มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ปีที่ ..ฉบับที่... 2541 ]

เลี้ยงลูกวัยรุ่นไม่ต้องวุ่น    เป็นผู้ฟังที่ดี

รศ.พ.ญ.นันทิกา ทวิชาชาติ


นักจิตเวชชี้วัยรุ่นช่วงอายุ 11-13 ปี เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย และอารมณ์ หากไม่ได้รับการเอาใจใส่หรือสร้างความเข้าใจจากผู้ปกครองดีพอ อาจก่อให้เกิดปัญหาสารพัด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดเพราะที่บ้านควบคุมอิสระ บังคับ และไม่เข้าใจวัยรุ่น    แนะพ่อแม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกวัยรุ่นโดยไม่มีปัญหา ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีของลูก

ด้วยวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ร่างกาย สังคม และทางสติปัญญา จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปกครองต้องเข้าใจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อช่วย แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างผู้ปกครองและยาวชนได้ ทางศูนย์สุขภาพไบโอฟิต ได้จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง "มีลูกวัยรุ่น พ่อแม่ไม่วุ่น ทำอย่างไร" โดยรศ.พ.ญ.นันทิกา ทวิชาชาติ หัวหน้าภาควิชาจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม สุนันทา 1 รพ. ปิยะเวช

รศ.พ.ญ.นันทิกา ทวิชาชาติ หัวหน้าภาควิชาจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่มีช่วงอายุ 11-23 ปี โดยแบ่งเป็นวัยรุ่นตอนต้น ตอนปลาย ซึ่งวัยรุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ วัยรุ่นช่วง 11-13 ปี เป็นวัยที่อยู่ในการศึกษา และเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงมีปัญหาทางด้านการเรียนมากที่สุด รวมถึงปัญหา ทางด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ, นิสัยใจคอ พฤติกรรมทางเพศ และการพัฒนาการ เอกลักษณ์ทางเพศ เช่น ชายหญิงจะมีการพัฒนาแสดงออกทางบุคลิกที่ตรงกันข้าม ส่วนวัยรุ่นหญิงจะมีการแสดงออกด้วยการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร

หัวหน้าภาควิชาจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวต่อไปว่า ปัญหาการเรียนของวัยรุ่น ช่วงอายุ 13-17 ปี หากเกิดขึ้นในครอบครัวใดนั้นให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่สำรวจดูสาเหตุ โดยเริ่มต้นที่สุขภาพเด็ก ระดับเชาว์ปัญญาที่อาจต่ำกว่าปกติ, สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ รอบข้าง เช่น เพื่อน ครู อารมณ์ จิตใจที่สร้างความเครียดให้เกิดขึ้นได้จากสภาวะรอบตัว เช่น บรรยากาศในโรงเรียน สภาพครอบครัว และการมีท่าทีของพ่อแม่ที่สร้างความหวัง ในเรื่องการเรียน และนำลูกเปรียบเทียบกับคนอื่น เพราะหากเด็กทำไม่ได้ จะสร้างความ ผิดหวังในอารมณ์มากขึ้น หนทางสุดท้ายที่หันมาพึ่งคือ การติดยาเสพติดต่อไป

สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและประสบปัญหาการเรียนตกต่ำต้องสร้าง ความเข้าใจว่า พื้นฐานการเรียนรู้หรือสติปัญญาของเด็กไม่เท่ากัน โดยอย่าใช้มาตรการ เร่งรัด ผลักดัน เคี่ยวเข็ญบีบบังคับตามอารมณ์หรือความพอใจ ทั้งนี้หากมีการยอมรับ ในความสามารถของลูกและเป็นกำลังใจให้จะมีผลต่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อเด็กว่า พ่อแม่ยอมรับในความสมารถตน และในที่สุดเด็กจะเกิดความอบอุ่น เข้าใจ และมีความมั่นคงทางจิตใจแก่ตนเอง และจะเดินถูกระเบียบที่สุด

การเปลี่ยนแปลงทางด้านการพัฒนาทางร่างกายของวัยรุ่นต้อนต้น   ในลักษณะ ทางเพศ เช่น เด็กผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศที่ทำให้เกิดประจำเดือน หน้าอกใหญ่ขึ้น อวัยวะเพศมีการเปลี่ยนแปลง เด็กผู้ชายจะมีการฝันเปียกมีความต้องการทางเพศ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กเกิดความกังวลสงสัย ไม่มั่นใจในตัวเองบ้าง เก็บตัวเงียบ ไม่กล้าออกสังคมพบเพื่อนฝูง ทั้งนี้ทางพ่อแม่ผู้ปกครองควรใช้การดูแลเอาใจใส่ หรือใช้วิธีการสื่อสารให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

"ส่วนปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่น ๆ เช่น อารมณ์ที่จะแปรปรวนง่าย มีความเศร้า กังวล ก้าวร้าว กลัวและมีความเครียดเกิดขึ้น ทางแก้ปัญหาผู้ปกครองควรมอบเวลา หาโอกาสพูดคุยหรือใช้ตัวแทนเป็นสื่อสอบถามปัญหาต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุของ การเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ในทางด้านปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของวัยรุ่น ที่มักจะมีสังคมเพื่อนมากขึ้นเพราะต้องการความมีอิสระในการตัดสินใจหรือทำสิ่งต่าง ๆ ที่คิดไว้โดยสิ่งเหล่านั้นอาจมีทั้งดีและไม่ดี เพื่อสร้างจุดเด่นให้ผู้อื่นสนใจตนเอง และได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง บางครั้งในการตัดสินใจมักจะทำให้มีการพึ่ง ยาเสพติด หนีโรงเรียน ทำผิดทางเพศ หนีออกจากบ้าน พูดปด ก้าวร้าว กิริยาแข็งกระด้าง ในการแก้ปัญหานั้นส่วนใหญ่พื้นฐานปัญหามักเกิดที่บ้านควบคุมอิสระ การตัดสินต่าง ๆ ด้วยการบังคับและไม่เข้าใจจึงจำเป็นที่จะต้องสำรวจพฤติกรรมของพ่อแม่เอง และเพิ่มความสนใจจิตใจลูกให้มากขึ้น" รศ.พ.ญ.นันทิการ กล่าว

นอกจากนี้ รศ.พ.ญ.นันทิกา ได้กล่าวสรุปว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ ด้วยการสนใจเอาใจใส่พ่อแม่ผู้ปกครอง ด้วยการใช้แนวทางการติดต่อสื่อสารที่ถูกต้อง ด้วยความเข้าใจ มีเหตุผลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ใช้ความอดทนด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี รับผิดชอบในหน้าที่ของพ่อแม่เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกที่อยู่ในช่วง วัยรุ่นต่อไป

รศ.พ.ญ.นันทิกา ทวิชาชาติ
หัวหน้าภาควิชาจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทความที่เกี่ยวเนื่องกัน เทคนิคเป็นเพื่อนกับวัยรุ่น โดยร.ศ.สุพัตรา สุภาพ

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600