มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ 2541]

จะอยู่อย่างไรเมื่อตกงาน

เรียบเรียงโดย ปราณี ฤกษ์ปาณี


ในยามนี้ต้องร้องเพลง "รักยามจน" รำพึงกับตัวเองไว้บ่อย ๆ เพื่อเตือนสติตัวเองไม่ให้เครียด ไปกับสังคม ยุคนี้ ในชีวิตคนเรา การมีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ก่อน ย่อมทำให้ มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เพราะไม่ว่า อะไรจะเกิดขึ้น กับชีวิตเราก็ตาม สิ่งแรกที่เราต้องทำ ก็คือการปรับตัว ต้องรับรู้อย่างมีสติ และสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยปราศจากความวิตกกังวลมากจนเกินพอดี

ตามหลักพุทธศาสนาน่าจะตรงกับคำว่า "สุข" เพียงแต่เรารับรู้ว่า "ทุกข์" หรือ "สุข" อยู่ในขณะนี้ ก็เพียงพอแก่การดำรงชีวิตประจำวัน ที่ดีแล้ว อย่างเช่น สังคมในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เราคงต้องยอมรับ สภาพเศรษฐกิจที่ตกสะเก็ด และไม่ใช่สะเก็ดธรรมดา ๆ แต่เป็นสะเก็ดแห้งเชียวละ ในยามที่ประเทศยากจน ประชาชนแทบคลั่ง เมื่อเรารับรู้ และยอมรับ เราก็ควรปรับตัวว่า จะอยู่อย่างไร ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ต่อไปนี้ ชีวิตประจำวัน เราจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง กรณีที่ถูกเชิญให้ออกจากงาน หรือพูดง่าย ๆ ว่า "ตกงาน" ก็จะยิ่งต้องใช้ความพยายาม อย่างหนักหน่วง ในการปรับตัว ให้สามารถ ดำรงชีวิต ผ่านวิกฤตนี้ ไปให้ได้

ประเด็นสำคัญ เราต้องพยายามมองหาข้อดีของการตกงาน เพื่อหาความสุข กับชีวิตช่วงตกงานให้ได้ เพื่อว่าวันข้างหน้า เมื่อถึงยุคเศรษฐกิจดี ประเทศมั่นคงประชาชนมั่งคั่ง เราจะได้เป็นผู้ถึงพร้อม ที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้ อย่างปกติสุข มิใช่ว่า พอถึงวันนั้นที่รอคอย เรากลับไปนั่งกอดเข่า พูดคนเดียว ยิ้มคนเดียว เป็นคนไข้ประจำ อยู่ในโรงพยาบาล ที่บำบัดรักษาคนไข้โรคจิตไปเสียก่อน

หากเราจะพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน ข้อดีของการตกงาน มีมากมายหลายประการ ที่มองเห็นง่าย ๆ เช่น

จะเห็นได้ว่าเพียงเหตุผลง่าย ๆ 3-4 ประการเท่านี้ ก็น่าจะทำให้เรา เห็นคุณค่า ของชีวิตตัวเอง มากพอ สำหรับการต่อสู้ชีวิต กับชีวิตในช่วงวิกฤต ตกงานขาดรายได้ ให้มีชีวิตอยู่ อย่างมีสุขภาพจิต ที่ดี มีคุณภาพ ไม่ไร้คุณค่า ไม่ไร้ความหมาย เพราะเราเล็งเห็นความมีคุณค่า และความหมายในตัวเราเองนั่นเอง

ปราณี ฤกษ์ปาณี
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์


[BACK TO LISTS]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600