการมองบอดสนิท
การรักษา ในปัจจุบันยังไม่พบวิธีการรักษา เนื่องจากยังไม่สามารถคิดค้นตัวยาหรือวิธีการที่จะเพิ่มเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทตาได้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม จากการค้นพบวิธีรักษาโรคต้อหินด้วยการนวดตา ซึ่งเป็นวิธีเพิ่มเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทตา เมื่อนำมารักษาผู้ป่วยโรคAMDชนิดนี้ ประกฎว่าสามารถพลิกฟื้นสายตาให้กลับมาดีขึ้นได้ ดังตัวอย่างผู้ป่วยต่อไปนี้

นาย ประสิทธิ์ อินทสังข์ อายุ 66 ปี โทร. 082-3366423 ลูกสาว 085-3697788

ปัญหา ตาพร่ามัวสองข้าง
วันที่ 7 มิ.ย. 2551 การมองเห็นตาขวา 20/100 ตาซ้าย 20/40+2
                                With pin hole ตาขวา 20/50 ตาซ้าย 20/20-1
                                เลนซ์แก้วตา ใสดีทั้งสองข้างไม่มีต้อกระจก
                                จากการตรวจจอประสาทตา Optic disc ตาขวา มี Cupping 0.7 ตาซ้าย 0.6
                                Macular มีความเสื่อมตาขวามากกว่าตาซ้าย
                                ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิด Dry Type
                                เริ่มรักษาด้วยการนวดตา
วันที่ 14 มิ.ย. 2551 หลังจากนวดตาอย่างถูกต้องและขยันนวดตาบ่อยๆ การมองเห็นดีขึ้นมากอย่างชัดเจน
                                  ผลการตรวจการมองเห็น ตาขวา 20/40 ตาซ้าย 20/30-3
                                  With pin hole ตาขวา 20/20-1 ตาซ้าย 20/20-1

นาย ประดิษฐ์ แซ่เล้า อายุ 64 ปี

27 มิย 51 มีปัญหาตามัว ตรวจพบว่ามีต้อกระจกและศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ( Dry AMD ) ตาซ้ายมากกว่าตาขวา
                  VA with pinhole ตาขวา 20/70 ตาซ้าย 20/200
                  เริ่มรักษาด้วยการนวดตา
11 กค 51 VA with pinhole ตาขวา 20/70 ตาซ้าย 20/70
22 กย 51 VA with pinhole ตาขวา 20/30-2 ตาซ้าย 20/70
20 ตค 51 VA with pinhole ตาขวา 20/30-2 ตาซ้าย 20/50

นายอดิศร ลิมปนะยิ่งยง อายุ 57 ปี โทร. 02-4768105
อาชีพ พนักงานบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย จำกัด ( TGI )
ประวัติ ทำงานหน้าที่ซ่อมแซม ปรับแต่งและขัดเงาแม่พิมพ์ขวด ต้องใช้แสงจัดในการเพ่งมองทำงาน ทำหน้าที่นี้มา 25 ปี
วันที่ 4 ม.ค. 2550 ตรวจพบสายตาข้างซ้ายผิดปกติ
                   V.A : RE 20/20 LE +Pin hole 20/50 - 1
                   ขยายม่านตา พบว่า ตาซ้ายมีศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
                   เริ่มรักษาด้วยการนวดตา
วันที่ 20 ม.ค. 2550 สายตาข้างซ้ายดีขึ้น
                   V.A.: LE +Pin hole 20/40 - 2
วันที่ 17 ก.พ. 2550 สายตาข้างซ้ายดีขึ้นมาก
                   V.A.: LE +Pin hole 20/20 - 1

นาย ณรงค์ คีรีสถาพร อายุ 63 ปี โทร. 086-3224819
ประวัติ ตาขวาเห็นเป็นปื้นสีน้ำเงินในบริเวณที่จ้องมอง และเห็นเส้นตรงบิดเบี้ยว เป็นมา 1 สัปดาห์
วันที่ 4 ม.ค. 2550 จากการตรวจ ตาขวาเห็นเพียงระยะ 3 ฟุต
                   VA : RE Fc 3 feet
                      LE 20/100 Pin hole 20/40-2
                  ขยายม่านตา ตรวจพบ Macular บวมเล็กน้อย
                      เริ่มรักษาด้วยการนวดตา
วันที่ 11 ม.ค. 2550 การมองเห็นดีขึ้น แต่เส้นตรงยังดูบิดเบี้ยวอยู่
                   VA : RE 20/50-1
วันที่ 25 ม.ค. 2550 รอยปื้นสีน้ำเงินจางลงเป็นสีเทาจางๆ แต่เส้นยังคงบิดเบี้ยวอยู่เล็กน้อย
                   VA : RE 20/30-2

