มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 22 ฉบับที่ 9 กันยายน 2541]

โรคไต

รศ.พันเอกหญิงพรรณบุปผา ชูวิเชียร


แพทย์รพ.พระมงกุฏฯ เตือนภัยทุกคนในครอบครัวป้องกันก่อนโรคไตมาเยือน อย่าซื้อยากินเองเป็นแรมปีหรือพึ่งยาชุด สมุนไพร ลูกกลอน ยารักษากระเพาะอาหาร, กระดูก ผู้หญิงทั้งหลายที่ชอบกั้นปัสสาวะนาน ๆ ระวังไตอักเสบถึงไตวาย โดยเฉพาะชอบอาหารรสจัด, หนักโปรตีน หรือหักโหมลดความอ้วน ด้วยการออกกำลังกาย กลางแดดจัด มีสิทธิไตวายเฉียบพลัน ถึงขั้นเสียชีวิต ก่อนแต่งงานควรตรวจสุขภาพ หากพบอาการไตวาย ห้ามท้องเด็ดขาด ผู้ป่วยโรคไตพกเงินเดือนละ 1-4 หมื่นบาท รักษาตลอดชีวิต, แนะนำป้องกันแต่เนิ่น ๆ ด้วยการทำบัตรประกันสุขภาพ เพื่อรองรับยามป่วยเจ็บ เป็นเครดิต สำหรับตัวเอง

รศ.พันเอกหญิงพรรณบุปผา ชูวิเชียร หัวหน้าหน่วยไต โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ กรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทสไทย ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยาซีเอ็มจี (มหาชน) จำกัด เตือนทุกครอบครัวเอาใจใส่สุขภาพ ให้ปลอดจากโรคไต โดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุด คือชอบสูบบุหรี่, ดื่มเหล้าจัด, ชอบซื้อยากินเอง, ใช้ยาชุดต่าง ๆ , ยาจีน, ยาสมุนไพร, ยาลูกกลอน, ยาดองเหล้า รวมทั้งยาที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้สารพัดนึก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมทั้งยารักษาโรคกระดูก, โรคกระเพาะอาหารอักเสบ, ยกเว้นยารักษาโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, หัวใจ สามารถรับประทานได้ตลอดทั้งชีวิตโ ดยอยู่ในความดูแลของแพทย์

ผู้หญิงที่ชอบกั้นปัสสาวะนาน ๆ มีโอกาสสูงทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ ถ้าอาการรุนแรงทำให้กรวยไตอักเสบได้

โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคไตจะเป็นผู้สูงอายุ สืบเนื่องมาจากการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แต่เด็กและคนวัยหนุ่มสาวก็เป็นโรคไตได้ทั้ง ๆ ที่อยู่ในวัยทำงาน พวกนี้เป็นกลุ่มที่จะต้องให้การรักษาเพื่อเขาจะได้มีชีวิตอยู่ได้ยืนนาน ทำงานได้เหมือนคนปกติ

ผู้ป่วยเป็นโรคไตแบบเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ให้เลือดผิดหมู่ ทำให้ไตวายเฉียบพลัน ต้องรีบถ่ายเลือดช่วยชีวิตโดยเร็วที่สุด หรือกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง จนหัวใจตับไตวายเฉียบพลัน

การรักษาสุขภาพที่ดีคือรับประทานอาหารครบหมู่ ไม่ควรรับประทานเค็มจัด หรือกินปรตีนมากเกินไป, และผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ความดันโลหิต, หัวใจ ควรควบคุมยา เพราะโดยทั่วไปแล้ว คนไข้โรคเบาหวานเกินกว่า 7 ปีแล้ว จะมีอาการโรคไตจ นถึงขั้นไตวาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหมจนเกินไป และไม่ควรอยู่ในที่ร้อนจัดจนเกินไป หรือวิ่งกลางแดดเปรี้ยง ส่งผลให้ไตวาย เฉียบพลันภายในวันเดียว อาเจียนจนชัก และเสียชีวิต คนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง และดื่มสุราจัด ไม่ควรออกกำลังกาย ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอก่อน แล้วออกกำลังกาย ไม่หักโหมจนเกินไป จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคน้อยลง การติดเชื้อเกิดง่าย และมีผลทำให้ ไตเสื่อมเร็วขึ้น ต้องป้องกันการติดเชื้อ เมื่อติดเชื้อก็ต้องรีบรักษา เมื่อไตเสื่อมลง มีอาการผิดปกติทุกระบบ ในร่างกายและจิตใจ เนื่องจากมีสารคั่งค้าง ที่เป็นพิษ ไม่สามารถขจัดออกจากร่างกายได้ สารเป็นพิษเหล่านี้ มีสารเคมี สารอินทรีย์ ของเสียจากอาหารที่รับประทานเข้าไป กลายเป็นมลพิษต่อร่างกาย เป็นอันตรายต่อระบบ การทำงานของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย บางครั้งมีการแพ้เนื้อเยื่อตัวเอง อาทิ โรคเอสแอลอี

