มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2541]

"หวาย" เพื่อบริโภค

จิรศักดิ์


"หวาย" จัดเป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน เป็นหนึ่งในบรรดาทรัพยากร พันธุ์พืชนับหมื่นชนิด จัดเป็นประเภทพืชหายากหรืออันตรายใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทยพบว่า มีหวายมากถึง 6 สกุล คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสกุลหวายที่มีอยู่ในโลก และมีมากกว่า 60 ชนิด แพร่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้มีหลากหลายมากกว่าทุกภาค หวายบางชนิดสามารถนำมาบริโภคได้โดยเฉพาะคนในภาคอีสาน

ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงได้จัดตั้งโครงการอนุรักษ์และวิจัยหวายเพื่อบริโภคขึ้น ซึ่งจากการศึกษา พบว่า ยอดหวายที่มีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับหน่อไม้ และผักอื่น ๆ คือ มีโปรตีนมากถึง 25% มีธาตุอาหารรองที่สำคัญ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และ สังกะสี แต่เนื่องจากหวาย เป็นพืชที่มีหนามอยู่รอบลำต้น จึงต้องระมัดระวังในการปอกเปลือก อย่างมาก และเมื่อปอกเปลือกออกแล้ว ยอดหวายส่วนที่รับประทานได้ ซึ่งมีสีขาวอมเหลือง จะเปลี่ยนสี กลายเป็นสีน้ำตาลคล้ำ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้น จึงได้มีการทดลองนำหวายดง หรือหวายน้ำผึ้ง มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หวายในน้ำเกลือ แต่ยอดหวายที่นิยมบริโภค ไม่ได้มีแต่หวายดงเท่านั้น ยังมีหวายตะบอง หวายน้ำ หวายน้ำผึ้ง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาคุณภาพ ทางกายภาพและทางเคมีเลย ดังนั้น งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สถาบันวิจัยและฝึกอบรม การเกษตรลำปาง จึงได้ศึกษาพันธุ์หวายชนิดต่าง ๆ มาบรรจุในน้ำเกลือ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาและส่งเสริม ผู้ปลูกหวายในภาคอีสานต่อไป

ต่อไปคนอาจจะหันมานิยมรับประทานหวายกันมากขึ้น เพราะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าหน่อไม้ ต่อไปเมนูอาหารอีสานอาจจะเป็นแกงหวาย ซุปหวาย ทดแทน แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ ก็เป็นไปได้

จิรศักดิ์


ขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600