นาง พัฒนา วงษ์พรม อายุ 55 ปี โทร. 02-8715821
ประวัติ ตาขวาเห็นเป็นดวงสีดำในบริเวณที่จ้องมอง ทำให้เห็นพร่ามัวลง บางตรั้งเห็นเป็นระยิบระยับคล้ายปีกผีเสื้อกระพือ และตาสู้แสงไม่ค่อยได้
วันที่ 7 พ.ย. 2549 VA : RE 20/70-1 Pin hole 20/30
                   LE 20/50 Pin hole 20/20-1
                   ขยายม่านตา พบ Macular เสื่อมสภาพ
                   เริ่มรักษาด้วยการนวดตา
วันที่ 14 พ.ย. 2549 ดวงสีดำเริ่มจางลงเป็นดวงสีฟ้าจาง
วันที่ 21 พ.ย. 2549 ยังเห็นเป็นดวงสีฟ้าจาง แต่ตาสู้แสงได้แล้ว
                    ไม่เห็นแสงระยิบระยับแล้ว
วันที่ 2 ม.ค. 2550 ไม่เห็นดวงสีฟ้าแล้ว

กลไกการเกิดโรคและการรักษาในปัจจุบัน
( คำอธิบายสำหรับจักษุแพทย์ )



                 การรักษาด้วยวิธี Anti-VEGF ปัจจุบันยังหาจุดสิ้นสุดของการรักษายังไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ คือภาวะ Ischemia ดังนั้น การฉีดยา Anti-VEGF ทุก 3 เดือนไปเรื่อยๆจะคุ้มค่าหรือไม่ และผู้ป่วยจะรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะยาวได้หรือไม่ เนื่องจากราคายาสูงมาก หากเราสามารถรวม 2 วิธีเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะในกลุ่ม wet-AMD โดยใช้ Anti-VEGF ในระยะแรกจนกระทั่ง New Vessels ฝ่อหมด หลังจากนั้น ใช้วิธีนวดตาต่อไปเพื่อกำจัดภาวะ Ischemia และป้องกัน Neovascularization ที่จะเกิดขึ้นใหม่


โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมในวัยไม่สูงอายุ
( Non-AMD Macular Degeneration )

                                เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของศูนย์กลางการมองที่จอประสาทตา ที่เรียกว่า Macular พบในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน ส่วนใหญ่จะมีอาการและการแสดงเหมือน Dry AMD สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้อง การรักษา ยังไม่มีวิธีรักษาโดยตรง แต่จากการค้นพบเทคนิกการนวดตาเพื่อเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดเข้าไปในลูกตา พบว่าสามารถรักษาโรคนี้ให้มีอาการดีขึ้นและหยุดการดำเนินโรคได้ ดังตัวอย่างผู้ป่วยต่อไปนี้

นาง จิตรา เชื่อมสุข อายุ 70 ปี โทร 02-4131632 ( เวลา 11.00-12.00 น. )


18 กย 51 เป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมทางพันธุกรรม
                   มีพี่น้องเป็นโรคนี้ 3 คน รักษาอยู่ที่รพ.จุฬา อาการเลวลงเรื่อยๆ
                   VA  RE 10/200  LE Hm
                   เริ่มรักษาด้วยการนวดตา

16 ตค 51  VA  RE 15/200  LE 15/200

นางสาว สัมริตร์ สุคำภา อายุ 46 ปี โทร 087-913-1286
อาชีพ พนักงานคุมเครื่องปั่นด้าย บริษัท จงสถิตย์ จำกัด
ประวัติ 7 ปีก่อน รู้สึกว่าตาข้างขวาพร่ามัวและเหมือนมีอะไรบังตาเป็นปื้นดำอยู่ด้านบน ช่วงแรกคิดว่าเป็นโรคต้อกระจก ซึ่งเคยทราบว่าต้อกระจกระยะแรกยังไม่จำเป็นต้องรักษา ต่อมาเมื่ออาการมากขึ้นจึงไปตรวจที่ รพ.วัดไร่ขิง จักษุแพทย์แจ้งว่าไม่ได้เป็นโรคต้อกระจก แต่เป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมและยังไม่มีวิธีรักษา แต่แนะนำให้รับการฉีดสีเพื่อตรวจดูระบบไหลเวียนเลือดของจอประสาทตา แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ
21 มี.ค. 2551        ผู้ป่วยมารับการตรวจพบว่า V.A.(การมองเห็น) ตาขวา 20/200 with pin hole 20/100
                                ตาซ้าย 20/70 with pin hole 20/40+2
                                ผลการตรวจจอประสาทตา พบว่ามีความเสื่อมของศูนย์กลางจอประสาทตา ตาขวามากกว่าตาซ้าย ดังรูป

ตาขวา
ตาซ้าย


เริ่มรักษาด้วยการนวดตา
11 เม.ษ. 2551        V.A.(การมองเห็น) ตาขวา 20/70-2 with pin hole 20/70-2
                                ตาซ้าย 20/70 with pin hole 20/30
                                การมองเห็นดีขึ้นชัดเจน และรอยปื้นดำด้านบนของตาขวาหายไปแล้ว
4 ก.ค. 2551            V.A.(การมองเห็น) ตาขวา 20/70 with pin hole 20/40-2
                                ตาซ้าย 20/50+2 with pin hole 20/20+3

