มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2540 ]

โรคตับอักเสบเรื้อรังเนื่องจากเชื้อไวรัส
(Chronic Viral Hepatitis)

พญ.จันทรา เจณณวาสิน


ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจไม่เคยระแวงสงสัยเลยว่าโรคตับอักเสบ ที่คนไทยเรียกว่า ดีซ่านนั้น ถ้าต้นเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัสแล้ว โรคนี้สามารถติดต่อแพร่กระจายได้ ทางเพศสัมพันธ์ ไวรัสชนิดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบทั้งที่ปรากฏอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือที่ไม่ปรากฏอาการรุนแรงให้เห็นชัดเจนนั้น แต่ละตัวมีประสิทธิภาพ ในการติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ได้ต่างกัน ตามตารางข้างล่างนี้ ( ตาราง 8.85 KB)

เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B Virus HBV) นั้นมีประสิทธิภาพ ในการติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ได้สูงมาก ดังนั้นถ้าคู่นอนเป็นพาหะ (Carrier) คือมีเชื้อไวรัสหลบซ่อนอยู่ใน ตัวเขาเอง การร่วมเพศต้องมีการใช้เครื่องหุ้มห่ออวัยวะเพศ เพราะเชื้อไวรัสสามารถ แพร่กระจาย ทางน้ำกาม อสุจิ น้ำหล่อเลี้ยงในช่องคลอด น้ำลาย น้ำเหลือง และเลือด ซึ่งปริมาณเพียง 0.000001 มิลลิลิตร สามารถก่อให้เกิดโรคได้ (HBV มีความสามารถในการ ติดต่อแพร่โรคได้สูงกว่าเชื้อไวรัสโรคเอดส์ HIV) และฝ่ายชายถ่ายทอดเชื้อไวรัสให้แก่สตรี มากกว่าที่สตรีจะถ่ายทอดให้บุรุษ แต่เมื่อเทียบดูเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี (HCV) ซึ่งสามารถแพร่กระจายด้วยวิธีนี้เพียง 3-5% ในรายที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโรค ไวรัสตับอักเสบชนิดซีอยู่ (ซึ่งมักเป็นบุคล ที่มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป) ดังนั้นคู่นอนของคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซีนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหุ้มห่อ อวัยวะเพศ เวลามีเพศสัมพันธ์

เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและชนิดซี (HBV, HCV) สองชนิดนี้ เป็นตัวการสำคัญ ในการดำเนินโรคตับอักเสบจากระยะเฉียบพลัน ให้แปรเปลี่ยนไปถึงขั้นเรื้อรัง คือ

ด้วยเหตุนี้ ระยะฝากครรภ์สูตินารีแพทย์จำต้องตรวจเลือดมารดา โดยเฉพาะมารดาที่เป็นชาวเอเซีย หรือกลุ่มชนชาวเกาะแปซิฟิก หญิงที่มีเชื้อสายแมกซิกัน (Hispanic) ชาวแอฟริกา ชาวถิ่นพื้นฐานเมืองแถบอาลาสกาและชาวอินเดียแดง ซึ่งมีอุบัติการณ์เกิดโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีสูงมาก รวมทั้งคนที่มีประวัติการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันหรือหญิงบริการ หญิงที่มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งขึ้นไป

ทำไมแพทย์ถึงคอยวิตกกังวลกับวิถีทางดำเนินของโรคตับอักเสบจากระยะเฉียบพลัน ไปถึงขั้นระยะเรื้อรัง ทั้งนี้เพราะตับอักเสบเรื้อรังย่อมแปรสภาพต่อไปเป็นตับแข็ง และเกิดมะเร็งของตับ (Hepatocellular Carcinoma) ในระยะเวลาไม่กี่ปี ด้วยเหตุนั้น ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังถึงแก่กรรมก่อนมีอายุครบ 60 ปี หรือก่อนถึงวัยแซยิด ซึ่งนับเป็นการสูญเสียพลังของมนุษยชาติไปอย่างน่าเสียดาย