ก่อนที่สมาชิกในเครือญาติจะแต่งงาน ควรตรวจเช็กสุขภาพว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด มียีนส์ ที่ผิดปกติ เกี่ยวกับโรคไตหรือไม่ คนทั่วไปใช้เวลาเพียง 15 นาที ตรวจปัสสาวะที่โรงพยาบาล และคลินิกก็รู้ผล ผู้หญิงที่เป็นไตวาย ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะทำให้ครรภ์เป็นพิษ, ตัวบวม, ความดันโลหิตสูง, หัวใจโต ต้องผ่าตัดเอาเด็กออก มิฉะนั้นจะตกเลือดจนแม่เสียชีวิตได้

โรคไตสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกเชื้อชาติและทุกวัยในครอบครัว พ่อแม่ควรสนใจลูก ถ้าหากปัสสาวะไม่ออกหรือขุ่น เหม็น มีอาการปัสสาวะแสบคัน มีสีเลือดปะปน แล้วยังมีอาการปวดหลัง, มีไข้, หนาวสั่น สามารถตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนว่า เป็นไตอักเสบ หรือเป็นนิ่ว อาการเบื้องต้น ที่บ่งชี้สงสัยว่า เป็นโรคไตคือ มีอาการบวม, ยุบบริเวณหน้าแข้งเป็นประจำ, อาจจะปวดข้อ, ผมร่วง

ไตเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย, ขับของเสียออกจากร่างกาย, เก็บและดูดซึมสารที่ เป็นประโยชน์ เข้าสู่ร่างกาย คุมปริมาณระดับน้ำ และความเข้มข้นของเกลือแร่หลาย ๆ ชนิด ในร่างกาย รักษาความสมดุลสภาพความเป็นกรดและด่างในร่างกาย สร้างวิตามิน ควบคุมความสมดุลของระดับแคลเซียม เด็กเป็นโรคไตแล้ว จะทำให้แคระแกร็น ผู้ใหญ่ที่เป็นไตวายเรื้อรัง ทำให้กระดูกอ่อน ผุกร่อนง่าย และปวดกระดูกเรื้อรัง

วิธีการรักษาด้วยการล้างไตคือล้างช่องท้องด้วยน้ำยาชนิดถาวร หรือฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม และผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยต้องรับการรักษาด้วยการล้างไต ระหว่างรอการผ่าตัดเปลี่ยนไต ซึ่งจะเร็วหรือช้าเป็นปี ขึ้นอยู่กับมีผู้บริจาคไตให้ สำหรับการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ด้วยการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ล้างไตและกินยาเพื่อชะลออายุ เสียค่าใช้จ่าย คนละ 4 หมื่นบาท ทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เมื่อปลูกไตแล้ว ต้องเสียค่าใช้จ่าย 6 เดือนแรก เดือนละ 2 หมื่นบาท จากนั้นเตรียมค่าใช้จ่ายเดือนละ 1 หมื่นบาท ตลอดชีวิต

รศ.พันเอกพรรณบุปผา เปิดเผยว่าปัจจุบันข้าราชการที่ป่วยเป็นโรคไต สามารถเบิกได้จำกัด เฉพาะบัญชียาหลักแห่งชาติ ทั้ง ๆ ที่ยารักษาโรคไต ค่อนข้างแพงมาก ด้วยเหตุนี้ ในยามปกติ คนไทยควรขวนขวายหาหลักประกัน ทำบัตรประกันสุขภาพ จากบริษัทประกันชีวิต ที่มั่นคง เพื่อสามารถเบิกจ่ายได้ ในยามเจ็บป่วย สามารถยื่นบัตรประกันสุขภาพ และบัตรประชาชน รับการรักษาได้ ในโรงพยาบาลทุกแห่ง เป็นเครดิตสำหรับตัวเองอย่างดี ในยุคเศรษฐกิจ ไอเอ็มเอฟนี้

อนึ่งผู้ป่วยที่ต้องอาศัยเครื่องล้างไตไม่น้อยกว่า 3 แสนคนทั่วโลก ในประเทศไทย มีผู้ป่วย ต้องการรักษาอย่างน้อย 1 แสนคน และเพิ่มจำนวนปีละไม่น้อยกว่า 3,000 คน ที่สำคัญมีผู้ป่วยโรคไต อีกจำนวนหนึ่ง ขาดทุนทรัพย์ในการรักษา เพื่อฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม และเสียชีวิตไปอย่างรวดเร็วก่อนถึงวัยอันควร

รศ.พันเอกหญิงพรรณบุปผา ชูวิเชียร


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600