สรุป การนวดตาสามารถรักษาโรคทั้ง AMD และ Non-AMD Macular Degeneration ได้ผลอย่างชัดเจนแล้วตามตัวอย่างผู้ป่วยดังกล่าว


โรคจอประสาทตาลอกชนิดบวมน้ำ
( Exudative Retinal Detachment )

                                เป็นภาวะที่มีของเหลวสะสมในช่องว่างระหว่างชั้น Neurosensory ของจอประสาทตา และชั้น Retinal pigment epithelium ( RPE ) ทำให้จอประสาทตาบวมนูนและผิวเรียบ ซึ่งแตกต่างจากจอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการฉีกขาด ( Rhegmatogenous retinal detachment ) โดยจะเห็นรอยย่นบนผิวจอประสาทตาที่บวมนูน

กลไกการเกิดโรค
                                ปกติ น้ำจะไหลจากช่องบรรจุวุ้นตาเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดในชั้น Choroid ของลูกตาโดยกลไก osmosis ขณะเดียวกัน เซลล์ในชั้น RPE ก็จะทำหน้าที่ช่วยปั๊มน้ำออกจากน้ำวุ้นลูกตาอีกทางหนึ่งเช่นกัน เมื่อใดที่มีน้ำคั่งค้างในวุ้นตามากกว่าปกติ หรือเซลล์ในชั้น RPE ไม่สามารถปั๊มน้ำออกได้ตามปกติ ก็จะทำให้จอประสาทตาลอกบวมนูนขึ้นมา


การนวดตารักษาโรคจอประสาทตาลอกชนิดบวมน้ำ
                                จากการค้นพบว่าการนวดตาเป็นวิธีการที่สามารถปรับสมดุลย์ระบบน้ำและระบบไหลเวียนเลือดภายในลูกตาได้ จึงได้ทดลองให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าว ผลปรากฎว่าได้ผลดี สามารถทำให้การมองเห็นกลับมาเหมือนเดิมได้ ดังตัวอย่าง

คุณ อรวรรณ พัฒนสารกิจ อายุ 71 ปี โทร. 02-9946664

11 สิงหาคม 2551 ปวดตาขวา และตามัวมา เกือบ 1 เดือน
                                จากการตรวจ VA ( ใส่แว่นสายตา ) ตาขวา 15/200 ตาซ้าย 20/20
                                ตาขวามีต้อกระจกปานกลาง ตาซ้าย ยังไม่มีปัญหาต้อกระจก
                                จอประสาทตา มี Exudative retinal detachment รอยบวมใหญ่กินพื้นที่บริเวณขั้วประสาทตาและบริเวณศูนย์กลางการมองทั้งหมด ( ดังรูป )

ตาขวา
ตาซ้าย

                                เริ่มการรักษาด้วยการนวดตา
วันที่ 14 สิงหาคม 2551 VA ตาขวา 20/200
วันที่ 21 สิงหาคม 2551 VA ตาขวา 20/100 + 2
วันที่ 28 สิงหาคม 2551 VA ตาขวา 20/50
วันที่ 11 กันยายน 2551 VA ตาขวา 20/30 – 2
                                จากการตรวจจอประสาทตา พบว่า รอยบวมยุบราบหมดแล้ว

นาย คำพอง กุศลจิตร อายุ 47 ปี
ผู้ป่วยรักษาที่ รพ.บางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
วันที่ 10 มกราคม 2551 มีอาการเจ็บตา ตามัว 2 ข้างมา 3 วัน
                                          จากการตรวจ VA 20/20 ทั้ง 2 ตา
                                          มี Exudative retinal detachment ระยะแรกในบริเวณรอบๆขั้วประสาทตา
วันที่ 13 มกราคม 2551 สายตาการมองเห็นแย่ลงอีก
                                          VA ตาขวา 20/30 ตาซ้าย 20/70
                                          ตรวจพบจอประสาทตาลอกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตาซ้าย รอยบวมล้ำเข้ามาในบริเวณศูนย์กลางการมอง ( Macula area )
                                          ผลการตรวจเลือด ไม่พบสิ่งผิดปกติ
                                          เริ่มทำการรักษาด้วยการนวดตา
วันที่ 21 มกราคม 2551 การมองเห็นดีขึ้นมาก
                                          VA ตาขวา 20/20 – 3 ตาซ้าย 20/30
วันที่ 28 มกราคม 2551 การมองเห็นเกือบปกติแล้ว
                                          VA ตาขวา 20/20 – 1 ตาซ้าย 20/20 – 2
                                          ผลการตรวจจอประสาทตา รอยบวมยุบราบหมดแล้ว


หมายเหตุ
เนื่องจากการรักษาวิธีใหม่นี้ เป็นเพียงการคิดค้นนำร่อง เพื่อรีบช่วยเหลือผู้ป่วยที่อาการหนักและใกล้จะตาบอดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้ที่อาการยังไม่รุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับทราบข้อมูล

ติดต่อ
นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
1. e-mail somkiatoo@yahoo.com  or  noppadola@hotmail.com
2.โทร 02-466-6151 , 081-917-5132

--กลับสู่หน้าหลักงานวิจัยของน.พ. สมเกียรติ--