อาการตับอักเสบเรื้อรังมักไม่ชัดเจน
  • อาการตัวเหลือง ตาเหลือง อาจไม่เห็นเด่นชัด แบบช่วงระยะเฉียบพลัน (ระยะแรกที่เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย)
  • อาการอ่อนเพลีย โดยเฉพาะเมื่อตกเวลาเย็นลงรู้สึกเพลียมากขึ้น
  • อาการเจ็บขัดยอกเสียดเล็กน้อยในท้องส่วนบน โดยเฉพาะทางซี่โครงด้านขวาตรงตำแหน่งของตับ
  • อาการเบื่ออาหาร รวมถึงอาการปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ แต่อาการเหล่านี้ไม่ชัดเจน
  • อาการไม่สบาย อาจไม่มีมากพอให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์ แต่ตับเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในช่วงระยะเวลา 10-25 ปี จนเกิดภาวะตับพัง คือการทำงานของตับล้มเหลว (Hepatic jailure) และเกิดโรคมะเร็ง การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ และการเจาะชิ้นเนื้อของตับมาตรวจ สามารถช่วยบ่งชี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้

เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี พบได้มากในคนเป็นทาสยาเสพติดแบบใช้เข็มฉีด (IV Drug use) คนที่ได้รับการถ่ายเลือดก่อนปี ค.ศ.1990 (ค.ศ.1989 เป็นปีที่ค้นพบหน้าตา ไวรัสชนิดนี้) การใช้เข็มสักรอยสักที่ไม่ถูกลักษณะอนามัย หรือการเจาะหู และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การใช้ยาโคเคนพ่นทางจมูก รวมทั้งการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่วิธีนี้ไม่มีการติดต่อว่องไว เท่ากับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ดังที่ได้กล่าวเปรียบเทียบไว้แล้ว

การตรวจทางห้องปฏิบัติการมีหลายขั้นตอนที่ช่วยบ่งบอกถึงคนที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเมื่อตรวจรู้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดไหน แพทย์ให้การติดตามดูแลคนป่วยตามแต่เชื้อ และความรุนแรงของโรค ดังเช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (HBV) ก่อให้เกิดภาวะตับพัง และมะเร็งของตับได้สูง ดังนั้นการตรวจเลือดหาสารแอลฟา พิโตโปรตีน (Alpha fetoprotein) และการตรวจตับด้วยคลื่อนเสียงเป็นระยะ ๆ ช่วยในการวินิจฉัยขั้นตอน ของโรคได้มาก (Ultrasonogram)

ปัจจุบันตัวยา Inter feron alfa-2b (Intron A โดย Shering Cooporation) ได้รับอนุญาต จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามาช่วยในการรักษา และบำบัดโรคตับอักเสบ จากไวรัสชนิดเรื้อรัง โดยที่สารตัวนี้จะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ให้ต่อสู้เชื้อไวรัส ที่แฝงหลบในร่างกายคนเรา ในเวลาเดียวกัน สารตัวนี้ ช่วยระงับการแบ่งตัวเพิ่ม จำนวน ของไวรัสในเซลล์ตับ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ เมื่อเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจ หลังการได้รับ การรักษา เปรียบเทียบกับระยะก่อนการรักษา พบว่าเนื้อตับมีสภาพดีขึ้นกว่าเดิม และผลจากการติดตามรักษาในผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งแล้ว ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ โอกาสที่เนื้อตับจะเกิดเป็นมะเร็งลดต่ำลง แต่ถึงกระนั้น วิธีนี้มิใช่จะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ ในการรักษา เนื่องจากมีเหตุผสมอื่นที่อาจช่วย หรือลด ประสิทธิของการรักษาด้วยวิธีนี้ ดังเช่น อายุของผู้ป่วยถ้าอายุน้อยการรักษาด้วยวิธีนี้ได้ผลดี หรือถ้าผู้ป่วยยังไม่ถึงคั่นตับแข็ง (Cirrhosis) แล้ววิธีนี้ใช้ได้ผลดี

ปัญหาที่สำคัญของแพทย์นอกเหนือไปจากการดูแลรักษา คือ การป้องกันโรคติดต่อ แพร่กระจาย ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ ด้วยเหตุนี้การป้องกันระมัดระวัง ตามขั้นตอนมิให้ได้รับเชื้อ ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกันตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลผู้มี ความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี เช่น บุคลากรที่ทำงาน ในสถานพยาบาล ผู้ดูแลคนพักฟื้น หรือแม้แต่ผู้ที่เดินทางเข้าสู่ประเทศที่พบโรคนี้ชุกชุม

พญ.จันทรา เจณณวาสิน


[ BACK TO อายุรกรรม] [ BACK TO กามโรค]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600