Start About CPD Movement Press release CPD Newsletter Democratic Resource Center Link mail to:cpd@email.ksc.net

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
http://come.to/cpd

Get free at http://come.to
You are visitor No.

Since 30 Nov. 1998

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2522 เพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี 2521 ให้เป็นประชาธิปไตยและ ได้ยุติบทบาทลงเมื่อปี 2526

ครั้นเมื่อมีรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534โดย รสช. องค์กรสิทธิมนุษยชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักศึกษาจึงได้กลับมารวมตัวกันรื้อฟื้นครป. ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการติดตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 และรณรงค์ให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย

ครป.ได้จัดกิจกรรมทั้งทางวิชาการและทางการเมือง อย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบการประชุม สัมมนา อภิปราย การรณรงค์ และได้ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย(สนนท.)และองค์กรประชาธิปไตยต่างๆ จัดการชุมนุมใหญ่ที่ท้องสนามหลวงเพื่อคัดค้าน รัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเผด็จการมุ่งสืบทอดอำนาจของรสช.

ต่อมาภายหลังเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้นำ รสช. ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครป.เป็นองค์กรหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม เพื่อคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ รสช.

อย่างไรก็ตาม แม้ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สถานการณ์ทางการเมืองจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ได้รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. แต่ทางครป. เห็นว่าโครงสร้างของสังคมไทยยังมิได้เป็นประชาธิปไตย ที่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนระดับพื้นฐาน อันเป็นเกษตรกรและแรงงานอย่างแท้จริงระบบรัฐสภา ยังผูกขาดโดยนักการเมือง ระบบราชการ และระบบการศึกษาที่รวมศูนย์อยู่นอกเหนือ การควบคุมตรวจสอบของประชาชน ยังผลให้ประชาชนไม่สามารถมี ส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างแท้จริง

ดังนั้น ครป. จึงดำเนินกิจกรรมโดยยึดแนวทาง อิสระไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองกับพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง มุ่งการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อไปสู่การปฏิรูปการเมือง ทั้งระบบ โดยในปีพ.ศ.2540 ครป.ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรประชาธิปไตย และองค์กรประชาชน ในนาม 30 องค์กรประชาธิปไตย เพื่อรวบรวมประมวลข้อคิดเห็นในการร่าง รัฐธรรมนูญจากประชาชนทั่วประเทศ นำเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ และร่วมผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จนผ่านรัฐสภาในที่สุด

อย่างไรก็ตามภาระกิจการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย ยังไม่สิ้นสุด ยังจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ อย่างเท่าทันถึงสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในหมู่ประชาชน รวมทั้งการผลักดันกฎหมายลูกฉบับต่างๆ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้าง การเมืองแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม ให้ปรากฎเป็นจริงต่อไป.

Back to top